Page 136 - การผลิตสัตว์
P. 136

11-8 การผลิตสัตว์

เรอื่ งท​ ี่ 11.1.2
พันธ​แ์ุ พะ

       แพะ​ที่​เลี้ยง​ใน​โลก​แบ่ง​เป็น 3 ประเภท​ตาม​ผลผลิต​ที่​ได้ คือ แพะ​พันธุ์​ที่​เลี้ยง​เพื่อ​ผลิต​เนื้อ แพะ​พันธุ์​ที่​
เลี้ยง​เพื่อ​ผลิต​น้ำนม และ​แพะ​พันธุ์​ที่​เลี้ยง​เพื่อ​ผลิต​ขน สำหรับ​พันธุ์​แพะ​ที่​เลี้ยง​ใน​ประเทศไทย​ส่วน​ใหญ่​จะ​เป็น​พันธุ์​
พื้น​เมือง ซึ่ง​มี​ขนาด​รูป​ร่าง​เล็ก​และ​มี​การ​ให้​ผลผลิต​ทั้ง​เนื้อ​และ​น้ำนม​ต่ำ จึง​มี​การ​นำแพะ​จาก​ต่าง​ประเทศ​เข้า​มา​ผสม​
พันธุ์ก​ ับ​แพะพ​ ื้นเ​มือง เพื่อป​ รับปรุง​พันธุ์ใ​ห้ด​ ี​ขึ้น

พนั ธ​ุ์และล​ กั ษณะป​ ระจำ​พันธุ์

       1. 	 พันธุ์​พ้ืน​เมือง เป็น​แพะ​ที่​มี​ขนาด​รูป​ร่าง​เล็ก เพศ​ผู้​มี​น้ำ​หนัก​ประมาณ 30–35 กิโลกรัม ส่วน​เพศ​เมีย​
มี​น้ำห​ นักป​ ระมาณ 20–25 กิโลกรัม มีเ​ขา​แบบ​กลวง โคน​เขาใ​หญ่​โค้ง​ไปข​ ้าง​หลังเ​ล็ก​น้อย แต่ป​ ลายเ​รียวง​ อน​เฉียงก​ ลับ​
มาข​ ้างห​ น้า มีด​ ั้ง​จมูกต​ รงเ​ป็นส​ ันร​ ะหว่างต​ าจ​ นถึงป​ ลาย​จมูก ใบ​หู​เล็กต​ ั้ง​ตรง บริเวณ​ใต้ค​ าง​มี​เคราเ​ป็นก​ระ​จุก เพศเ​มีย​
ขน​สั้น​เกรียน ละเอียด นุ่ม เป็น​มัน ส่วน​เพศ​ผู้​มี​ขนห​ ยาบ​และ​ยาว​กว่า สี​ของ​แพะ​พื้น​เมือง​มี​สี​แตก​ต่าง​กัน คือ อาจ​ม​ี
สี​ดำ สี​น้ำตาล สี​ครีม สี​ขาว ฯลฯ

                                     ภาพท​ ี่ 11.1 แพะ​พนั ธ์ุ​พ้นื ​เมอื ง
       2. 	 พนั ธก์ุ​ ัต​จงั (Katjang) มีชื่อ​เต็มว​ ่า แกม​บิง​ กัตจ​ ัง (Kambing Katjang) มี​ถิ่น​กำเนิดใ​น​ประเทศม​ าเลเซีย
อินโดนีเซีย เป็นแ​ พะ​ที่ม​ ีข​ นาด​เล็ก โดย​เฉลี่ยจ​ ะ​มี​ความ​สูง​ประมาณ 56–65 เซนติเมตร น้ำ​หนักต​ ัว​เมื่อ​โต​เต็ม​วัย เพศ​ผู​้
น้ำห​ นักป​ ระมาณ 25 กิโลกรัม เพศ​เมียห​ นัก​ประมาณ 20 กิโลกรัม มี​เขาท​ ั้งเ​พศผ​ ู้​และเ​พศเ​มีย เขาม​ ี​ลักษณะโ​ค้ง​คล้าย​
ดาบ​ชี้​ขึ้น​ข้าง​บน​แล้ว​โค้ง​ไป​ข้าง​หลัง ใบ​หู​สั้น​และ​ชี้​ตรง​ขึ้น​ข้าง​บน เครา​พบ​ใน​เพศ​ผู้ ใน​เพศ​เมีย​พบ​น้อย​มาก จัด​เป็น
​พันธุ์​ที่​สำคัญ​มาก​ใน​เอเชีย​ตะวัน​ออก​เฉียง​ใต้ และ​เป็น​พันธุ์​ที่​นิยม​เลี้ยง​ใน​ภาค​ใต้​ของ​ไทย ส่วน​มาก​มี​สี​ดำ​ตลอด​ทั้ง​
ตัว บาง​ตัว​อาจ​มี​สี​ขาว​แซม​เป็น​ทาง มี​ความ​ทนทาน​ต่อ​สภาพ​แห้ง​แล้ง สามารถ​ปรับ​ตัว​เข้า​ได้​กับ​ทุก​สภาพ​แวดล้อม
ให้​ลูก​ดก เป็น​พันธุ์ท​ ี่​ให้​เนื้อที่​มีค​ ุณภาพด​ ี มี​ไขม​ ัน​แทรก​น้อย เป็น​ที่น​ ิยม​และต​ ้องการ​ของผ​ ู้​บริโภค​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​
ใน​ประเทศ​มาเลเซีย

                             ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141