Page 67 - การผลิตสัตว์
P. 67

การผลิตสุกร 9-17

            1.2 ระยะเป็นสดั แบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ คือ
                1) 	ระยะก่อนการเป็นสัดที่แท้จริง แม่สุกรที่อยู่ในระยะนี้จะส่งเสียงร้อง กระวนกระวาย ไล่ปีน

ป่ายสุกรตัวอื่นแต่ไม่ยอมให้สุกรตัวอื่นปีน และเมื่อคนเลี้ยงกดที่หลังก็จะไม่ยืนนิ่ง อวัยวะเพศบวมมาก มีนํ้าเมือก
ไหลเยิ้มออกมาเล็กน้อย ระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 2-3 วัน

                2) 	ระยะเปน็ สดั ทแี่ ทจ้ ริง แม่สุกรจะค่อนข้างสงบนิ่ง อาจมีกระวนกระวายเล็กน้อย ยอมให้สุกร
ตัวอื่นรวมทั้งสุกรเพศผู้ปีนขึ้นบั้นท้ายเพื่อผสมพันธุ์ เมื่อคนเลี้ยงใช้มือกดหลังก็จะยืนนิ่ง สามารถขึ้นขี่หลังได้ ระยะ
นี้กินเวลาประมาณ 1-3 วัน ในการกำ�หนดระยะเวลาที่จะผสมพันธุ์สุกร นักวิชาการจะนับเวลาที่สุกรเริ่มยืนนิ่งให้ผสม
พันธุ์ได้เป็นเวลา “ชั่วโมงที่ศูนย์” และพบว่าการตกไข่ของแม่สุกรจะเกิดขึ้นมากที่สุดในอีก 36-40 ชั่วโมงต่อมา

       2. 	 การตรวจสดั และการผสมพนั ธส์ุ กุ ร การตรวจสัดเป็นวิธีการเพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมสำ�หรับการผสม
พันธุ์สุกร ทั้งนี้เนื่องจากสุกรเป็นสัตว์ที่ออกลูกครั้งละหลายตัว จึงมีการตกไข่หลายครั้ง ซึ่งการตกไข่นั้นจะเกิดขึ้นไม่
พร้อมกัน ดังนั้น จึงต้องกำ�หนดระยะเวลาที่จะผสมพันธุ์เพื่อให้การผสมพันธุ์เหมาะสมมากที่สุด มีการผสมติดมาก
ที่สุด และได้ลูกสุกรมากที่สุด โดยผู้เลี้ยงสุกรจะต้องตรวจสัดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และจะต้องปฏิบัติหลังจากให้
อาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะในช่วงที่ใกล้เวลาให้อาหาร แม่สุกรจะสนใจอาหาร การแสดงอาการของการเป็นสัด
จะไม่ชัดเจน ทำ�ให้การตรวจการเป็นสัดเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ วิธีการตรวจสัด มี 2 วิธี คือ

            2.1	 ใชค้ นสังเกตดูอาการของสกุ รเพศเมีย วิธีนี้จะให้คนเลี้ยงสังเกตอาการต่างๆ ของสุกร รวมทั้งการ
เปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศของแม่สุกร ดังที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อวงรอบการเป็นสัดในสุกรเพศเมีย อีกทั้งจะต้องทำ�
ร่วมกับการนับจำ�นวนวันของวงรอบการเป็นสัด คือประมาณ 18- 23 วัน เพื่อป้องกันความผิดพลาด วิธีนี้มีข้อเสีย
คือ ถ้าแม่สุกรตัวนั้นมีความคุ้นเคยกับคนตรวจ ประกอบกับคนตรวจไม่มีความชำ�นาญพอ เมื่อกดหลังแม่สุกรพบว่า
ยืนนิ่งยอมให้ขึ้นขี่หลังได้ แม้ว่าแม่สุกรตัวนั้นไม่ได้อยู่ในช่วงของการเป็นสัด อาจทำ�ให้คนตรวจคิดว่าแม่สุกรตัวนั้น
เป็นสัด ถ้าผสมพันธุ์จะเกิดความเสียหายกับแม่สุกรตัวนั้นได้

            2.2	 ใชพ้ ่อสุกรตรวจการเปน็ สัดร่วมกบั การใช้คนตรวจ วิธีนี้จะใช้พ่อสุกรเดินอยู่ทางด้านหน้าของกรง
ที่ขังแม่สุกร แล้วคนที่ตรวจการเป็นสัดจะใช้มือกดหลังแม่สุกรตัวที่ต้องการตรวจ เพื่อดูการตอบสนองของแม่สุกรตัว
นั้น วิธีนี้จะได้ผลที่แม่นยำ� เนื่องจากกลิ่นของพ่อสุกรโดยเฉพาะกลิ่นจากนํ้าลายจะช่วยกระตุ้นให้แม่สุกรตอบสนอง
ได้ชัดเจนคือ ถ้าแม่สุกรเป็นสัด จะยืนนิ่งยอมให้ขึ้นขี่หลัง บางครั้งอาจส่งเสียงร้องด้วย แต่ถ้าแม่สุกรไม่เป็นสัดจะไม่
ยอมให้ขึ้นขี่หลัง (ภาพที่ 9.12)

                      ภาพที่ 9.12 แสดงวิธกี ารตรวจสดั โดยใชพ้ อ่ สกุ รรว่ มกับใชค้ นตรวจ

                              ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72