Page 64 - การผลิตสัตว์
P. 64

9-14 การผลิตสัตว์

   ภาพท่ี 9.11 การวัดคณุ ภาพซากของสุกรโดยใชเ้ ครือ่ งเรยี ลไทม์อัลตร้าซาวด์ และภาพท่ไี ด้

       1.3 การคัดเลือกโดยใช้ดัชนีการคัดเลือก (Index selection; I) เป็นการคัดเลือกแบบคิดคะแนนรวมของ
ลักษณะต่างๆ ที่เน้นเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ โดยจะให้ความสำ�คัญของแต่ละลักษณะไม่เท่ากัน การคัดเลือกโดยวิธีนี้
เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการคัดเลือกพันธุ์ โดยจะกำ�หนดเป็นค่าดัชนีการคัดเลือก ซึ่งการสร้างค่าดัชนีการ
คัดเลือกจะใช้การลงทุนที่สูง มีการคำ�นวณที่ยุ่งยากซับซ้อน และค่าดัชนีของแต่ละแหล่งจะแตกต่างกัน ซึ่งจะขอยก
ตัวอย่างดัชนีการคัดเลือกของสถานีทดสอบพันธุ์สุกรกลาง ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ สถาบัน
สุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำ�แพงแสน จ.นครปฐม ดังนี้

I  =  100          +  {0.266(ADG  —  ADG)  —  47.84(FCR   —  FCR )  —  5.88(BF  —  BF )}  ×  25

                                                       σ

ADG 	 คือ 	 อัตราการเจริญเติบโตของสุกร 	
ADG	 คือ 	 อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยของฝูง
FCR	 คือ 	 อัตราแลกเนื้อของสุกร	
FCR 	 คือ 	 อัตราแลกเนื้อเฉลี่ยของฝูง
BF	 คือ 	 ค่าความหนาไขมันสันหลังของสุกร	
BF 	 คือ 	 ค่าความหนาไขมันสันหลังเฉลี่ยของฝูง
σ	 คือ 	 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของฝูง

       จากค่าดัชนีที่แสดงนี้ พบว่า การคัดเลือกสุกรเพื่อใช้เป็นสุกรพันธุ์ จะเลือกสุกรที่มีค่าดัชนีที่สูงกว่า เนื่องจาก
จะมีค่าอัตราการเจริญเติบโต (ADG) อัตราแลกเนื้อ (FCR) และค่าความหนาไขมันสันหลัง (BF) ที่ดีกว่านั่นเอง

                      ลขิ สทิ ธิข์ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69