Page 66 - การผลิตสัตว์
P. 66

9-16 การผลิตสัตว์

         2. 	 การคดั เลือกสกุ รจากลักษณะภายนอก มีหลักในการปฏบิ ตั ิ ดงั นี้
              1) ยืนหา่ งสุกรพอสมควร ใหม้ องเหน็ สุกรไดช้ ัดเจนท้งั ตัว
              2) พิจารณาลักษณะต่างๆ ของสุกรให้ครบ เช่น ขนาดและนํ้าหนัก ความสัมพันธ์กันของขนาด

  กับอายุ รูปร่าง ความยาวและความตรงของขา สันหลัง เอว บั้นท้าย อวัยวะเพศ เป็นต้น โดยพิจารณาท้ังด้าน
  หนา้ ด้านข้าง และด้านหลังของสกุ ร มีการไลใ่ ห้สกุ รเปลีย่ นทา่ ทางหรอื ไล่ใหส้ กุ รเดิน เพอื่ พจิ ารณาลกั ษณะการ
  ยืนและการเดินของสุกร

              3) ใชม้ อื จบั ต้องหรอื ลบู คลำ�ตัวสกุ ร เพอ่ื สัมผัสส่ิงผดิ ปกติท่ีเหน็ ไม่ชดั เชน่ รอยแผลเปน็ เป็นตน้
              4) บางลักษณะไม่สามารถเห็นไดช้ ดั เจน จะตอ้ งเขา้ ไปยืนพิจารณาอยา่ งใกลช้ ิด เช่น ลักษณะของ
  หัวนม เป็นตน้
              5) การคดั เลอื กสุกรจะตอ้ งทำ�อยา่ งประณีต ไม่ควรพจิ ารณาดว้ ยความรีบร้อน

เรอื่ งท่ี 9.1.3
การจัดการผสมพนั ธุ์สกุ ร

       การผสมพันธุ์ คือ การให้เซลล์สืบพันธุ์ของสุกรเพศผู้ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์ของสุกรเพศเมีย การผสมพันธุ์มี
วัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อรักษาลักษณะของพันธุ์แท้และปรับปรุงให้ดีขึ้น 2) การผสมข้ามพันธุ์เพื่อให้
เกิดการรวมลักษณะที่ดีของพันธุ์แท้ในลูกผสมที่ผลิตได้

การจัดการผสมพันธุ์

       1.	 วงรอบการเป็นสัดในสุกรเพศเมีย ก่อนที่จะดำ�เนินการจัดการผสมพันธุ์สุกร ผู้เลี้ยงจำ�เป็นต้องมีความ
รู้และเข้าใจในเรื่องของวงรอบการเป็นสัดของสุกรเพศเมียเสียก่อน เพื่อให้สามารถจัดการผสมพันธุ์สุกรได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ

       สุกรเพศเมียเมื่อย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือที่เรียกว่าเป็นสาว รังไข่จะมีการผลิตฮอร์โมนเพศและสร้างเซลล์
สืบพันธุ์ (ไข่) เพื่อรอผสมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้ (อสุจิ) ซึ่งเมื่อสุกรเพศเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะแสดงอาการที่
เรียกว่า “การเป็นสัด” โดยจะสามารถสังเกตได้ คือ อวัยวะเพศบวมและมีสีชมพูจนถึงแดง มีนํ้าเมือกไหลเยิ้มออกมา
ส่งเสียงร้อง กระวนกระวาย สนใจสิ่งต่างๆ ภายนอก เช่น คนเลี้ยง หรือสุกรเพศผู้ ถ้าขังสุกรไว้รวมกัน ตัวที่มีอาการ
เป็นสัดจะไล่ปีนสุกรตัวอื่น หรือถ้าขังเดี่ยวจะปีนผนังคอก การกินอาหารลดลง เมื่อคนเลี้ยงใช้มือกดที่กลางหลัง หัว
ไหล่ หรือสะโพกของสุกร สุกรจะยืนนิ่งไม่เดินหนี คนเลี้ยงสามารถขึ้นขี่ได้ โดยปกติสุกรเพศเมียจะมีวงรอบการเป็น
สัดเฉลี่ยทุกๆ 21 วัน (อยู่ในช่วง 18 ถึง 23 วัน) วงรอบของการเป็นสัดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

            1.1	 ระยะพักการเป็นสัด ในระยะนี้สุกรเพศเมียจะไม่แสดงอาการเป็นสัด ระบบสืบพันธุ์ไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง ในวงรอบของการเป็นสัดจะมีระยะพักการเป็นสัดประมาณ 18 ถึง 20 วัน

                             ลิขสิทธ์ขิ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71