Page 118 - การผลิตสัตว์
P. 118

10-26 การผลิตสัตว์

2.	 การเ​ล้ียงไ​ ก่ไ​ ข่ร​ ะยะร​ ุ่น

       ไก่​ไข่​ใน​ช่วง​อายุ 4-16 สัปดาห์ หรือ​ไก่​ไข่​ระยะ​รุ่น จัด​เป็น​ระยะ​ที่​มี​ความ​สำคัญ เนื่องจาก​เป็น​ช่วง​ที่​มี​การ​
เจริญ​เติบโต​ของ​โครงสร้าง​ร่างกาย ผู้​เลี้ยง​ต้อง​มี​การ​จัดการ​การเลี้ยง​อย่าง​มี​ประสิทธิภาพ​เพื่อ​ให้​ไก่​ไข่​ระยะ​นี้​มี​การ​
เจริญ​เติบโต​ของ​โครงสร้าง​ที่​สัมพันธ์​กับ​การ​เพิ่ม​น้ำ​หนัก​ตัว​ตาม​มาตรฐาน​สาย​พันธุ์ และ​ให้​ไก่​ทุก​ตัว​ภายใน​ฝูง​มี​ความ​
สมบูรณ์ แข็ง​แรงแ​ ละ​สม่ำเสมอ โดยก​ ารจ​ ัดการเ​ลี้ยง​ไก่​ไข่​ระยะ​รุ่น​มีร​ ายล​ ะเอียด ดังนี้

       2.1 		ความ​หนา​แน่น​ของ​ฝูง​ไก่​ไข่ ใน​ระยะ​นี้​ไก่​จะ​มี​การ​เจริญ​เติบโต​ขึ้น​เรื่อยๆ และ​มี​ความ​ต้องการ​พื้นที่​
มาก​ขึ้น จึง​ควร​เตรียม​พื้นที่​ให้​เพียง​พอ ไม่​เลี้ยง​ไก่​หนา​แน่น​เกิน​ไป โดย​ทั่วไป​ถ้า​เป็นการ​เลี้ยง​แบบ​ปล่อย​พื้น ใน​
โรง​เรือน​ระบบ​ปิด ควร​เลี้ยง​ไก่​ไม่​เกิน 14 ตัวต่อ​พื้นที่ 1 ตาราง​เมตร ถ้า​เลี้ยง​ใน​โรง​เรือน​ระบบ​เปิด ควร​เลี้ยง​ไก่​
ไม่​เกิน 10 ตัวต่อพ​ ื้นที่ 1 ตาราง​เมตร

       2.2 		การ​ใหอ​้ าหาร ระยะ​นี้​จะม​ ี​การ​เปลี่ยน​อาหารจ​ ากอ​ าหารไ​ก่​เล็ก​มาเ​ป็นอ​ าหารไ​ก่​รุ่น อายุท​ ี่​เหมาะส​ มใน​การ​
เปลี่ยน​อาหาร​จะ​ขึ้น​กับ​มาตรฐาน​ความ​ต้องการ​โภชนะ​ของ​ไก่​ไข่​แต่ละ​สาย​พันธุ์ และ​การ​เจริญ​เติบโต​ของ​ฝูง​ไก่​ไข่​ว่า​
ได้ต​ าม​มาตรฐานห​ รือไ​ม่ การ​เปลี่ยน​อาหาร​ทุกค​ รั้ง​ควรท​ ำ​อย่างค​ ่อยเ​ป็นค​ ่อย​ไป เพื่อ​ให้​ไก่​เกิดค​ วาม​คุ้นเ​คย​กับ​อาหาร​
ใหม่ ไม่ค​ วร​เปลี่ยนอ​ าหาร​ชนิด​ใหม่ท​ ันที​เพราะ​อาจ​ทำให้ไ​ก่​ไม่​กินอ​ าหาร

       ปริมาณก​ าร​ให้​อาหาร​แก่ฝ​ ูง​ไก่ ควร​พิจารณา​ตาม​มาตรฐาน​การใ​ห้อ​ าหาร​ของ​ไก่ไ​ข่​แต่ละ​สาย​พันธุ์ และส​ ภาพ​
ความ​เป็น​จริง​ของ​ฝูง​ไก่​คือ ใน​กรณี​ที่​ไก่​มี​น้ำ​หนัก​ตัว​ต่ำ​กว่า​มาตรฐาน ก็​ควร​ให้​อาหาร​เพิ่ม​มาก​ขึ้น​กว่า​ปกติ เพื่อ​ให้​
ไก่​มี​การ​เจริญ​เติบโต​เพิ่ม​ขึ้น และ​ใน​ทาง​กลับ​กัน​ถ้า​ไก่​มี​น้ำ​หนัก​มากกว่า​มาตรฐาน​ก็​ควร​ควบคุม​น้ำ​หนัก​ให้​ได้​ตาม
น​ ้ำห​ นัก​มาตรฐาน

       2.3 		น้ำ​หนัก​ตัว​และ​ความ​สม่ำเสมอ​ของ​ฝูง​ไก่​ไข่ เมื่อ​ไก่​ไข่​อายุ 5-6 สัปดาห์ ควร​ทำการ​สุ่ม​ชั่ง​น้ำ​หนัก​ไก่​
ประมาณ​ร้อยล​ ะ 10 ของฝ​ ูงไ​ก่ไ​ข่ เพื่อห​ า​ค่าน้ำ​หนัก​เฉลี่ย โดย​สุ่ม​ชั่ง​ทุกส​ ัปดาห์ ใน​วัน​และเ​วลาท​ ี่​ใกล้​เคียง​กัน จากน​ ั้น​
นำ​น้ำ​หนัก​เฉลี่ย​ของ​ไก่​ไข่​ที่​ได้​เปรียบ​เทียบ​กับ​น้ำ​หนัก​มาตรฐาน​ของ​ไก่​ไข่​สาย​พันธุ์​นั้น เพื่อ​พิจารณา​ปรับ​ปริมาณ​การ​
ให้​อาหารแ​ ก่ฝ​ ูงไ​ก่ไ​ข่ต​ ่อ​ไป

       การ​ควบคุม​ความ​สม่ำเสมอ​ของฝ​ ูงไ​ก่ไ​ข่ ไก่ไ​ข่​ที่​เลี้ยงใ​นฝ​ ูงค​ วรม​ ี​ขนาด​ใกล้เ​คียง​กัน เนื่องจากไ​ก่ไ​ข่ท​ ี่​มีข​ นาด​
ใหญ่ จะ​แย่ง​กิน​อาหาร​และ​คอย​รังแก​ไก่​ไข่​ตัว​เล็ก ทำให้​การ​เจริญ​เติบโต​ของ​ไก่​ไข่​ใน​ฝูง​ไม่​เท่า​กัน จึง​จำเป็น​ต้อง​คัด
​ไก่​ไข่​ระยะ​รุ่น​ใน​ฝูง​ออก​เป็น​ขนาด​ต่างๆ แล้ว​เลี้ยง​ไก่​ไข่​ที่​มี​ขนาด​ใกล้​เคียง​กัน​ไว้​ด้วย​กัน ก็​จะ​ทำให้​ฝูง​ไก่​ไข่​มี​ความ​
สม่ำเสมอ​มาก​ขึ้น การค​ ัด​ไก่น​ ั้นค​ วร​ทำใ​น​ระยะเ​วลา​ที่​เหมาะส​ ม​คือ อายุ​ประมาณ 8-10 สัปดาห์

       2.4 		การจ​ ดั ก​ าร​ อน่ื ๆ
            2.4.1 	 การ​ระบาย​อากาศ ภายใน​โรง​เรือน​ไก่​รุ่น​ควร​มี​การ​ระบาย​อากาศ​ที่​ดี เพื่อ​ระบาย​ความ​ร้อน​จาก​

ฝูง​ไก่ และร​ ะบาย​แก๊ส​แอมโมเนียท​ ี่มา​จากม​ ูล รวมท​ ั้งส​ ัตว์เ​องก​ ็​ต้องการ​อากาศเ​พื่อ​หายใจ ดัง​นั้น​ใน​สภาพอ​ ากาศร​ ้อน​
หรือ​อากาศ​หยุดน​ ิ่ง​โดยเ​ฉพาะ​ช่วง​ก่อนห​ รือ​หลังฝ​ น​ตกเ​มื่อ​ปิด​ม่าน ควร​เปิดพ​ ัดลม​ช่วยร​ ะบายอ​ ากาศ

            2.4.2 	 การ​ทำความ​สะอาด​โรง​เรือน กรณี​ที่​เลี้ยง​ใน​โรง​เรือน​เปิด ควร​มี​การ​ปัด​กวาด​หยากไย่​หรือ​ฝุ่น​
ละออง​ที่​ติด​บริเวณ​ตาข่าย​ออก เพราะ​สิ่ง​เหล่า​นี้​เป็น​ตัว​ขัด​ขวาง​การ​ถ่ายเท​อากาศ และ​เป็น​ที่​หมักหมม​ของ​เชื้อ​โรค
บริเวณ​ข้าง​โรง​เรือน​ที่​มี​ต้น​หญ้า​หรือ​วัชพืช​ต่างๆ ควร​ทำการ​ถาง​ออก​อย่า​ให้​รก การ​ถาง​หญ้า​ออก​นอกจาก​จะ​เป็น
การ​ตากด​ ินบ​ ริเวณข​ ้าง​โรงเ​รือน​เพื่อ​ฆ่า​เชื้อโ​รคแ​ ล้วย​ ังเ​ป็นการก​ ำจัด​ที่​อยู่อ​ าศัย​ของ​สัตว์พ​ าหะ เช่น หนู อีกด​ ้วย

            2.4.3 	 การ​ให้​แสง​สว่าง การ​ให้​แสง​สว่าง​ใน​ช่วง​ไก่​เล็ก​และ​ไก่​รุ่น​จะ​เป็นการ​กระตุ้น​ให้​ไก่​กิน​อาหาร​
ได้ม​ ากข​ ึ้น ทำให้​โครงสร้างข​ องร​ ่างกายและน​ ้ำห​ นักต​ ัว​ถูกต​ ้อง​ตรง​ตามม​ าตรฐานข​ อง​ไก่​ไข่​แต่ละส​ ายพ​ ันธุ์

            การ​ให้​แสง​สว่าง​ใน​ระยะ​นี้ ควร​ให้​แสง​สว่าง​แบบ​ลด​ลง​เป็น​ลำดับ (Step-down) โดย​ไก่​ไข่​อายุ 0-1
สัปดาห์​ให้​แสง​สว่าง 24 ชั่วโมง หลัง​จาก​นั้น​ลด​แสง​สว่าง​ลง 1 ชั่วโมง​ต่อ​สัปดาห์ จน​ไก่​อายุ​ได้ 7 สัปดาห์ จาก​นั้น
ใ​น​ช่วง 7-16 สัปดาห์ งด​ให้​แสงส​ ว่าง​ใน​เวลา​กลางค​ ืน อาศัย​แสง​ธรรมชาติใ​นเ​วลาก​ ลางว​ ันเ​ท่านั้น

                             ลิขสทิ ธ์ิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123