Page 15 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 15

แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-5

เรื่องที่ 1.1.1 ปรชั ญาและหลกั การแนะแนว

       การทำ�กจิ กรรมที่ส�ำ คญั โดยเฉพาะที่เปน็ วชิ าการหรือตอ้ งใชห้ ลักทางวชิ าการเปน็ พืน้ ฐานมกั จะตอ้ งมี
ปรัชญาเป็นพื้นฐานเสมอๆ เช่น กิจกรรมทางการเมืองก็มีปรัชญาการเมือง กิจกรรมทางการศึกษาก็มีปรัชญา
การศึกษา กิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ก็มีปรัชญาเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของกิจกรรมใดก็จะเป็นความรู้ความ
เชื่อพื้นฐานของกิจกรรมนั้นๆ ในแต่ละกิจกรรมอาจมีปรัชญาหลายข้อก็ได้ ผู้รู้หรือผู้เชื่อปรัชญาใดก็จะทำ�
กิจกรรมตามที่ตนรู้หรือเชื่อนั้น หลักการก็เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้หรือกำ�หนดให้ได้ก่อนการทำ�กิจกรรมการ
ดำ�เนินตามหลักการที่ถูกต้องเหมาะสมจะเป็นทางลัดตัดตรงสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมายได้

       ในเรื่องปรัชญาและหลักการแนะแนว จะประกอบด้วยเรื่องปรัชญาของการแนะแนว ความหมาย
หลักการสำ�คัญของการแนะแนว และวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการแนะแนว

1. 	ปรชั ญาของการแนะแนว

       1.1 	ความหมายของค�ำ วา่ ปรชั ญา ค�ำ วา่ ปรชั ญา นัน้ จากการศกึ ษาเอกสารตา่ งๆ (ราชบณั ฑติ ยสถาน
พ.ศ. 2525 หน้า 511; สมฤดี วิศทเวทย์ 2536: 14; Webster’s Ninth New Collegiate Dictionary, 1991:
883, BBC English Dictionary, 1993: 829) สามารถสรุปความหมายได้ว่าเป็น ความรู้และความเชื่อที่เป็น
พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ เช่น ปรัชญาการศึกษาก็คือ ความรู้ ความเชื่อที่เป็นพื้นฐานของการจัดการศึกษาปรัชญา
การเมืองก็คือ ความรู้ ความเชื่อที่เป็นพื้นฐานของการดำ�เนินกิจกรรมทางการเมือง

       1.2 	ปรชั ญาการพฒั นาคนและปรชั ญาการศกึ ษา กระบวนการพฒั นาคนทมี่ รี ปู ธรรมชดั เจนอยา่ งหนงึ่
ก็คือ การพัฒนาโดยศาสนา ศาสนาย่อมมีความรู้ ความเชื่อที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาคน และยึดความรู้
ความเชือ่ นัน้ ในการด�ำ เนนิ การ ในพทุ ธศาสนาไมอ่ าจก�ำ หนดแนน่ อนวา่ ยดึ ปรชั ญาใดเปน็ ส�ำ คญั ทีส่ ดุ แตค่ วาม
รู้ความเชื่อที่ชัดเจนของพุทธศาสนาในการพัฒนาคนมีอย่างน้อย 2 ประการ ประการแรก พุทธศาสนาเชื่อว่า
มนุษย์เป็นสัตว์สอนได้ พัฒนาได้ ถือเป็นเวไนยสัตว์ เพราะเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สอนได้จึงมีความพยายาม
ที่จะสอนให้เป็นคนดี ให้มีจิตใจที่สูงขึ้น ประการที่สอง พุทธศาสนาเชื่อในความแตกต่างของคน ดังที่สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แบ่งคนออกเป็น 4 ประเภท เทียบได้กับบัวสี่เหล่า ซึ่งความเชื่อพื้นฐานตรงนี้แสดง
ให้เห็นถึงความพร้อมและสภาพของคนที่จะเรียนรู้หรือที่จะพัฒนาได้ที่แตกต่างกัน

       ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554: มปป.) ได้กล่าวถึง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคณุ ภาพคนและสงั คมไทยสูส่ งั คมแห่งภูมปิ ญั ญาและการเรียนรู้โดยให้ความส�ำ คญั กับ

            1) การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำ�ความรู้ เกิดภูมิคุ้มกัน โดยพัฒนาจิตใจควบคู่กับการ
พัฒนาการเรียนรู้ของคนทุกกลุ่มทุกวัยตลอดชีวิต เริ่มตั้งแต่วัยเด็กให้มีความรู้พื้นฐานเข้มแข็ง มีทักษะชีวิต
พัฒนาสมรรถนะ ทักษะของกำ�ลังแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการ พร้อมก้าวสู่โลกของการทำ�งาน
และการแข่งขันอย่างมีคุณภาพ สร้างและพัฒนากำ�ลังคนที่เป็นเลิศโดยเฉพาะในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20