Page 55 - การผลิตสัตว์
P. 55

การผลิตสุกร 9-5

เรอ่ื งท่ี 9.1.1
พนั ธส์ุ ุกร

       สุกรเป็นสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์จากการบริโภคเนื้อ ในอดีตการเลี้ยงสุกรเป็นการเลี้ยงแบบพื้นบ้าน
สุกรที่เลี้ยงเป็นสุกรพื้นเมือง มักจะเลี้ยงโดยให้กินเศษอาหาร ทำ�ให้สุกรมีการเจริญเติบโตช้า และให้ผลผลิตตํ่า ต่อมา
ได้มีการพัฒนาการเลี้ยงโดยมีการนำ�สุกรจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาการเลี้ยงให้ดีขึ้น ทำ�ให้สุกรมีการเจริญเติบโตเร็ว
และมีการนำ�ความรู้และเทคโนโลยีที่ดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปรับปรุงวิธีการเลี้ยงดูต่างๆ หลายประการ
เช่น เลือกสุกรที่มีพันธุกรรมที่ดี การให้อาหารที่ถูกต้องตามความต้องการของสุกร สร้างโรงเรือนที่เหมาะสม และมี
การจัดการที่ดี เป็นต้น 	

       พันธุ์สุกรเป็นปัจจัยสำ�คัญปัจจัยหนึ่งในการเลี้ยงสุกรให้ประสบความส�ำ เร็จ พันธุ์สุกรที่เลี้ยงในอดีต มีอัตรา
การเจริญเติบโตตํ่า และมีคุณภาพซากที่ไม่ดี แต่ในปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสุกรมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มี
การปรับปรุงพันธุกรรมจนได้พันธุ์สุกรที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก ซากที่ได้มีคุณภาพดี ได้เนื้อแดงมาก ซึ่งสุกร
ที่เลี้ยงในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

       1. 	 สกุ รประเภทมนั (Lard Type) มีลักษณะลำ�ตัวสั้น ขาสั้น หัวใหญ่ สะโพกเล็ก โตช้า เมื่อชำ�แหละจะได้
ซากที่มีไขมันมาก มีเนื้อแดงน้อย เมื่อเป็นแม่พันธุ์จะให้ลูกดกมากและเลี้ยงลูกเก่ง สุกรประเภทนี้ได้แก่ สุกรพันธุ์
พืน้ เมอื งของไทย เชน่ สกุ รพนั ธุค์ วาย พนั ธุร์ าด พนั ธุพ์ วง สกุ รพนั ธุพ์ ืน้ เมอื งของจนี เชน่ พนั ธุเ์ หมยซาน เปน็ ตน้ ปจั จบุ นั
สุกรประเภทนี้ ผู้เลี้ยงไม่นิยมเลี้ยงเพื่อจ�ำ หน่ายเป็นสุกรขุน แต่จะมีเลี้ยงบ้างตามชนบท หรือเลี้ยงเพื่อวัตถุประสงค์อื่น
เช่น ใช้บวงสรวงในงานของชาวเขาบางเผ่า เป็นต้น

       2. 	 สกุ รประเภทเบคอน (Bacon Type) มีลักษณะลำ�ตัวยาว ขายาว หัวเล็ก สะโพกใหญ่ โตเร็ว เมื่อชำ�แหละ
จะได้ซากที่มีคุณภาพดี มีเนือ้ แดงมาก โดยเฉพาะส่วนของสามชั้น มนั บาง เมือ่ เปน็ แมพ่ ันธุ์จะให้ลกู ดก เปน็ สกุ รทีม่ ถี ิน่
ก�ำ เนดิ แถบทวปี ยโุ รป ไดแ้ ก่ สกุ รพนั ธลุ์ ารจ์ ไวท์ และแลนดเ์ รซ สกุ รประเภทเบคอนนจี้ ะนยิ มใชเ้ พอื่ ผลติ แมพ่ นั ธลุ์ กู ผสม
สองสาย (แลนด์เรซ × ลาร์จไวท์)

       3. 	 สกุ รประเภทเนอ้ื (Meat Type) เป็นสุกรขนาดใหญ่ มลี �ำ ตวั ยาวแต่สัน้ กว่าประเภทเบคอน สะโพกใหญ่ ให้
ลูกดกน้อยกว่าสุกรประเภทเบคอน เมื่อชำ�แหละจะได้ซากที่มีคุณภาพดี มีเนื้อแดงมาก ได้แก่ สุกรพันธุ์ดูรอคเจอร์ซี
แฮมเชียร์ และเพียเทรน สุกรประเภทเนื้อนี้จะใช้เป็นพ่อพันธุ์ในการผสมกับแม่พันธุ์ลูกผสมสองสายเพื่อผลิตลูกสุกร
ขุนสามสายพันธุ์

พนั ธสุ์ กุ รท่เี ล้ยี งในประเทศไทย

       พันธุ์สุกรที่มีเลี้ยงในประเทศไทยแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม คือ สุกรพื้นเมือง สุกรพันธุ์ที่มีต้นกำ�เนิดจาก
ต่างประเทศ และสุกรพันธุ์ไฮบริด

       1. 	 สกุ รพน้ื เมอื ง (Native breed) มีลักษณะตัวเล็ก สั้น หัวเล็ก ท้องยาน ส่วนใหญ่จะพบตามชนบท เป็นการ
เลี้ยงแบบผูกล่ามกับเสาบ้าน หรือผูกไว้กับต้นไม้ ไม่นิยมเลี้ยงเป็นการค้า เนื่องจากเป็นสุกรที่มีการเจริญเติบโตช้ามาก
และคณุ ภาพซากไมด่ ี มเี นือ้ แดงนอ้ ย มไี ขมนั มาก ขายไดร้ าคาตํา่ แตม่ จี ดุ เดน่ อยูท่ ีเ่ ลีย้ งงา่ ย สามารถเจรญิ เตบิ โตไดแ้ ม้
ได้รับอาหารคุณภาพตํ่า แม่พันธุ์ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง สุกรพื้นเมืองมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์ราด พันธุ์กระโดน พันธุ์

                  ลขิ สิทธิ์ของมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60