Page 84 - การผลิตสัตว์
P. 84
9-34 การผลิตสัตว์
2.3 การจัดการแม่พันธุ์สุกรคลอดลูกและระยะเลี้ยงลูก โดยทั่วไปแม่สุกรจะมีระยะเวลาอุ้มท้องประมาณ
114–115 วัน การจัดการในระยะนี้เพื่อลดการสูญเสียลูกสุกรและช่วยให้แม่สุกรเกิดความเครียดน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วย
ให้แม่สุกรมีสุขภาพที่สมบูรณ์ในระยะที่เลี้ยงลูก และกลับมาเป็นสัดเร็วเมื่อหย่านม ซึ่งมีการปฏิบัติ ดังนี้
2.3.1 การจัดการดา้ นการสขุ าภบิ าลและการจัดการท่ัวไป
1) ตรวจสุขภาพแม่สุกรในช่วงใกล้คลอด ป้องกันไม่ให้แม่สุกรหอบและมีไข้ (อุณหภูมิของ
ร่างกายมากกว่า 39.5 องศาเซลเซียส) เมื่อแม่สุกรหอบสามารถแก้ไขโดยการอาบนํ้าแม่สุกรหรือการใช้ระบบนํ้าหยด
ลงบนหลังตรงแนวหัวไหล่ของแม่สุกร เพื่อลดความร้อนในร่างกาย ในกรณีที่แม่สุกรมีไข้จะต้องฉีดยาลดไข้ ถ้าแม่
สุกรหอบหรือมีไข้จะทำ�ให้ลูกตายแรกคลอดสูงมาก
2) สังเกตอาการของแม่สุกร เมื่อใกล้คลอด แม่สุกรจะแสดงอาการกระวนกระวาย ไม่อยากกิน
อาหาร กัดหรือดุนพื้นคอก เป็นอาการแสดงการเตรียมสร้างรังส�ำ หรับคลอดลูก เต้านมขยาย หัวนมเต่ง ถ้าบีบที่หัวนม
แล้วมีนํ้านมไหลทุกเต้า แสดงว่าแม่สุกรจะคลอดลูกภายใน 24 ชั่วโมง
3) ในขณะที่แม่สุกรคลอดลูก ผู้เลี้ยงควรจะต้องอยู่เฝ้าอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยเช็ดเอาเมือกออก
จากตัวลูกที่คลอดออกมา เพราะบางครั้งนํ้าเมือกจะขัดขวางการหายใจของลูก ทำ�ให้ลูกตายได้ หรือถ้าแม่สุกรไม่
สามารถคลอดลูกได้ตามปกติ ผู้เลี้ยงจะต้องล้วงช่วยคลอดลูกออกมา ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดการตายทั้งแม่และลูกได้
โดยปกติในการคลอด ก่อนที่ลูกสุกรจะเคลื่อนตัวออกมาจากช่องคลอด จะเห็นเมือกไหลออก
มา และมีนํ้าครํ่าไหลตามออกมา หลังจากนั้นลูกสุกรจึงจะคลอดออกมา โดยปกติลูกสุกรจะคลอดตามกันออกมาใน
ระยะห่างกันประมาณ 5-30 นาที ถ้าหากลูกสุกรคลอดห่างกันนานกว่า 20 นาที แต่แม่สุกรยังมีอาการเบ่งคลอดลูก
อยู่ ลูกจะมีโอกาสรอดชีวิตน้อยลง ผู้เลี้ยงจะต้องทำ�การล้วงเอาลูกสุกรออกมา ระยะเวลาการคลอดทั้งหมดไม่ควร
ใช้เวลาเกิน 3 ชั่วโมง ถ้าการคลอดใช้เวลานานมาก จะทำ�ให้ลูกสุกรมีโอกาสตายแรกคลอดสูง หลังจากนั้นรกจะออก
มาภายใน 4 ชั่วโมง
การล้วงช่วยคลอดจะกระทำ�เมื่อแม่สุกรไม่สามารถคลอดลูกได้ตามปกติ จะกระทำ�ในกรณีที่มี
ความจำ�เป็นเท่านั้น เพราะถ้าล้วงช่วยคลอดไม่ถูกต้อง อาจเกิดผลเสียต่อแม่สุกรได้ เช่น มดลูกอักเสบ มดลูกทะลัก
เป็นต้น ซึ่งอาจทำ�ให้ต้องคัดแม่สุกรทิ้งได้ ก่อนการล้วงช่วยคลอดจะต้องล้างท�ำ ความสะอาดช่องคลอดของแม่สุกรให้
สะอาด ชโลมด้วยสารหล่อลื่น เช่น วาสลีน นํ้ามันพืช เป็นต้น เพื่อลดการระคายเคืองของช่องคลอดของแม่สุกร และ
ช่วยให้ล้วงได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นทำ�การล้วงเข้าไปในช่องคลอดจนเจอลูกที่ติดค้างอยู่ ใช้นิ้วล็อกที่บริเวณขาหน้า หรือ
จมูกของลูกสุกร ออกแรงดึงลูกในจังหวะที่แม่สุกรเบ่ง เพื่อป้องกันการเกิดมดลูกทะลัก
4) เมื่อลูกสุกรคลอดออกมา ผู้เลี้ยงจะต้องใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในปากลูกสุกรเพื่อล้วงเอานํ้าครํ่า
ออก แล้วเขย่าตัวลูกสุกรเบาๆ เพื่อกระตุ้นการหายใจ และใช้ผ้าแห้งสะอาดเช็ดเมือกออกจากตัว จากนั้นจะใช้ด้ายที่
ไม่ขาดง่าย ผูกสายสะดือแล้วตัดสายสะดือใต้ตำ�แหน่งที่ผูกด้ายไว้ ทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนที่ตำ�แหน่งที่ตัดสายสะดือ
ตัดเขี้ยวด้วยคีมตัดเขี้ยวที่คมแต่ต้องระวังไม่ให้เขี้ยวแตก เพื่อลดการกัดหัวนมของแม่ หลังจากนั้นรีบช่วยประคอง
ให้ลูกสุกรได้ดูดนํ้านมเหลืองซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกให้ได้โดยเร็วที่สุด เนื่องจากนํ้านมเหลืองจะ
เปลี่ยนเป็นนํ้านมธรรมดาภายใน 36 ชั่วโมง
5) แม่สุกรหลังจากคลอดลูกหมด ผู้เลี้ยงควรฉีดยาปฏิชีวนะให้กับแม่สุกร เพื่อป้องกันการเกิด
มดลูกอักเสบ โดยสังเกตว่าถ้ามีหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ แสดงว่าแม่สุกรเป็นมดลูกอักเสบ อาจจะต้องท�ำ การ
ล้างมดลูก ร่วมกับการฉีดยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน
6) ตรวจสุขภาพแม่สุกรหลังคลอด เพื่อการป้องกันไม่ให้แม่สุกรเป็นไข้ เพราะจะท�ำ ให้นํ้านมแห้ง
ซึ่งจะทำ�ให้ลูกสุกรตายได้ ถ้าพบว่าแม่สุกรมีไข้ต้องรีบฉีดยาลดไข้ทันที
ลขิ สิทธ์ขิ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช