Page 63 - การผลิตสัตว์
P. 63

การผลิตสุกร 9-13

            1.2.3 	ลักษณะทางการสืบพันธุ์ หมายถึง ประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ของแม่พันธุ์สุกร ลักษณะที่มี
ความสำ�คัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การให้ลูกดก เลี้ยงลูกดี มีความสามารถในการเป็นแม่ที่ดี สามารถผลิตลูกสุกรได้
มาก ทำ�ให้ต้นทุนการผลิตลูกสุกรลดลง ผู้เลี้ยงจะมีกำ�ไรมากขึ้น โดยมีค่าที่พิจารณาในการคลอดของแม่สุกรแต่ละ
ครั้ง คือ

                1) 	จำ�นวนลูกสุกรมีชีวิตแรกคลอด ไม่ควรน้อยกว่า 10 ตัว
                2) 	จำ�นวนลูกสุกรหย่านม คือ จำ�นวนลูกสุกรในครอกนั้นที่มีชีวิตรอดจนถึงหย่านม ไม่ควรน้อย
กว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของจำ�นวนลูกมีชีวิตแรกคลอด
                3) 	นํ้าหนักลูกสุกรหย่านม คือ นํ้าหนักตัวของลูกสุกรที่ชั่งเมื่อวันที่หย่านม ไม่ควรน้อยกว่าตัว
ละ 5.5 กิโลกรัม ที่อายุ 20 วัน และไม่ควรน้อยกว่า 6.5 กิโลกรัม ที่อายุ 28 วัน
            ทั้งค่าอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน ค่าอัตราการแลกนํ้าหนัก มีค่าอัตราพันธุกรรมปานกลาง และ
ขนาดของลูกต่อครอกมีค่าอัตราพันธุกรรมค่อนข้างตํ่า หมายถึง อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบอย่างมากต่อ
การแสดงออกของสุกร ทำ�ให้การปรับปรุงลักษณะเหล่านี้ทำ�ได้ยาก จึงต้องมีการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อ
การเลี้ยงสุกรด้วย
            1.2.4 	คุณภาพซาก ปัจจุบันนี้ผู้บริโภคไม่นิยมบริโภคเนื้อสุกรที่มีมันมาก สุกรที่มีเนื้อแดงมากผู้ซื้อจะ
ให้ราคาสูง ทำ�ให้ผู้เลี้ยงต้องให้ความสำ�คัญกับคุณภาพซาก โดยจะพิจารณาค่าของ เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง พื้นที่หน้าตัด
เนื้อสัน และความหนาของไขมันสันหลัง ในอดีตการวัดความหนาไขมันสันหลังจะใช้ไม้บรรทัดวัด หรือโพรบ
(ภาพที่ 9.10) โดยจะท�ำ การโกนขนบริเวณที่วัด คือ ไหล่เหนือซอกขาหน้า (1) ต�ำ แหน่งซี่โครงซี่สุดท้าย (2) และกระดูก
สนั หลงั ขอ้ สดุ ทา้ ย (3) ใชใ้ บมดี เจาะผวิ หนงั ใหท้ ะลเุ พือ่ สอดโพรบเขา้ ไป แลว้ กดโพรบใหท้ ะลผุ า่ นชัน้ ไขมนั จนถงึ บรเิ วณ
เนื้อสัน จะได้ค่าของความหนาไขมันสันหลัง 3 ค่า นำ�ค่าที่อ่านได้ทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย ค่าที่ได้จะเป็นค่าของความ
หนาไขมันสันหลังของสุกรตัวนั้น ส่วนคุณภาพซากจะต้องฆ่าสุกรก่อน แล้วตัดขวางส่วนเนื้อสันบริเวณซี่โครงซี่ที่ 10
จากนั้นใช้กระดาษลอกลายทาบบนหน้าตัดของเนื้อสันนอก ลากเส้นตามรอยของกล้ามเนื้อ นำ�ค่าที่ได้ไปวัดพื้นที่กับ
แผ่นมาตราวัดพื้นที่เนื้อสัน

                      ภาพท่ี 9.10 ต�ำ แหน่งและวิธีการวัดความหนาไขมนั สนั หลังของสุกร

            แต่ในปัจจุบัน สามารถวัดคุณภาพซากของสุกรในขณะที่สุกรยังมีชีวิตได้ โดยการใช้เครื่องเรียลไทม์
อัลตร้าซาวด์ (ภาพที่ 9.11) ค่าที่วัดได้จากเครื่องมือชนิดนี้ ได้แก่ ค่าของความหนาไขมันสันหลัง เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง
และพื้นหน้าตัดเนื้อสัน

                              ลิขสทิ ธ์ิของมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68