Page 80 - การผลิตสัตว์
P. 80

9-30 การผลิตสัตว์

            1.2.1 	ขงั สกุ รสาวรวมกนั ไวใ้ นคอก เพื่อช่วยกระตุ้นให้แสดงอาการเป็นสัดได้ดีขึ้น แต่จะไม่ขังสุกรสาว
รวมกันจนหนาแน่นมากเกินไป (ไม่ควรขังเกินคอกละ 5 ถึง 8 ตัว) เพราะอาจเกิดปัญหาการกัดกันจนเกิดการ
บาดเจ็บได้

            1.2.2 	จดบนั ทกึ วนั ทสี่ กุ รสาวเปน็ สดั เนื่องจากสุกรสาวจะกลับมาเป็นสัดครั้งต่อไปหลังจากเป็นสัดครั้ง
แรกประมาณ 18 ถึง 23 วัน เรียกว่า เป็นสัดตรงรอบ ทำ�ให้สามารถทำ�นายวันที่จะเป็นสัดครั้งต่อไปล่วงหน้าได้

            1.2.3 	กระตนุ้ ใหส้ กุ รสาวเปน็ สดั โดยให้พ่อสุกรเดินผ่านหรือปล่อยไว้หน้าคอกทุกวัน ครั้งละประมาณ
15 ถึง 30 นาที เนื่องจากพบว่าพ่อสุกรจะช่วยกระตุ้นให้สุกรสาวเป็นสัดดีขึ้น และเร็วขึ้นด้วย

       1.3 	การจัดการด้านอาหาร สุกรสาวจะต้องได้รับอาหารที่ดี เพื่อกระตุ้นให้มีการตกไข่ และแสดงอาการเป็น
สัดชัดเจน โดยเฉพาะการเพิ่มปริมาณอาหารที่ให้ก่อนที่จะเป็นสัด 10 ถึง 14 วัน เรียกว่า “การปรนอาหาร” โดยให้
อาหารประมาณ 3 กิโลกรัม/ตัว/วัน จะช่วยกระตุ้นให้มีการตกไข่มากขึ้น และสุกรสาวจะแสดงอาการเป็นสัดดีขึ้น แต่
ถ้าสุกรสาวในกลุ่มนี้ไม่แสดงอาการเป็นสัดหลังจากที่สุกรตัวอื่นเป็นสัดแล้ว จะต้องลดปริมาณอาหารที่ให้ลงเหลือวัน
ละประมาณ 2 กิโลกรัม/ตัว ร่วมกับการกระตุ้นการเป็นสัดโดยใช้พ่อสุกรร่วมกระตุ้น อาหารสำ�หรับสุกรสาวทดแทน
ควรมีปริมาณโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ และมีพลังงานใช้ประโยชน์ 3,100-3,200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร

       หลังจากที่สุกรสาวได้รับการผสมพันธุ์แล้ว จะมีการจัดการเช่นเดียวกับแม่พันธุ์สุกร

2. 	การจัดการแม่พันธส์ุ กุ ร

       การจัดการแม่พันธุ์สุกร จะแบ่งตามประเภทของแม่พันธุ์สุกร ได้ดังนี้
       2.1 	การจดั การแม่พนั ธุ์สกุ รท้องวา่ ง แม่สุกรท้องว่าง หมายถึง สุกรเพศเมียที่ผ่านการคลอดลูก รวมถึงแม่
สุกรที่หย่านมลูกออกไปแล้วหลังจากที่แม่สุกรคลอดและเลี้ยงลูกหลังจากคลอดประมาณ 21 ถึง 28 วัน การจัดการ
แม่สุกรในระยะนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แม่สุกรแสดงอาการเป็นสัด สามารถผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกสุกรต่อไป ซึ่งมีการ
ปฏิบัติในการจัดการดูแล ดังนี้

            2.1.1 	การจดั การดา้ นการสขุ าภบิ าลและการจดั การทวั่ ไป การจัดการในส่วนนี้ จะมีไม่มากนัก เนื่องจาก
เป็นช่วงระยะเวลาสั้น โดยจะเน้นในเรื่องการทำ�ความสะอาดแม่สุกร และตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น การ
เกิดบาดแผล มดลูกอักเสบ เป็นต้น เพื่อเตรียมการผสมพันธุ์ต่อไป

            2.1.2 	การจัดการด้านการผสมพันธุ์ จะเน้นการกระตุ้นให้แม่สุกรเป็นสัดหลังจากหย่านมภายใน 5 ถึง
7 วันหลังจากหย่านม โดยขังรวมกับแม่สุกรหย่านมตัวอื่น และใช้การกระตุ้นด้วยพ่อสุกร

            2.1.3 	การจดั การด้านอาหาร มีดังนี้
                1) 	ก่อนหย่านม 2 วันให้ลดอาหารแม่สุกรลง
                2) 	วันที่หย่านมให้งดอาหารแม่สุกร แต่ให้กินนํ้าได้เต็มที่ เพื่อลดการสร้างนํ้านมของแม่สุกร

ป้องกันการเกิดเต้านมอักเสบ และแม่สุกรป่วยหลังหย่านม ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงการเป็นสัดหลังจากหย่านมได้
เนื่องจากในช่วงที่แม่สุกรเลี้ยงลูกนั้น ผู้เลี้ยงจะให้อาหารแม่สุกรในปริมาณมาก เพื่อให้สามารถผลิตนํ้านมเลี้ยงลูกได้
และสภาพร่างกายของแม่สุกรไม่ทรุดโทรม ปริมาณอาหารที่แม่สุกรได้รับอาจถึงวันละ 3.0–7.0 กิโลกรัมต่อตัว ซึ่งถ้า
ลดอาหารในวันหย่านมเลยทันที จะทำ�ให้แม่สุกรเกิดความเครียดมาก อาจทำ�ให้แม่สุกรป่วยได้ จึงต้องมีการเตรียม
ตัวแม่สุกรก่อนหย่านม โดยจะลดปริมาณอาหารลงทีละน้อยในวันที่ใกล้หย่านม จนสามารถงดอาหารที่ให้แม่สุกรใน
วันหย่านม โดยแม่สุกรเกิดความเครียดเล็กน้อย

                3) 	วันต่อมาให้ปรนอาหารให้แก่แม่สุกรหลังหย่านมจนกว่าแม่สุกรจะเป็นสัด เพื่อให้กลับมาเป็น
สัดเร็ว และมีไข่ตกจำ�นวนมาก อาหารที่ให้กับแม่สุกรท้องว่างจะใช้ระดับโภชนะเดียวกันกับสุกรสาวทดแทน (ปริมาณ
โปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ และมีพลังงาน 3,100–3,200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร)

                             ลิขสิทธิข์ องมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85