Page 82 - การผลิตสัตว์
P. 82
9-32 การผลิตสัตว์
5) ก่อนคลอด 1 สัปดาห์ ย้ายแม่สุกรไปเลี้ยงในคอกคลอด เพื่อเตรียมให้สุกรสาว และแม่สุกร
คุ้นเคยกับคอกคลอด เพื่อลดความเครียดที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการคลอดของสุกรสาวและแม่สุกรได้ นอกจาก
นี้ คอกคลอดยังเป็นคอกที่ถูกออกแบบมาให้มีท่อนเหล็กกั้นกรงแยกพื้นที่ของลูกออกจากพื้นที่ของแม่เพื่อป้องกัน
การสูญเสียของลูกที่คลอดใหม่ เนื่องจากการถูกแม่สุกรทับตาย เพราะในขณะที่แม่สุกรจะนั่งหรือนอนลง ท่อนเหล็ก
จะบังคับให้แม่สุกรนั่งหรือนอนลงในทางตรงอย่างช้าๆ เพื่อให้ลูกสุกรสามารถหลบออกไปด้านข้างได้ทัน จึงไม่ถูกแม่
สุกรทับ
ภาพท่ี 9.22 คอกคลอดสุกร
2.2.2 การจัดการดา้ นการผสมพันธุ์
1) ตรวจสอบการเป็นสัดของแม่สุกรในวันที่ 18 ถึง 23 วันหลังผสมพันธุ์ ถ้าพบแม่สุกรที่กลับ
มาเป็นสัด แสดงว่าการผสมล้มเหลว จะต้องย้ายสุกรสาวและแม่สุกรตัวนั้นกลับไปคอกผสมพันธุ์ เพื่อกระตุ้นให้เป็น
สัดและทำ�การผสมพันธุ์อีกรอบ โดยทั่วไปจะยอมรับให้สุกรสาวและแม่สุกรกลับสัดและผสมพันธุ์ซํ้าได้ไม่เกิน 3 รอบ
เนือ่ งจากทกุ รอบทีม่ กี ารผสมซํา้ ใหม่ แมพ่ นั ธุจ์ ะมเี ปอรเ์ ซน็ ตก์ ารผสมตดิ ลดลง ถา้ ผสมพนั ธุไ์ มส่ �ำ เรจ็ ภายในครัง้ ที่ 3 จะ
ทำ�การคัดทิ้งสุกรสาวและแม่สุกรตัวนั้นออกจากฝูง ในบางครั้งแม่สุกรอาจไม่แสดงอาการเป็นสัดในวันที่ 18–23 หลัง
ผสม เพื่อให้แน่ใจว่าแม่สุกรตัวนั้นตั้งท้อง อาจจะต้องตรวจเช็คการเป็นสัดอีกรอบในวันที่ 40-43 หลังผสมพันธุ์ (เป็น
สัดรอบที่ 2) ถ้าพบสุกรสาวและแม่สุกรที่กลับมาเป็นสัด แสดงว่าการผสมล้มเหลว จะต้องย้ายแม่สุกรตัวนั้นกลับไป
ผสมพันธุ์
2) ตรวจการตั้งท้องด้วยเครื่องมือตรวจการตั้งท้อง คือ เครื่องเรียลไทม์อัลตร้าซาวด์ ในวันที่
35 หลังการผสมพันธุ์ ถ้าพบสุกรสาวและแม่สุกรที่ไม่ท้อง แสดงว่าการผสมล้มเหลว ให้ย้ายสุกรสาวและแม่สุกรตัว
นั้นกลับไปผสมพันธุ์อีกครั้ง
2.2.3 การจดั การด้านอาหาร
1) ในช่วง 30 วันแรกหลังการผสม ควรให้อาหารในปริมาณที่คงที่ (ประมาณ 2.0 กิโลกรัม/ตัว/
วัน) เพราะอาหารอาจมีผลต่อความร้อนที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งจะมีผลต่อตัวอ่อนทำ�ให้ตัวอ่อนตาย และการผสมพันธุ์
ลขิ สทิ ธขิ์ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช