Page 133 - การผลิตสัตว์
P. 133

การผลิตสัตว์เศรษฐกิจอื่นๆ 11-5

เรื่อง​ท่ี 11.1.1
ความร​ ้​ูทั่วไป​เกย่ี ว​กับก​ ารเ​ล้ียงแ​ พะ

       ประเทศไทย​มี​การ​เลี้ยง​ปศุสัตว์​หลาย​ประเภท โดย​แบ่ง​เป็นก​ลุ่ม​ของ​ปศุสัตว์​หลัก​ที่​มี​เกษตรกร​เลี้ยง​จำนวน​
มาก ได้แก่ ไก่​เนื้อ ไก่​ไข่ สุกร โคเ​นื้อ และ​โคนม ในส​ ่วน​ของป​ ศุสัตว์ท​ ี่​มี​เกษตรกรเ​ลี้ยงแ​ ต่ไ​ม่​มาก​นัก ได้แก่ เป็ดไ​ข่
เป็ดเ​นื้อ กวาง แพะ แกะ นก​กระทา กระต่าย และ​ไก่​พื้น​เมือง ซึ่ง​การ​เลี้ยง​ปศุสัตว์​กลุ่ม​นี้​ยังม​ ี​ปริมาณก​ ารเ​ลี้ยงไ​ม่​มาก​
นัก ผลผลิต​ที่​ได้​ยัง​มี​ปริมาณ​ไม่​มาก บาง​ครั้ง​ผู้​เลี้ยง​มี​การ​รวม​กัน​เป็นก​ลุ่ม​ของ​ผู้​เลี้ยง​ปศุสัตว์​แต่ละ​ชนิด​เพื่อ​ร่วมกัน​
ดำเนิน​ธุรกิจ เช่น สหกรณ์​กวาง​แห่ง​ประเทศไทย จำกัด เป็นการ​รวม​กลุ่ม​ของ​เกษตรกร​ผู้​เลี้ยง​กวาง เป็นต้น ใน​
หน่วย​นี้​จะ​กล่าว​ถึง​สัตว์​เศรษฐกิจ​ที่​น่า​สนใจ 3 ชนิด คือ แพะ นก​กระทา และ​ไก่​พื้น​เมือง โดย​ใน​ตอน​ที่ 11.1
จะ​กล่าว​ถึง​การ​ผลิต​แพะ สำหรับ​การ​ผลิต​นก​กระทา​และ​ไก่​พื้น​เมือง​จะ​ได้​กล่าว​ต่อ​ไป​ใน​ตอน​ที่ 11.2 และ 11.3 ตาม​
ลำดับ

       แพะ​เป็น​สัตว์​เคี้ยว​เอื้อง​ขนาด​เล็ก มี​ระบบ​การ​ย่อย​อาหาร​เหมือน​กับ​กระบือ​และ​โค สามารถ​ใช้​ประโยชน์​
จาก​อาหาร​หยาบ​ได้​ดี ประวัติ​เกี่ยว​กับ​การ​เลี้ยง​แพะ​ใน​ประเทศไทย​นั้น หลวง​สุวรรณวาจก​กสิ​กิจ (อ้าง​ถึง​โดย วินัย
ประ​ลมพ์​กาญ​จน์ 2542) ได้​กล่าว​ว่า แพะ​ที่​เลี้ยง​ใน​ประเทศไทย​แต่​เดิม​เข้าใจ​ว่า​เป็น​แพะ​เลือด​อินเดีย บาง​คน​เรียก​
ว่า “แพะ​บังกา​ลา” มี​ลักษณะ​เขา​หน้า​โค้ง หู​ยาว หู​ตก ปัจจุบัน​ไม่​พบ​แพะ​พันธุ์​นี้​เนื่องจาก​มี​การ​ผสม​พันธุ์​กับ​แพะ​
พันธุ์​อื่นๆ ต่อ​มา​มหาวิทยาลัย​เกษตรศาสตร์​ได้​สั่ง​แพะ​นม​พันธุ์​ซาเนน (Saanen) เข้า​มา​เลี้ยง​ที่​เกษตร​กลาง​บางเขน
โดย​มี​วัตถุประสงค์​เพื่อ​ส่ง​เสริม​ให้​คน​ไทย​ได้​บริโภค​น้ำนม​ที่​มี​คุณค่า​ทาง​อาหาร​สูง อีก​ยัง​มี​การ​เลี้ยง​แพะ​เพื่อ​การ​
บริโภค​เนื้อ แต่​ปรากฏ​ว่าการ​เลี้ยง​แพะ​กลับ​ไม่​สามารถ​ส่ง​เสริม​ให้​เป็น​อาชีพ​หลัก​ได้ เพราะ​คน​ไทย​ไม่​นิยม​บริโภค​ทั้ง​
เนื้อ​และ​น้ำนม​แพะ เนื่องจาก​มี​กลิ่น​สาบ ซึ่ง​เป็น​ลักษณะ​เฉพาะ​ของ​แพะ อีก​ทั้ง​ใน​การ​เริ่ม​ส่ง​เสริม​ให้​เลี้ยง​แพะ​นั้น
เ​ป็น​ช่วงร​ ะยะเ​วลาใ​กล้เ​คียง​กับก​ าร​ส่งเ​สริม​การเ​ลี้ยงโ​คนม และ​คนน​ ิยม​บริโภค​น้ำนม​ที่​ได้​จากโ​คนมม​ ากกว่า

       การ​เลี้ยง​แพะ​ใน​ปัจจุบัน​จะ​นิยม​เลี้ยง​ใน​จังหวัด​ภาค​ใต้​และ​ใน​กลุ่ม​ของ​ชาว​มุสลิม ทั้งนี้​เนื่องจาก​การ​
นิยม​บริโภค​เนื้อ นอกจาก​นี้​แพะ​ยัง​มี​ความ​สำคัญ​ต่อ​การ​ประกอบ​พิธีกรรม​ทาง​ศาสนา​ของ​ชาว​มุสลิม เช่น วัน​รา​ยอ​
วัน​เมา​ลิค ทำ​บุญ​ฮัญ​ยี ทำบุญ​เกิด​บุตร​ชาย​หญิง เป็นต้น โดย​เฉลี่ย​ชาว​มุสลิม​แต่ละ​ละ​คน​จะ​ต้อง​ใช้​แพะ 1–2 ตัว/ปี
(เอกชัย พฤกษ์อ​ ำไพ 2547)

1. 	 ขอ้ ดขี​ องก​ ารเ​ลี้ยง​แพะ

       แพะ​เป็น​สัตว์​ที่​มี​ขนาด​เล็ก เลี้ยง​ง่าย กิน​อาหาร​ได้​แทบ​ทุก​ชนิด ขยาย​พันธุ์​ได้​เร็ว สามารถ​ปรับ​ตัว​ให้​เข้า​กับ​
สภาพ​ภูมิ​อากาศ​ของ​ประเทศไทย​ได้​ดี การ​ลงทุน​ใน​การ​เลี้ยง​ไม่​สูง​มาก​นัก สามารถ​เลี้ยง​เพื่อ​ประกอบเป็น​อาชีพ​ได้
ซึ่งส​ ามารถส​ รุปข​ ้อดีข​ อง​การเ​ลี้ยง​แพะ ได้ด​ ังนี้

       1.1 		แพะ​เป็น​สัตว์​ที่​มีอายุ​การ​ให้​ผลผลิต​เร็ว มีอายุ​การ​เป็น​หนุ่ม​สาว​เร็ว สามารถ​ผสม​พันธุ์​และ​ตั้ง​ท้อง​ได้​
ตั้งแต่​อายุป​ ระมาณ 7 เดือน ระยะเ​วลา​ตั้ง​ท้องเ​พียง 5 เดือนห​ รือป​ ระมาณ 151 วัน

       1.2 		แพะ​สามารถ​กิน​อาหาร​ได้​หลาย​ชนิด ไม่​เลือก​กิน​อาหาร อาหาร​หลัก​ของ​แพะ คือ อาหาร​หยาบ​  ได้แก่
หญ้า และ​ใบไม้​ต่างๆ เหมือน​กับ​โค​และ​กระบือ แต่​แพะ​มี​ความ​สามารถ​ใน​การ​แทะ​เล็ม​พืช​ได้​ดี​กว่า​โค​และ​กระบือ
นอกจากน​ ี้แ​ พะ​ยัง​สามารถป​ รับต​ ัว​และ​ดำรง​ชีวิต​ได้​ดี​แทบ​ทุกส​ ภาพ​ภูมิประเทศ

ลขิ สิทธข์ิ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138