Page 89 - การผลิตสัตว์
P. 89
การผลิตสุกร 9-39
ตัว 80–100 กิโลกรัม) เพื่อเป็นการควบคุมลักษณะซาก ถ้าให้อาหารมากเกินไป สุกรจะเปลี่ยนเป็นไขมันมาก ท�ำ ให้ได้
ซากที่ไม่ดี อาหารที่ให้สุกรในระยะนี้จะมีโปรตีน 14 เปอร์เซ็นต์ พลังงาน 3,040 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร
3.9 การเปลี่ยนอาหารในสุกรขุน จะเป็นการให้ตามช่วงระยะของสุกร ซึ่งมีอาหารต่างสูตรกัน ทำ�ให้ต้องมีการ
เปลี่ยนสูตรอาหารที่กินหลายครั้ง ในบางครั้งสุกรอาจเกิดอาการท้องเสียเมื่อเปลี่ยนสูตรอาหาร เนื่องจากสุกรบางตัว
จะมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงสูตรอาหาร เพื่อลดความผิดปกติดังกล่าว การเปลี่ยนสูตรอาหารที่ให้สุกร จะใช้การ
ผสมอาหารสูตรใหม่กับอาหารสูตรเดิมในช่วงแรกของการเปลี่ยนอาหาร เพื่อให้สุกรได้มีการปรับตัวก่อนในช่วงระยะ
เวลาหนึ่ง จึงเปลี่ยนเป็นอาหารสูตรใหม่ทั้งหมด
3.10 การวัดประสิทธิภาพการเลี้ยงสุกรขุน จะพิจารณาอัตราการสูญเสีย ตั้งแต่ลงขุนจนถึงส่งตลาด ควรมี
ค่าไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์
ในปัจจุบันการเลี้ยงสุกรขุนได้มีการเสนอวิธีเลี้ยงสุกรแบบแยกเพศ โดยพบว่า สุกรเพศผู้ตอนและสุกรเพศ
เมียมีการเจริญเติบโต มีความต้องการโภชนะในอาหาร และมีคุณภาพซากที่แตกต่างกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพการ
เลี้ยงสูงที่สุด จึงมีการเสนอวิธีการเลี้ยงแบบแยกเพศ และให้อาหารทั้งปริมาณและโภชนะตามเพศที่เลี้ยง แต่พบว่า
ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากมีความยุ่งยากมาก และจากการเลี้ยงสุกรขุนของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ
พบว่า สัดส่วนของสุกรขุนเพศผู้ต่อสุกรขุนเพศเมียที่เหมาะสม เท่ากับร้อยละ 30-40 ต่อ 60-70 เนื่องจากสุกรเพศผู้
มีความอยากกินอาหารบ่อยครั้ง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้สุกรเพศเมียเกิดความอยากกินอาหารตามไปด้วย เมื่อสุกรกิน
อาหารได้มากก็จะทำ�ให้มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นไปด้วย
กิจกรรม 9.2.4
จงกาเครื่องหมาย ✓ หนา้ ข้อท่เี ห็นวา่ ถูก และ ✗ หนา้ ขอ้ ท่ีเหน็ ว่าผิด
1. การฉดี ธาตเุ หล็กใหแ้ ก่ลูกสกุ รเพอ่ื ปอ้ งกันโรคโลหิตจาง
2. เมื่อลูกสุกรมีอายุ 7 วัน ฝึกให้เริ่มกินอาหารข้น โดยให้ทีละน้อย เพื่อเตรียมพร้อมสำ�หรับการ
หยา่ นม
3. การย้ายฝากลูกสุกรสามารถย้ายลูกสุกรได้ทันที ไม่ควรให้ลูกสุกรได้รับนํ้านมเหลืองจากแม่เดิม
เพราะจะท�ำ ใหล้ ูกจำ�แมเ่ ดิมได้ ลกู เกิดความเครียด ท�ำ ให้ป่วยง่าย
4. การหยา่ นมลกู สุกร จะตอ้ งจดั ให้ลกู สุกรมขี นาดใกล้เคยี งกันอยคู่ อกเดียวกนั
5. การตดั หางลกู สกุ ร เพอ่ื ลดการกดั หางกนั สาเหตเุ กดิ จากความเครยี ดทเ่ี ลย้ี งหนาแนน่ จะท�ำ ใหเ้ กดิ
แผลตดิ เชื้อบรเิ วณหาง สุกรป่วยได้ การตดั หางจะตดั สว่ นปลายของหางออก 1 ส่วน
6. การฝกึ ใหล้ กู สกุ รเรม่ิ กนิ อาหารขน้ เพอ่ื เตรยี มพรอ้ มสำ�หรบั การหยา่ นมโดยจะใหอ้ าหารทลี ะนอ้ ย
ควรจะเริ่มฝึกลูกสุกรเม่อื ใกล้หยา่ นม เนอ่ื งจากลูกสุกรมีความแขง็ แรง ไม่ป่วยง่าย
7. ลกู สกุ รเพศผทู้ เี่ ลย้ี งเปน็ สกุ รขนุ จะท�ำ การตอนเอาอณั ฑะออกเมอื่ อายปุ ระมาณ 7 วนั เพอ่ื ลดกลนิ่
ในเน้อื เม่ือโตเตม็ ที่
8. การเลย้ี งสกุ รขนุ มเี ปา้ หมายทจ่ี ะใหส้ กุ รทเ่ี ลยี้ งไดน้ า้ํ หนกั ทตี่ ลาดตอ้ งการใหเ้ รว็ ทสี่ ดุ และไดค้ ณุ ภาพ
ซากที่ดดี ้วย
9. การให้อาหารสุกรขนุ มี 2 วธิ ี คือ การให้กินเป็นเวลา ใช้กบั สกุ รเล็กเพือ่ กระต้นุ ให้สกุ รกนิ อาหาร
ดีขน้ึ และการใหก้ ินตลอดเวลา ใช้กับสุกรขุนก่อนสง่ ตลาด เพ่อื เร่งการเจรญิ เติบโต
10. โดยท่ัวไปสกุ รขนุ จะมีอายุเมอื่ สง่ ตลาดไมค่ วรเกนิ 30 สัปดาห์
ลิขสิทธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช