Page 83 - การผลิตสัตว์
P. 83
การผลิตสุกร 9-33
ล้มเหลว อกี ทั้งการใหอ้ าหารมากหลงั ผสมพันธุจ์ ะท�ำ ใหน้ ํ้าหนักตัวสุกรเพิ่มขึ้น เพิ่มการไหลเวียนของเลอื ดในตบั มีการ
ทำ�ลายฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมากขึ้น ซึ่งทำ�ให้การตั้งท้องล้มเหลวได้
2) แม่สุกรที่อุ้มท้องเกิน 30 วัน จะเพิ่มปริมาณอาหารที่ให้แม่สุกรทีละน้อย โดยสังเกตจากสภาพ
ของตัวแม่สุกร ต้องระวังอย่าให้อาหารมากจนแม่สุกรอ้วน จะมีผลต่อขนาดของครอก จนกระทั่งอายุการตั้งท้องที่ 84
วัน ตัวอ่อนในท้องจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมาก จะต้องเพิ่มปริมาณอาหารที่ให้แก่สุกรสาวและแม่สุกร เพื่อให้
เพียงพอต่อความต้องการของลูกในท้อง โดยอาจให้อาหารประมาณวันละ 2.5-3.5 กิโลกรัม/ตัว/วัน
นํ้าหนัก (กรัม)
1,200
1,000
จำ�นวนวันของการตั้งท้อง
ภาพท่ี 9.23 กราฟแสดงการเจริญเติบโตของตวั อ่อนในท้องแม่สกุ ร
จากภาพที่ 9.23 พบว่า การเจริญเติบโตของลูกสุกรจะเร็วมากหลังจากแม่สุกรอุ้มท้องตั้งแต่ 84
วันขึ้นไป ซึ่งการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในท้องจะได้รับผลจากอาหารที่ให้แม่สุกรกินเท่านั้น การเพิ่มปริมาณอาหาร
ให้แม่สุกรในช่วงต้นของระยะการอุ้มท้อง (ก่อน 84 วัน) ถ้าให้อาหารมากเกินไปแม่สุกรจะอ้วนอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้
ในช่วงท้ายของการตั้งท้อง ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องการอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในท้อง ไม่เพียงพอกับความ
ต้องการ เนื่องจากถ้าให้อาหารมากในขณะที่แม่สุกรอ้วนจะท�ำ ให้การคลอดยาก จึงต้องควบคุมปริมาณอาหารที่ให้
แม่สุกรกิน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับแม่สุกรที่อ้วนเร็วเนื่องการให้ปริมาณอาหารที่ไม่ถูกต้อง จะมีผลทำ�ให้ลูกสุกรคลอด
ออกมามีขนาดแตกต่างกันมากในครอกเดียว ลูกสุกรตัวเล็กจะอ่อนแอ เป็นโรคง่าย ซึ่งจะมีผลต่อการจัดการแม่ใน
ระยะเลี้ยงลูกต่อไป
3) ก่อนคลอด 1 สัปดาห์ ให้ลดปริมาณอาหารที่ให้ลงทีละน้อย จนเหลือประมาณตัวละ 1.5
กิโลกรัม/ตัว/วัน ในวันที่ใกล้คลอด แต่เพิ่มอาหารที่มีเยื่อใย เช่น รำ� ลงไปในอาหาร เพื่อป้องกันการเกิดท้องผูกซึ่ง
จะทำ�ให้คลอดยาก และทำ�ให้ลูกตายแรกคลอดสูง
4) อาหารที่ให้กับแม่สุกรในระยะนี้ จะใช้ระดับโภชนะเดียวกับสุกรสาวทดแทน คือ มีปริมาณ
โปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ และมีพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ (ME) 3,100–3,200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร
ลิขสิทธข์ิ องมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช