Page 16 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 16

1-6 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

และองค์ความรู้ ส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัดการองค์ความรู้ทั้งภูมิปัญญา
ท้องถิ่น และองค์ความรู้สมัยใหม่ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงประเทศ สามารถนำ�ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคม

            2) 	การเสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ และอยู่ในสภาพ
แวดล้อมที่น่าอยู่ เน้นการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างครบวงจร มุ่งการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน การฟื้นฟูสภาพ
ร่างกายและจิตใจ เสริมสร้างคนไทยให้มีความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ลด ละ เลิก
พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ

            3) การเสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข มุ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์
ที่ดีของคนในสังคมบนฐานของความมีเหตุมีผล ดำ�รงชีวิตอย่างมั่นคงทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน
พัฒนาระบบการคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลายและครอบคลุมทั่วถึง สร้างโอกาสในการเข้า
ถึงแหล่งทุน ส่งเสริมการดำ�รงชีวิตที่มีความปลอดภัย น่าอยู่ บนพื้นฐานของความยุติธรรมในสังคม เสริม
สร้างกระบวนการยุติธรรมแบบบูรณาการและการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังควบคู่กับการเสริมสร้าง
จิตสำ�นึกด้านสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง และความตระหนักถึงคุณค่าและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
เพื่อลดความขัดแย้ง

       จากยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ดังกล่าว
ข้างต้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับคน

       นอกจากนี้สิ่งที่ได้สะท้อนปรัชญาชัดเจนในบทบาทของการศึกษาต่อการพัฒนาคนไทยก็คือพระราช
บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งถือเป็นกฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกของคนไทย

       ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2542: 5) และ
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (สำ�นักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน 2553: 5-6) ได้กล่าวไว้ในมาตรา 6 เช่นเดียวกัน
ว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำ�รงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความ
สุข ซึ่งก็ได้สะท้อนให้เห็นปรัชญาที่ว่าทุกคนพัฒนาได้ และทุกคนควรได้รับโอกาสในการพัฒนาในทุกด้าน
อย่างเต็มศักยภาพของตน เพื่อการมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข”

       สรุปได้ว่า ปรัชญา หรือความรู้ ความเชื่อพื้นฐานของการพัฒนาคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านศาสนา
ด้านการศึกษา คือ คนนั้นพัฒนาได้ ทุกคนควรได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของตน เพื่อการมีชีวิตใน
สังคมที่มีความสุข

       1.3 	ปรัชญาการแนะแนว การแนะแนวเป็นวิชาชีพชั้นสูง เป็นวิชาชีพที่มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง
มีวิธีการแสวงหาความรู้ที่เชื่อถือได้ มีวิธีดำ�เนินการหรือเทคนิคเป็นของตนเอง ผู้ประกอบอาชีพแนะแนวจะ
ต้องผ่านการศึกษาอบรม ผ่านกระบวนการฝึกอย่างเข้มข้น เนื่องจากความเป็นวิชาชีพชั้นสูงและเป็นวิชาชีพ
ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ หรือความเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม การแนะแนวจึงมีปรัชญาใน
การดำ�เนินการ ผู้อยู่ในวงการแนะแนวและผู้ประกอบวิชาชีพแนะแนวย่อมทราบและมีความเข้าใจเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตามเนื่องจากปรัชญาเป็นสิ่งที่สำ�คัญจึงควรได้นำ�มากล่าวเน้นยํ้าเพื่อสร้างความชัดเจน ณ ที่นี้
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21