Page 79 - การผลิตสัตว์
P. 79
การผลิตสุกร 9-29
เร่ืองท่ี 9.2.3
การเลี้ยงสุกรแม่พนั ธ์ุ
แม่พันธุ์สุกร จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สุกรสาว และแม่พันธุ์สุกรที่เลี้ยงเพื่อผลิตลูกสุกร ซึ่งจะมี
การจัดการในสุกรแต่ละประเภท ดังนี้
1. การจัดการสกุ รสาว
สุกรสาว หมายถึง สุกรเพศเมียที่ไม่เคยผ่านการคลอดลูก เป็นสุกรที่คัดเลือกเพื่อทดแทนแม่สุกรที่คัดออก
จากฝูง เนื่องจากอายุมาก หรือเกิดปัญหาด้านการให้ผลผลิต เช่น ผสมไม่ติด มดลูกอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งจะมี
สัดส่วนของสุกรสาวที่ทดแทนสุกรแม่พันธุ์ที่ถูกคัดทิ้งประมาณ 15 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของฝูงแม่พันธุ์ การจัดการที่
เกี่ยวกับสุกรสาว มีดังนี้
1.1 การจัดการด้านการสขุ าภิบาลและการจัดการท่วั ไป ได้แก่
1.1.1 การกกั โรค มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พือ่ ปอ้ งกนั โรคระบาดทีจ่ ะแพรก่ ระจายจากสกุ รสาวทีน่ �ำ เขา้ ฝงู แมพ่ นั ธุ์
ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติเหมือนกับพ่อสุกรใหม่
1.1.2 การคลุกสุกรสาว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สุกรสาวมีภูมิคุ้มกันโรคที่มีอยู่ในฟาร์ม ก่อนจะน�ำ สุกร
สาวทดแทนในฝูงสุกรแม่พันธุ์ ซึ่งจะให้ความสำ�คัญกับโรค PRRS เนื่องจากมีการระบาดที่รุนแรง และสร้างความเสีย
หายอย่างมาก โดยมีวิธีการคลุกสุกรสาว ดังนี้
1) นำ�สุกรสาวขังรวมกันในคอก นำ�สุกรอนุบาลที่ติดเชื้อโรคในฟาร์ม หรือแม่สุกรคัดทิ้ง ใส่ใน
คอกสุกรสาว ในสัดส่วน สุกรอนุบาลต่อสุกรสาวทดแทน เท่ากับ 2 ต่อ 6 ตัว หรือ แม่สุกรคัดทิ้งต่อสุกรสาวทดแทน
เท่ากับ 1 ต่อ 6 ตัว
2) เปลี่ยนตัวสุกรอนุบาล หรือแม่สุกรคัดทิ้ง ที่นำ�มาเพื่อคลุกกับสุกรสาวทดแทนทุกๆ 2 สัปดาห์
เพื่อกระตุ้นให้มีการถ่ายเชื้อให้กับสุกรสาวทดแทนอย่างต่อเนื่อง
3) หลังจากคลุกสุกรสาวทดแทนเป็นเวลา 1 เดือน นำ�สุกรอนุบาลหรือแม่สุกรคัดทิ้งออกไป
ปล่อยให้สุกรสาวปรับระดับภูมิคุ้มกันโรคต่อเนื่องเป็นเวลาอีก 1 เดือน ทำ�การเจาะเลือดเพื่อดูค่าภูมิคุ้มกันโรค และ
รอจนกระทั่งสุกรสาวทดแทนมีค่าเลือดอยู่ในระดับที่ปลอดภัย จึงนำ�สุกรสาวทดแทนเข้าฝูงแม่พันธุ์
1.1.3 ทำ�วคั ซนี มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรคระบาดที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่มีประวัติการระบาด ได้แก่
อหิวาต์สุกร ปากและเท้าเปื่อย การทำ�วัคซีนเป็นการฉีดเชื้อไวรัสที่ผ่านการทำ�ให้เชื้ออ่อนแรง (วัคซีนเชื้อเป็น) หรือ
เชื้อที่ถูกทำ�ให้ตายแล้ว (วัคซีนเชื้อตาย) ซึ่งไม่สามารถทำ�ให้เกิดโรคแก่สัตว์ที่ฉีดวัคซีนได้ เพื่อให้สุกรสร้างภูมิต้านทาน
เชื้อโรคที่ฉีดวัคซีน
1.1.4 การสับลูกกรอกและรกจากแม่สุกรท่ีคลอดลูกผสมในอาหารให้สุกรสาวกิน เป็นการกระตุ้นให้
สุกรสาวสร้างภูมิคุ้มกันโรคเหมือนกับการทำ�วัคซีน โรคที่นิยมใช้วิธีนี้ คือ พาร์โวไวรัส ที่ทำ�ให้สุกรแท้งลูก และมีลูก-
กรอกเกิดขึ้น
1.2 การจัดการด้านการผสมพันธุ์ การจัดการก่อนการผสมพันธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งให้สุกรสาวมีความ
สมบูรณ์ และสามารถผสมพันธุ์ได้ เมื่อมีอายุประมาณ 8 เดือน มีนํ้าหนักตัวไม่น้อยกว่า 120 กิโลกรัม และแสดง
อาการเป็นสัดครั้งที่ 2 หรือ 3 ซึ่งมีสิ่งที่ควรปฏิบัติ ดังนี้
ลขิ สิทธิข์ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช