Page 17 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 17

แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-7

       ปรัชญาของการแนะแนว ความรู้ ความเชื่อที่เป็นพื้นฐานของการดำ�เนินงานของการแนะแนวคือ
อะไร การแนะแนวเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคน ปรัชญาของการแนะแนวจึงให้ความสำ�คัญกับคนและ
ความเขา้ ใจเกีย่ วกบั คน ต�ำ ราการแนะแนวเขยี นเกีย่ วกบั ปรชั ญาของการแนะแนวไว้ มสี าระทีห่ ลากหลาย แตก่ ็
มีบางประเด็นซํ้า (Kochhar, 1984: 25; วชิรญา บัวศรี 2533: 9; ศูนย์แนะแนวการศึกษาและอาชีพ 2543: 5)
แหล่งความรู้เหล่านี้ได้กล่าวถึงความรู้ ความเชื่อที่สำ�คัญ และมีเหตุผล แต่อาจมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน
จึงพิจารณาสิ่งที่เป็นจุดเน้นร่วม สรุปเป็นปรัชญาของการแนะแนวว่า การดำ�เนินงานทางการแนะแนวอยู่บน
พื้นฐานความรู้ ความเชื่อที่สำ�คัญ ดังนี้

            1) 	คนทุกคนมีคุณค่า บุคคลย่อมมีคุณค่าต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคม ประเทศชาติ
และต่อสังคมโลก ในฐานที่จะสร้างคุณสร้างประโยชน์ให้แก่ฝ่ายต่างๆ ดังกล่าวได้

            2) 	คนทุกคนมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน ในฐานะสมาชิกผู้หนึ่ง ควรได้รับการยอมรับที่จะมี
ชีวิตอยู่ในสังคมในโลกอย่างทัดเทียมกับผู้อื่น

            3) 	คนมีความแตกต่างกัน ควรได้รับการยอมรับในความแตกต่างนั้น ทั้งส่วนดี ส่วนด้อย
            4) 	คนควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาในทุกด้านตามศักยภาพอย่างเหมาะสม
            5) 	คนควรมีสิทธิ์ตัดสินใจเลือกการพัฒนา แก้ปัญหาของตนเอง
       กล่าวได้ว่า ปรัชญาของการแนะแนวตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ให้ความสำ�คัญกับคนและการพัฒนาคน
       1.4 	ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาการพัฒนาคน ปรัชญาการศึกษา และปรัชญาการแนะแนว ถ้า
พิจารณาระหว่างปรัชญาทางศาสนาโดยเฉพาะพุทธศาสนาซึ่งได้กล่าวมาแล้ว ปรัชญาการพัฒนาคนตามแผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 และปรัชญาของการศึกษา โดยเฉพาะตามพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และปรัชญาของการแนะแนวจะเห็น
จุดร่วมสำ�คัญ 3 ประการคือ
            1) 	การยอมรับในความแตกต่างของคน คือ คนมีปัญหา ความต้องการต่างกัน มีลักษณะ
ความสามารถต่างกัน (มีพื้นฐานที่จะรับการพัฒนาได้ต่างกัน) การพัฒนาต่างมุ่งให้คนที่ต่างกันเหล่านี้ได้รับ
การปฏิบัติดีที่สุดและเหมาะสมกับแต่ละคน
            2) 	ความเชื่อมั่นว่าคนทุกคนสามารถพัฒนาได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่สำ�คัญ ที่ทำ�ให้มีการช่วย
เหลือหรือพัฒนาคนต่อเนื่องกันมา เพราะถ้าไม่เชื่อว่าคนพัฒนาได้แล้ว การพัฒนาก็ไม่มีความหมาย
            3) 	ความเชื่อและยอมรับในศักดิ์ศรีคุณค่าของความเป็นคน การยอมรับในศักดิ์ศรีทำ�ให้เกิด
การยอมรับนับถือ ให้เกียรติ ไม่เบียดเบียนรุกราน การยอมรับในคุณค่าทำ�ให้เกิดความสนใจ เอาใจใส่ นำ�มา
ใช้ประโยชน์ ความเชื่อดังกล่าวย่อมทำ�ให้บุคคลไม่ได้รับการเบียดเบียนแต่ได้รับการส่งเสริม
       เมื่อปรัชญาของกิจกรรมเหล่านี้มีส่วนสัมพันธ์สอดคล้องกัน (เป็นส่วนใหญ่) ก็ทำ�ให้ส่วนประกอบ
การดำ�เนินงานของกิจกรรมเหล่านี้หลายๆ ส่วนมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน เช่น การกำ�หนดเป้าหมาย
การพัฒนา คุณสมบัติของผู้พัฒนา และวิธีการพัฒนา เป็นต้น
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22