Page 150 - การผลิตสัตว์
P. 150

11-22 การผลิตสัตว์

เรอื่ งท​ ่ี 11.2.1
ความ​ร​ทู้ ่ัวไป​เก่ียว​กบั ​การ​เล้ยี งน​ ก​กระทา

       นก​กระทา​จัด​เป็น​สัตว์​ที่​อยู่​ใน​พวก Gallinaceous เป็น​วงศ์ (Family) เดียวกัน​กับ​ไก่​และ​ไก่ฟ้า การ
​เลี้ยง​นก​กระทา​มี​อยู่​ทั่วไป​ทั้ง​ใน​ทวีป​เอเชีย แอฟริกา ยุโรป และ​อเมริกา แต่​ไม่มี​หลัก​ฐาน​ที่​แน่ชัด​ว่า​มี​การ​เริ่ม​เลี้ยง
​ใน​ประเทศ​ใด แต่​มี​หลัก​ฐาน​ว่า​ญี่ปุ่น​เป็น​ประเทศ​แรก​ใน​ทวีป​เอเชีย​ที่​มี​การ​เลี้ยง​นก​กระทา และ​ได้​พยายาม​ปรับปรุง
​สาย​พันธุ์​จน​กระทั่ง​ได้​สาย​พันธุ์​ที่​สามารถ​ให้​ไข่​เป็น​ที่​น่า​พอใจ นก​กระทา​มี​พันธุ์​ย่อย​ต่างๆ มากมาย แต่​พันธุ์​ที่​สำคัญ
ได้แก่ พันธุ์​เวอร์จิเนีย พันธุ์​แคลิฟอร์เนีย และ​พันธุ์​ญี่ปุ่น สำหรับ​ประเทศไทย​ใน​อดีต​จะ​เลี้ยง​นก​กระทา​ไว้​ใน​กรง​
ตาม​บ้าน​เรือน เพื่อ​ฟัง​เสียง​ร้อง แต่​หลัง​จาก​ที่​มี​การ​พัฒนา​สาย​พันธุ์​และ​มี​การนำ​สาย​พันธุ์​ที่​มี​ความ​เหมาะ​สมใน​การ​
เลี้ยง​เชิง​เศรษฐกิจ​จาก​ต่าง​ประเทศ​เข้า​มา​เลี้ยง จึง​ทำให้​เกษตรกร​หัน​มา​เลี้ยง​เพื่อ​จำหน่าย​สาย​พันธุ์ จำหน่าย​ไข่ และ​
จำหน่ายเ​นื้อ

ความ​สำคญั แ​ ละ​ประโยชน​์ของก​ ารเ​ลย้ี ง​นก​กระทา

       นก​กระทา​มีค​ วาม​สำคัญ ดังนี้
       1. 	 ไข่​นก​กระทา เป็น​อาหาร​ที่​มี​คุณค่า​มาก​โดย​เฉพาะ​เป็นอาหาร​โปรตีน สามารถ​ประกอบ​อาหาร​แทน​ไข่​ไก่​
ได้ ทั้งอ​ าหาร​คาว อาหาร​หวาน รวม​ทั้งเ​ป็น​อาหารว​ ่าง เช่น ขนมครก​ไข่​นก​กระทา เป็นต้น

                  ตาราง​ที่ 11.2 แสดง​ปริมาณค​ ุณค่า​สารอ​ าหารใ​นไ​ ขน​่ ก​กระทา ไข่ไ​ ก่ และไข​เ่ ปด็

                                            ชนิดของไข่  ไข่นกกระทา  ไข่ไก่  ไขเ่ ป็ด
 สารอาหาร
 (ต่อเนอ้ื ไข่ 100 กรัม)                                   13.1     12.9    13.2
                                                           11.1     11.5    14.2
 โปรตีน (กรัม)                                              62       61      64
 ไขมัน (กรัม)                                              325      1950    1541
 แคลเซียม (มิลลิกรัม)                                      161      163      188
 วิตามิน เอ (หน่วยสากล, I.U.)
 พลังงาน (กิโลแคลอรี่/กก.)

ท่มี า: บวรศ​ ักดิ์ หัสดิน ณ อยุธยา (ม.ป.ป.)

       2. 	 เน้ือ​นก​กระทา เป็น​เนื้อที่​ได้​จาก​ทั้ง​นก​กระทา​เพศ​ผู้และ​เพศ​เมีย​ที่​ถูก​คัด​ออก​จาก​นก​ไข่ เป็น​แหล่ง​
อาหาร​โปรตีน​ที่ด​ ี มีค​ ุณค่าใ​กล้เ​คียง​กับ​เนื้อ​สุกรแ​ ละ​เนื้อ​โค ดัง​แสดง​ใน​ตารางท​ ี่ 11.3

ลขิ สทิ ธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155