Page 154 - การผลิตสัตว์
P. 154
11-26 การผลิตสัตว์
เรอ่ื งท ่ี 11.2.3
การเลยี้ งน กก ระทา
ในการเลี้ยงนกกระทาควรซื้อลูกนกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีคุณภาพลูกนกที่ดี แข็งแรง ปลอดภัยจาก
โรคระบาด แหล่งของลูกนกกระทาในปัจจุบันอยู่ที่ อำเภอไชโย และอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยปกติ
ถ้าขายคละเพศรวมกันทั้งเพศผู้และเพศเมีย จะขายในราคาถูกกว่าการซื้อแยกเพศ เนื่องจากผู้ซื้อไม่สามารถเลือก
เพศของน กกระทาได้ ซึ่งผู้ซื้อจะต ้องการนกเพศเมียเพื่อเลี้ยงเป็นน กก ระทาไข่ม ากกว่านกกระทาเพศผ ู้ที่จะเลี้ยงเป็น
น กเนื้อ แต่ในก ารซื้อล ูกน กกระทาแบบแยกเพศนั้น นกกระทาเพศผู้จะมีร าคาถ ูกกว่าเพศเมีย ประมาณ 3 เท่า
ก่อนที่จะมีการนำนกกระทาเข้ามาเลี้ยงจะต้องมีการเตรียมสถานที่สำหรับเลี้ยง เพื่อป้องกันโรค ผู้เลี้ยง
จะต้องทำความสะอาดโรงเรือน กรงเลี้ยง และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่
ก่อให้เกิดโรคแก่ตัวนกได้ จากนั้นฉีดล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วปล่อยให้แห้งเอง โดยจะทำก่อนที่จะนำนกกระทา
เข้าเลี้ยงประมาณ 1–2 สัปดาห์
1. การเล้ยี งนกก ระทาระยะเล็ก อายุ 1–42 วัน
ลูกนกกระทาแรกเกิดมีความอ่อนแอมาก ผู้เลี้ยงจะต้องเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ในระยะ 2-4 สัปดาห์
แรก ควรมีเตรียมไฟกกเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ลูกนก อุณหภูมิในคอกกกจะปรับเปลี่ยนตามระยะอายุของลูกนก
ในสัปดาห์ที่ 1 ควรมีอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส สัปดาห์ที่ 2 ควรมีอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส และสัปดาห์ที่ 3
ควรมีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส การกกลูกนกกระทาควรทำในที่มิดชิด ไม่มีลมโกรก กรงกกขนาดกว้าง 24 นิ้ว
(2 ฟุต) ยาว 48 นิ้ว (4ฟุต) และส ูง 6 นิ้ว จะสามารถใส่ลูกนกก ระทาได้ประมาณ 500 ตัว พื้นกรงค วรปูด ้วยกระสอบ
ฟางข้าว หญ้าแห้ง หรือกระดาษแข็งผิวหยาบ เพื่อให้ความอบอุ่น แต่ไม่ควรใช้กระดาษที่มีผิวเรียบ เช่น กระดาษ
หนังสือพิมพ์ เพราะจะทำให้ลูกนกลื่น เกิดขาถ่างหรือขาพิการได้ ด้านบนของคอกกกควรเปิดรูระบายอากาศออก
เต็มท ี่ เพื่อให้อากาศถ่ายเทและท ำให้ข นของล ูกน กแ ห้ง
ท่มี า: บวรศ ักดิ์ หัสดิน ณ อยุธยา (ม.ป.ป.) ภาพท่ี 11.17 ตกู้ กไฟล ูกน กก ระทา
ลขิ สทิ ธิ์ของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช