Page 62 - การผลิตสัตว์
P. 62

9-12 การผลิตสัตว์

                5) การคัดเลือกสุกรจะต้องทำ�อย่างประณีต ไม่ควรพิจารณาด้วยความรีบร้อน ซึ่งการคัดเลือก
สุกรพันธุ์จากลักษณะภายนอกในสุกรแต่ละเพศ สามารถสรุปได้ ดังนี้

                     1) 	 สกุ รเพศเมยี
                          (1) 	มีลักษณะตรงตามพันธุ์ เช่น ลาร์จไวท์ ต้องมีสีขาว และหูตั้ง
                          (2) 	ขาแข็งแรง กีบมีขนาดเท่ากัน
                          (3) 	สุขภาพดี ไม่มีอาการเจ็บป่วย
                          (4) 	มีเต้านมที่สมบูรณ์ หัวนมไม่บอด หรือผิดปกติ ซึ่งในสุกรพันธุ์ที่มีสีขาวควรมี

จำ�นวนเต้านมไม่น้อยกว่า 14 เต้า และในสุกรพันธุ์ที่มีสีอื่นควรมีจำ�นวนเต้านมไม่น้อยกว่า 12 เต้า
                          (5) 	อวัยวะเพศไม่เล็กหรือใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของล�ำ ตัว จนมองเห็นว่า

ผิดปกติ
                     2) 	 สุกรเพศผู้
                          (1) มีลักษณะการคัดเลือกเหมือน ข้อ 1 ถึง 4 ในสุกรเพศเมีย
                          (2) อัณฑะมีขนาดใหญ่ เหมาะสมกับขนาดของลำ�ตัว อัณฑะทั้ง 2 ลูกมีขนาดใกล้

เคียงกัน
                          (3) มีความต้องการอยากผสมพันธุ์กับเพศเมีย

       1.2 	การคดั เลอื กสกุ รจากสมรรถภาพการผลติ เปน็ การคดั เลอื กโดยพจิ ารณาจากประวตั ขิ องบรรพบรุ ษุ คอื พอ่
แม่ พี่ นอ้ ง ปู่ ยา่ ตา ยาย โดยประวตั ขิ องบรรพบรุ ษุ ของสกุ รตวั ทีค่ ดั เลอื กตอ้ งมคี า่ ตา่ งๆ ทีด่ ี และประวตั กิ ารใหผ้ ลผลติ
ของตัวสัตว์ที่จะคัดเลือกเอง โดยคาดหวังว่าลักษณะต่างๆ ที่ดีเหล่านั้นจะถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน ซึ่งก็คือ สุกรตัวที่
คัดเลือกตัวนั้น โดยทั่วไปค่าที่นำ�มาพิจารณาจะเป็นค่าที่มีความสำ�คัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่

            1.2.1 อัตราการเจริญเติบโตเฉลย่ี ตอ่ วัน (Average dairy gain; ADG) หมายถึง นํ้าหนักของสุกรที่เพิ่ม
ขึ้นในแต่ละวันตลอดช่วงระยะเวลาการเลี้ยงดู หาได้จากสูตร

อัตราการเจริญเติบโต (กรัม/วัน) =  นํ้าหนักตัวที่ชั่งครั้งสุดท้าย (กก.) — นํ้าหนักตัวที่ชั่งครั้งแรก (กก.)  × 1,000
                                              จำ�นวนวันที่เลี้ยงสุกรทั้งหมด (วัน)

            โดยจะเริ่มทำ�การเก็บบันทึกข้อมูลของสุกรที่นํ้าหนักตัว 30 กิโลกรัม และจะสิ้นสุดเมื่อสุกรมีนํ้าหนัก
ตัว 90 กิโลกรัม (เนื่องจากนํ้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเมื่อสุกรมีนํ้าหนักตัวเกินกว่า 90 กิโลกรัมจะเป็นนํ้าหนักของไขมัน
ไม่ใช่นํ้าหนักของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นค่าที่ไม่ต้องการ จึงไม่เก็บข้อมูลหลังจากสุกรมีนํ้าหนักตัวเกิน 90 กิโลกรัม) สุกรที่
โตเร็ว จะใช้เวลาเลี้ยงจนถึงนํ้าหนักที่ต้องการสั้น ทำ�ให้มีต้นทุนการเลี้ยงที่ตํ่ากว่าสุกรที่มีค่าอัตราการเจริญเติบโตตํ่า
ซึ่งสุกรที่พิจารณาคัดเลือกควรมีค่าอัตราการเจริญเติบโตไม่น้อยกว่า 700 กรัม/วัน ขึ้นไป

            1.2.2 อัตราการแลกน้ําหนัก (Feed conversion ratio; FCR) หมายถึง อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็น
นํ้าหนักตัว หรือปริมาณอาหารที่สุกรกินเพื่อเพิ่มนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม หาได้จากสูตร

อัตราการแลกนํ้าหนัก =             อาหารที่สุกรกินทั้งหมด (กก.)
                                  นํ้าหนักตัวสุกรที่เพิ่มขึ้น (กก.)

            สุกรที่มีค่าอัตราการแลกนํ้าหนักดี จะใช้อาหารในการเพิ่มนํ้าหนักตัวน้อยกว่าสุกรที่มีค่าอัตราการ
แลกนํ้าหนักสูง ซึ่งสุกรที่พิจารณาคัดเลือกควรมีค่าอัตราการแลกนํ้าหนักไม่เกิน 2.6

                   ลขิ สิทธิข์ องมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67