Page 85 - การผลิตสัตว์
P. 85
การผลิตสุกร 9-35
7) ทำ�วัคซีนป้องกันโรคตามโปรแกรมของฟาร์ม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับแม่สุกรสำ�หรับ
การตั้งท้องในครั้งต่อไป โดยจะทำ�ในสัปดาห์สุดท้ายของการเลี้ยงลูก โรคที่สำ�คัญได้แก่ โรคอหิวาต์สุกร และโรคปาก
และเท้าเปื่อย
2.3.2 การจัดการด้านการผสมพันธ์ุ แม่สุกรในระยะนี้จะไม่มีการผสมพันธุ์ เนื่องจากระบบฮอร์โมนที่
เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์ไข่และการเป็นสัดถูกกดไม่ให้ทำ�งาน เพื่อให้แม่สุกรพัฒนาระบบการสร้างนํ้านมเพื่อเลี้ยง
ลูกเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงไม่มีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น
2.3.3 การจัดการดา้ นอาหาร
1) ในวันที่แม่สุกรแสดงอาการว่าจะคลอด ให้งดอาหารแต่ให้แม่สุกรได้ดื่มนํ้าเต็มที่ เพื่อป้องกัน
ปัญหาแม่สุกรท้องผูก ทำ�ให้เกิดการคลอดยาก เนื่องจากมูลที่อยู่ในลำ�ไส้ตรงจะบีบให้ช่องคลอดมีขนาดเล็กลง
2) การให้อาหารแม่สุกรหลังคลอด ในระยะ 1-5 วันแรกหลังคลอด จะให้ประมาณ 1-4.5
กิโลกรัม/ตัว/วัน หลังจากวันที่ 5 จะให้อาหารเต็มที่โดยดูจากจำ�นวนลูก โดยปริมาณอาหารที่ให้แม่เลี้ยงลูกในแต่ละ
วัน เท่ากับ
ปริมาณอาหารที่ให้แม่เลี้ยงลูกในแต่ละวัน = จำ�นวนลูก (ตัว) +2
2
เช่น ถ้าแม่สุกรเลี้ยงลูก 8 ตัว อาหารที่ให้แม่จะเท่ากับ (8/2) + 2 = 6.0 กิโลกรัม/วัน
3) อาหารทีใ่ หก้ บั แมส่ กุ รเลีย้ งลกู ควรมปี รมิ าณโปรตนี 18 เปอรเ์ ซน็ ต์ และมพี ลงั งานใชป้ ระโยชน์
(ME) 3,200–3,250 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร
กจิ กรรม 9.2.3
จงกาเคร่อื งหมาย ✓ หน้าข้อท่เี หน็ วา่ ถกู และ ✗ หน้าขอ้ ทเ่ี ห็นว่าผิด
1. การกกั โรคมวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื ปอ้ งกนั โรคระบาดทจี่ ะแพรก่ ระจายจากสกุ รสาวทนี่ ำ�เขา้ ฝงู แมพ่ นั ธุ์
2. สกุ รสาวทดแทนจะไดร้ บั การผสมพนั ธเุ์ มอ่ื อายุ 8 เดอื น มนี า้ํ หนกั ตวั ไมน่ อ้ ยกวา่ 120 กโิ ลกรมั และ
แสดงการเป็นสัดคร้งั ที่ 2-3
3. แม่สุกรหย่านม จะต้องกระตุ้นให้เป็นสัดและผสมพันธ์ุหลังจากหย่านมไปแล้ว ประมาณ 10 วัน
เพอ่ื ใหม้ ดลูกมคี วามสมบรู ณ์ จะเพม่ิ อัตราการผสมตดิ ใหด้ ขี น้ึ
4. การปรนอาหาร คอื การเพมิ่ ปรมิ าณอาหารทใี่ หแ้ กแ่ มส่ กุ ร เพอ่ื เพมิ่ จ�ำ นวนไขข่ องแมส่ กุ รและท�ำ ให้
การแสดงอาการเป็นสดั ของแมส่ กุ รดีขน้ึ
5. สกุ รทดแทนและแมส่ กุ รทไี่ ดร้ บั การผสมพนั ธแ์ุ ลว้ จะตอ้ งตรวจเชค็ การกลบั สดั ท่ี 21 วนั หลงั ผสม
และตรวจท้องที่ 35 วันหลังผสม แมส่ ุกรทก่ี ลบั สัดหรือไม่ตง้ั ทอ้ งให้น�ำ กลับไปผสมพันธุ์
6. แม่สุกรที่หย่านมควรผสมพันธุ์เม่ือเป็นสัดคร้ังแรกเลย เพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพการผสมติด ถึงแม้
แมส่ กุ รจะซูบผอมมากกส็ ามารถผสมพันธ์ุได้
7. ในช่วงที่แม่สุกรตั้งท้อง ไม่ควรท�ำ วัคซีน โดยเฉพาะในช่วง 30 วันแรกหลังจากผสมพันธ์ุ เพราะ
อาจท�ำ ใหแ้ ม่สุกรแทง้ ได้
8. ควรย้ายแมส่ กุ รใกลค้ ลอดไปเลีย้ งในคอกคลอด ก่อนคลอด 2 สัปดาห์ เพ่ือเตรียมให้สุกรสาวและ
แมส่ ุกรคนุ้ เคยกบั คอกคลอด สามารถลดความเครยี ดท่ีจะเกดิ ขน้ึ แกแ่ ม่สุกรได้
ลิขสทิ ธขิ์ องมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช