Page 60 - การผลิตสัตว์
P. 60

9-10 การผลิตสัตว์

เร่ืองที่ 9.1.2
การคัดเลอื กสุกร

       การคัดเลือกสุกรมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้สุกรที่มีลักษณะดี มีความสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งการคัดเลือกนี้จะ
แบ่งสุกรออกเป็น 2 ประเภท คือ การคัดเลือกสุกรเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ และการคัดเลือกสุกรขุน โดยในส่วนของการ
คัดเลือกสุกรขุนนั้น จะมีความคล้ายคลึงกับการคัดเลือกสุกรเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ แต่ไม่เน้นในรายละเอียดมากนัก
โดยจะเน้นคัดเลือกสุกรที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง มีสุขภาพดี ไม่ป่วย ไม่เป็นสุกรที่แคระแกร็น เพราะถ้าเลี้ยงสุกร
ขุนที่ไม่ดี จะทำ�ให้สุกรโตช้า การเลี้ยงใช้เวลานาน ใช้ต้นทุนในการเลี้ยงสูง มีประสิทธิภาพการผลิตตํ่า ทำ�ให้การเลี้ยง
สุกรขุนประสบกับภาวะขาดทุนได้ สำ�หรับในเรื่องนี้จะกล่าวเฉพาะการคัดเลือกสุกรเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์

       การคัดเลือกสุกรเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้สุกรที่จะนำ�ไปเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดี เพื่อ
ผสมพันธุ์ให้ได้ลูกที่ดี อีกยังเป็นการปรับปรุงลักษณะพันธุกรรมของสุกรในฟาร์ม เพื่อที่จะให้ได้ลักษณะต่างๆ ที่ดี
ขึ้น ซึ่งในการแสดงออกลักษณะต่างๆ ของลูก (Phenotype; P) จะได้รับอิทธิพลจาก 2 สิ่ง คือ อิทธิพลจากพันธุกรรม
(Genotype; G) และอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม (Environment; E) หรือ P = G + E ซึ่งลักษณะต่างๆ ที่มีการถ่ายทอด
แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

       1) 	ลักษณะทางคุณภาพ (Qualitative) เป็นการแสดงออกของลักษณะที่สังเกตเห็นได้ด้วยตา เช่น ลักษณะ
ของใบหู สีของผิวหนังและขน เป็นต้น การแสดงออกของลักษณะทางคุณภาพนี้ สิ่งแวดล้อมไม่มีผลทำ�ให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง

       2) 	ลักษณะทางปริมาณ (Quantitative) เป็นการแสดงออกของลักษณะที่สังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจน เช่น อัตรา
การเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นนํ้าหนักตัว คุณภาพซาก เป็นต้น การแสดงออกของลักษณะทาง
ปริมาณนี้สิ่งแวดล้อมมีผลทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

1. 	วธิ ีการคัดเลอื กสุกรพนั ธุ์

       วิธีการคัดเลือกสุกรพันธุ์ที่ผู้เลี้ยงสุกรนิยมใช้ ได้แก่ การคัดเลือกโดยพิจารณาจากลักษณะภายนอก การ-
คัดเลือกโดยพิจารณาจากสมรรถภาพการผลิต และการคัดเลือกโดยใช้ดัชนีการคัดเลือก

       1.1 	การคดั เลอื กสกุ รจากลกั ษณะภายนอก เปน็ การคดั เลอื กสกุ รจากลกั ษณะรปู รา่ งภายนอก ซึง่ เปน็ ลกั ษณะที่
มีความสำ�คัญทางเศรษฐกิจ การคัดเลือกจะต้องพิจารณาลักษณะต่างๆ ของสุกรให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานของพันธุ์
เช่น สุกรลาร์จไวท์จะต้องมีลำ�ตัวสีขาวไม่มีจุดด่างหรือสีอื่นแซม ใบหูตั้ง ถ้าเป็นสุกรแลนด์เรซ จะต้องมีสีขาวไม่มีสีอื่น
แซม ใบหูปรกปิดหน้า หัวเล็ก ลำ�ตัวยาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาลักษณะภายนอกตามประเภทของพันธุ์
สุกร คือ

            1.1.1 สกุ รประเภทพนั ธเ์ุ นอื้ มักจะเน้นบริเวณสะโพก จะต้องมีสะโพกใหญ่ ไหล่กว้าง ลำ�ตัวลึก ใต้ท้อง
เรียบไม่หย่อนยาน ขาทั้งสี่ต้องตั้งตรงและแข็งแรง อวัยวะสืบพันธุ์ไม่ผิดปกติ และมีหัวนมที่ดี 12 หัวขึ้นไป

                             ลิขสทิ ธ์ขิ องมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65