Page 86 - การผลิตสัตว์
P. 86
9-36 การผลิตสัตว์
9. ในชว่ ง 1 สปั ดาห์ กอ่ นแมส่ กุ รคลอด ตอ้ งเพม่ิ อาหารทม่ี เี ยอื่ ใย เชน่ รำ� ลงไปในอาหาร เพอ่ื ปอ้ งกนั
การเกิดท้องผูกซึง่ จะทำ�ใหค้ ลอดยาก ทำ�ใหล้ กู ตายแรกคลอดสงู
10. ในขณะท่ีแม่สุกรคลอดลูก ผู้เล้ียงควรจะต้องอยู่เฝ้าอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยเช็ดเอาเมือกออกจากตัว
ลูกที่คลอดออกมา เพราะบางครั้งนํ้าเมือกจะขัดขวางการหายใจของลูก ท�ำ ให้ลูกตายได้ หรือถ้า
แม่สุกรไม่สามารถคลอดลูกได้ตามปกติ ผู้เลี้ยงจะต้องล้วงช่วยคลอดลูกออกมา ไม่เช่นน้ันอาจจะ
เกดิ การตายทั้งแมแ่ ละลูกได้
แนวตอบกิจกรรม 9.2.3
1. ✓
2. ✓
3. ✗
4. ✓
5. ✓
6. ✗
7. ✓
8. ✗
9. ✓
10. ✓
เรื่องท่ี 9.2.4
การเล้ยี งลกู สุกรถงึ ระยะสกุ รขนุ
การจัดการลูกสุกร สามารถแบ่งการจัดการตามช่วงอายุของลูกสุกรได้ ดังนี้
1. การจดั การลูกสกุ รหลงั คลอดจนถงึ หยา่ นม
ในช่วงหลังคลอดถึงหย่านม การสูญเสียลูกสุกรส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด ทั้งนี้ขึ้น
อยู่กับการจัดการ ดังนั้น การดูแลลูกสุกรในระยะนี้เพื่อลดการสูญเสียลูกสุกรก่อนที่จะหย่านม มีการปฏิบัติ ดังนี้
1.1 จัดหาไฟกก เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุกรที่คลอดใหม่ ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมสำ�หรับลูกสุกรคลอดใหม่
ประมาณ 32-36 องศาเซลเซียส
1.2 เมื่อลูกสุกรมีอายุ 2 วัน ให้ฉีดธาตุเหล็ก เพื่อป้องกันลูกสุกรเกิดปัญหาโลหิตจาง เนื่องจากนํ้านมแม่สุกร
มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก
1.3 ทำ�สัญลักษณ์ให้กับลูกสุกรเมื่ออายุ 1-3 วัน เพื่อทำ�การบันทึกประวัติของลูกสุกร ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การ
ตัดเบอร์หู (ภาพที่ 9.24) การติดเบอร์หู การสักเบอร์หู เป็นต้น
ลิขสิทธขิ์ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช