Page 88 - การผลิตสัตว์
P. 88
9-38 การผลิตสัตว์
2.5 การให้อาหาร ในระยะแรกจะให้เพื่อเป็นการกระตุ้นการกิน ควรจะให้อาหารทีละน้อย แต่ให้บ่อยๆ เพื่อ
ให้อาหารใหม่สดน่ากิน หมั่นทำ�ความสะอาดภาชนะที่ใส่อาหารให้สะอาดอยู่เสมอ
2.6 จัดให้มีนํ้าสะอาดให้ลูกสุกรกินได้ตลอด
2.7 จดบันทึกรายงานการใช้อาหาร จำ�นวนลูกสุกรป่วยและตาย นํ้าหนักเข้าและออกจากคอก เพื่อคำ�นวณ
ประสิทธิภาพการผลิต
2.8 ทำ�วัคซีนตามโปรแกรม เพื่อป้องกันโรค
3. การจดั การสุกรรุ่น-ขุน
ลูกสุกรหลังจากที่เลี้ยงในคอกอนุบาลแล้ว สุกรอนุบาลส่วนหนึ่งที่มีลักษณะดีจะถูกคัดเลือกไว้เป็นสุกรพันธุ์
ส่วนที่เหลือก็จะถูกเลี้ยงเป็นสุกรขุน โดยการเลี้ยงสุกรขุนมีเป้าหมายที่จะให้สุกรที่เลี้ยงได้นํ้าหนักที่ตลาดต้องการ คือ
100 กิโลกรัมให้เร็วที่สุด และได้คุณภาพซากที่ดีด้วย โดยทั่วไปสุกรขุนจะมีอายุเมื่อส่งตลาดไม่ควรเกิน 30 สัปดาห์
การเลี้ยงสุกรระยะนี้ เป็นช่วงที่ผ่านระยะวิกฤตของลูกสุกรมาแล้ว สุกรมีความแข็งแรงมากขึ้น มีความทนทานต่อโรค
ได้มากขึ้น จึงไม่ต้องอาศัยความประณีตและความละเอียดในการเลี้ยงดูมากนัก แต่ยังต้องให้ความสำ�คัญกับปัจจัยที่
เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการผลิต เช่น อัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และมีต้นทุน
การเลี้ยงตํ่า การเลี้ยงสุกรในระยะนี้มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
3.1 ทำ�ความสะอาดโรงเรือนและคอกที่จะเลี้ยงสุกรให้สะอาด พ่นด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อโรคและพักคอกทิ้งไว้
1 สัปดาห์ ก่อนนำ�สุกรเข้ามาเลี้ยง
3.2 เมื่อนำ�สุกรเข้ามา ต้องจัดให้สุกรที่เลี้ยงในแต่ละคอกมีขนาดใกล้เคียงกัน และไม่เลี้ยงจนหนาแน่นมาก
เกินไป โดยปกติสุกรขุน (นํ้าหนักตัว 100 กิโลกรัม) จะใช้ขนาดพื้นที่ต่อตัว เท่ากับ 1.2 -1.5 ตารางเมตร นั่นคือ ถ้า
คอกที่เลี้ยงมีพื้นที่ 12 ตารางเมตรจะเลี้ยงสุกรขุนได้ไม่เกิน 10 ตัว
3.3 เมื่อน�ำ สกุ รเข้ามาในระยะแรกจะมีการกัดกนั จะตอ้ งทำ�การเบี่ยงเบนความสนใจของสุกรเพือ่ ลดการต่อสู้
กัน อาจใช้วัตถุอื่นช่วยเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น กิ่งไม้ที่มีใบ ลูกมะพร้าว ล้อยาง เป็นต้น
3.4 ตรวจสอบความผดิ ปกตทิ ีเ่ กดิ ขึน้ กบั สกุ ร เชน่ สกุ รปว่ ย ทอ้ งเสยี เปน็ ตน้ เมือ่ พบปญั หาตอ้ งรบี ด�ำ เนนิ การ
แก้ไข
3.5 จดบันทึกรายงานการใช้อาหาร จำ�นวนลูกสุกรป่วยและตาย นํ้าหนักเข้าและออกจากคอก เพื่อคำ�นวณ
ประสิทธิภาพการผลิต
3.6 จัดหาอุปกรณ์ที่ให้ความอบอุ่นแก่สุกร เช่น ฟาง กระสอบป่าน เป็นต้น เพื่อลดการสูญเสียจากการเกิด
ท้องเสียเมื่อได้รับอากาศหนาว
3.7 รักษาความสะอาดคอกที่เลี้ยง โดยคอกจะต้องแห้งอยู่เสมอ เพื่อลดปัญหาสุกรป่วย
3.8 วิธีการให้อาหารสุกรขุน มี 2 วิธี คือ
3.8.1 ให้สุกรกินอาหารได้ตลอดเวลา วิธีนี้จำ�เป็นต้องมีรางอาหารอัตโนมัติ โดยผู้เลี้ยงจะใส่อาหารไว้
ในถังตลอดเวลา เมื่อสุกรกินอาหารในถัง อาหารจะไหลลงมา สุกรสามารถเลือกกินอาหารได้ตลอดเวลา การให้อาหาร
วิธีนี้ นิยมใช้ในสุกรเล็กจนถึงนํ้าหนักประมาณ 80 กิโลกรัม เนื่องจากเป็นช่วงที่สุกรมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมาก
จึงต้องการอาหารมากตามไปด้วย ถ้าได้รับอาหารไม่เพียงพอ อาจเกิดการชะงักการเจริญเติบโตได้ อาหารที่ให้สุกรใน
ระยะนี้จะมีโปรตีน 16-18 เปอร์เซ็นต์ และพลังงาน 3,100–3,200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร
3.8.2 ให้อาหารแบบกินเป็นเวลา เป็นการกำ�หนดปริมาณอาหารที่สุกรจะได้รับในแต่ละวัน โดยทั่วไป
จะให้วันละ 2 เวลา คือ ช่วงเช้า และช่วงเย็น การให้อาหารวิธีนี้ จะใช้กับสุกรในระยะใกล้ถึงนํ้าหนักส่งตลาด (นํ้าหนัก
ลิขสิทธข์ิ องมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช