Page 87 - การผลิตสัตว์
P. 87
หลักร้อย หลักพัน 5 การผลิตสุกร 9-37
193 32
391 2
3 3 6 9
9 9
หลักสิบ 1 1 หลักหน่วย
ภาพที่ 9.24 วธิ กี ารตัดเบอร์หู (ซ้าย) และการตัดเบอร์หหู มายเลข 2569 (ขวา)
1.4 ตดั หางลกู สกุ ร เพือ่ ลดการกดั หางกนั เนือ่ งจากถา้ ลกู สกุ รทีเ่ ลีย้ งหนาแนน่ จะเกดิ ความเครยี ด ท�ำ ใหม้ กี าร
กัดหางกัน ซึ่งจะทำ�ให้เกิดแผลติดเชื้อบริเวณหาง ทำ�ให้สุกรป่วยได้ การตัดหางจะไม่ตัดจนสั้นเกินไป เพราะจะทำ�ให้
เลือดออกมาก และเลือดหยุดยาก ลูกสุกรจะป่วยได้ การตัดหางจะตัดส่วนปลายของหาง โดยแบ่งความยาวของหาง
ออกเป็น 3 ส่วน และตัดส่วนปลายออก 1 ส่วน ทั้งนี้เพราะหางสุกรจะมีเส้นประสาทอยู่ แต่เส้นประสาทจะมีความยาว
แค่ประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของความยาวหาง ทำ�ให้ปลายหางเมื่อโดนกัดจะไม่รู้สึกเจ็บ แต่จะมีเลือดออก การตัดปลาย
หางจะช่วยลูกสุกรที่เริ่มโดนกัดหางจะรู้สึกเจ็บหาง และหนี ทำ�ให้ลดการกัดหางได้
1.5 จดั จำ�นวนลกู สกุ รใหเ้ หมาะสมกบั จำ�นวนเตา้ นมของแมส่ กุ ร ลกู สกุ รตวั ทีเ่ กนิ จำ�นวนของเตา้ นม จะทำ�การ
ย้ายฝากให้แม่สุกรตัวอื่นที่คลอดในเวลาใกล้เคียงกันและมีจำ�นวนลูกน้อยกว่าจำ�นวนเต้านมช่วยเลี้ยง ซึ่งการย้ายฝาก
นี้จะต้องให้ลูกสุกรได้กินนํ้านมเหลืองจากแม่ตัวเองก่อนทำ�การย้ายฝาก และจะต้องทำ�ก่อนที่ลูกจะมีอายุได้ 3 วัน
1.6 เมื่อลูกสุกรมีอายุ 7 วัน ฝึกให้เริ่มกินอาหารข้น โดยให้กินทีละน้อย เพื่อเตรียมพร้อมสำ�หรับการหย่านม
อาหารที่ให้ลูกสุกรระยะนี้กิน จะเป็นอาหารที่มีความน่ากินสูง บดละเอียดเพื่อให้ย่อยง่าย มีโภชนะสูง ระดับโปรตีน
22-25 เปอร์เซ็นต์ พลังงาน 3,500 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร เยื่อใยไม่เกินร้อยละ 1.50
1.7 ลูกสุกรเพศผู้ที่ไม่คัดเพื่อเลี้ยงเป็นพ่อพันธุ์ จะทำ�การตอนเอาอัณฑะออกเมื่ออายุประมาณ 7 วัน เพื่อ
ลดกลิ่นในเนื้อเมื่อโตเต็มที่ ซึ่งกลิ่นที่เกิดขึ้นผู้บริโภคไม่นิยมเนื่องจากมีกลิ่นเหม็น และจะถูกคัดเป็นสุกรขุนหลังจาก
หย่านมต่อไป
2. การจดั การลูกสกุ รหลังหยา่ นม
ภายหลังที่แยกแม่สุกรออกจากลูกแล้ว ลูกสุกรจะเริ่มมีความเครียดเกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอาหาร ซึ่งใน
ระหว่างที่อยู่กับแม่ ลูกสุกรได้รับนํ้านมเป็นหลัก เมื่อหย่านมอาหารที่ลูกสุกรได้รับ คือ อาหารข้น เพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ลูกสุกรยังต้องถูกย้ายไปอยู่ในคอกใหม่ ซึ่งจะท�ำ ให้ลูกสุกรเกิดความเครียดได้ เพื่อลดความสูญเสียที่จะ
เกิดกับลูกสุกร ควรปฏิบัติดังนี้
2.1 ก่อนเคลื่อนย้ายลูกสุกรเข้ามาในคอกใหม่ จะต้องทำ�ความสะอาดคอกและอุปกรณ์จนสะอาด พ่นด้วย
นํ้ายาฆ่าเชื้อโรค และทิ้งไว้ให้แห้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนย้ายลูกสุกร
2.2 เตรียมอุปกรณ์ให้ความอบอุ่น นํ้า และอาหาร ให้พร้อมก่อนย้ายลูกสุกร
2.3 ชั่งนํ้าหนักตัวและจัดกลุ่มลูกสุกรตามนํ้าหนักตัว ให้มีขนาดลูกสุกรที่ใกล้เคียงกันในคอกเดียวกัน
2.4 ตรวจสอบสุขภาพของลูกสุกร ถ้าลูกสุกรแสดงอาการป่วยให้รีบทำ�การรักษา
ลขิ สทิ ธิ์ของมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช