Page 68 - การผลิตสัตว์
P. 68
9-18 การผลิตสัตว์
3. ระยะเวลาทเ่ี หมาะสมในการผสมพันธุ์ เพื่อให้การผสมพันธุ์มีประสิทธิภาพสูงที่สุด นั่นคือ ในการผสม-
พันธุ์แต่ละครั้งจะต้องมีจำ�นวนแม่สุกรที่ตั้งท้องมากที่สุด (เรียกว่า มีอัตราการผสมติดสูงที่สุด) ผู้เลี้ยงจะต้องทำ�การ
ผสมพันธุ์แม่สุกรในเวลาที่เหมาะสม เพราะในการผสมพันธุ์มีสิ่งที่ต้องคำ�นึงถึงเกี่ยวกับเซลล์ไข่ และตัวอสุจิ อยู่ 2
ประการ คือ 3.1 เซลล์ไข่ของสุกรเพศเมีย หลังจากผลิตออกมาจากรังไข่และตกลงสู่ท่อนำ�ไข่ จะมีชีวิตรอผสมกับ
ตัวอสุจิเพียง 8 ชั่วโมง หลังจากนั้นเซลล์ไข่ก็จะฝ่อไป
3.2 ตัวอสุจิของสุกรเพศผู้ หลังจากที่เข้ามาในระบบสืบพันธุ์เพศเมีย จะเดินทางไปสู่จุดที่จะผสมกับ
ไข่ คือ บริเวณส่วนปลายของท่อนำ�ไข่ และจะพัฒนาตัวเองเข้าสู่ระยะตัวอสุจิที่สมบูรณ์ระยะสุดท้าย เพื่อผสมกับ
เซลล์ไข่ของเพศเมีย ตัวอสุจิจะมีชีวิตอยู่ในระบบสืบพันธุ์ของเพศเมียได้ประมาณ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะตายไป
จากสิ่งที่ต้องคำ�นึงถึงทั้ง 2 ข้อนั้น และเนื่องจากสุกรเป็นสัตว์ที่มีการตกไข่จำ�นวนมากในช่วงที่เป็นสัดที่แท้-
จริง คือ ประมาณ 10-25 ฟอง ในชั่วโมงที่ 36-40 นับจากชั่วโมงที่ศูนย์ เพื่อให้การผสมพันธุ์มีประสิทธิภาพ จึงต้อง
ทำ�การผสมพันธุ์ก่อนที่ไข่จะตกประมาณ 10 ชั่วโมง และควรจะทำ�การผสมพันธุ์แม่สุกรอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อให้ตัว
อสจุ สิ ามารถมชี วี ติ รอทีจ่ ะผสมกบั ไขท่ ีจ่ ะตกมาในชว่ งทา้ ยของระยะการเปน็ สดั ของแมส่ กุ ร และเมือ่ พจิ ารณาระยะเวลา
การยืนนิ่งเมื่อเป็นสัดและการตกไข่ของสุกรจะมีความแตกต่างกัน โดยสุกรสาวจะมีระยะการยืนนิ่งเมื่อเป็นสัดที่สั้น
ส่วนแม่สุกรที่ผ่านการคลอดลูกมาแล้ว (หรือเรียกว่า “สุกรนาง”) จะมีระยะการยืนนิ่งที่นานกว่าสุกรสาว เพื่อให้การ
ผสมพันธุ์สุกรมีประสิทธิภาพสูงที่สุด สรุปแนวทางปฏิบัติในการผสมพันธุ์สุกร ดังนี้
กรณีที่ 1 ถ้าพบว่าสุกรสาวหรือสุกรนางเป็นสัดและยืนนิ่ง ในตอนเช้าของวันที่ 1
สุกรสาว ผสมครั้งที่ 1 ให้ผสมพันธุ์เมื่อตรวจพบการยืนนิ่ง
ผสมครั้งที่ 2 ผสมตอนเย็นของวันที่ 1
สุกรนาง ผสมครั้งที่ 1 ผสมตอนเย็นของวันที่ 1
ผสมครั้งที่ 2 ผสมตอนเช้าของวันที่ 2
กรณที ่ี 2 ถ้าพบว่าสุกรสาวหรือสุกรนางเป็นสัดและยืนนิ่ง ในตอนเย็นของวันที่ 1
สุกรสาว ผสมครั้งที่ 1 ให้ผสมพันธุ์เมื่อตรวจพบการยืนนิ่ง
ผสมครั้งที่ 2 ผสมตอนเช้าของวันที่ 2
สุกรนาง ผสมครั้งที่ 1 ผสมตอนเช้าของวันที่ 2
ผสมครั้งที่ 2 ผสมตอนเย็นของวันที่ 2
ในบางครั้งหลังจากผสมพันธุ์ครั้งที่ 2 แล้ว ถ้าแม่สุกรยังมีอาการเป็นสัด (ยืนนิ่ง) อยู่ สามารถผสมครั้งที่ 3
ได้ ซึ่งจะทำ�ให้การผสมพันธุ์มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เนื่องจากมีอสุจิรอที่จะผสมกับเซลล์ไข่มากขึ้น แต่ถ้าแม่สุกรไม่
ยืนนิ่งแล้วไม่ควรผสมครั้งที่ 3 เพราะจะเกิดมดลูกอักเสบอาจต้องคัดแม่สุกรทิ้งได้
4. วิธีการผสมพนั ธ์ุ สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ
4.1 การผสมแบบธรรมชาติ เป็นการผสมพันธุ์โดยใช้พ่อสุกรผสมกับแม่สุกร คอกที่ใช้ผสมควรจะต้อง
มีความกว้างพอที่จะให้พ่อสุกรเดินไปมาได้สะดวก (อาจมีพื้นที่ขนาด 2 × 2 หรือ 2 × 3 ตารางเมตร) เพราะพ่อสุกรจะ
มีการเล้าโลมแม่สุกรก่อนที่จะผสมพันธุ์ พื้นคอกผสมจะต้องไม่ลื่นและไม่ขรุขระจนเกินไป เพราะจะทำ�ให้เกิดปัญหา
ที่ขาและกีบของสุกรพ่อและแม่พันธุ์ได้ และเนื่องจากการผสมพันธุ์แบบธรรมชาติพ่อสุกรจะต้องปีนที่หลังของแม่สุกร
ทำ�ให้แม่สุกรต้องรับนํ้าหนักของพ่อสุกรด้วย ดังนั้น จะต้องใช้พ่อสุกรที่มีขนาดใกล้เคียงกับแม่สุกร
ลขิ สิทธ์ขิ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช