Page 18 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 18

1-8 แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

2. 	ความหมายและหลกั การสำ�คัญของการแนะแนว

       คำ�ว่า หลักการ อาจสรุปสาระจากเอกสารที่ศึกษา (ราชบัณฑิตยสถาน 2525: 859; BBC English
Dictionary, 1993: 875; Webster’s Ninth New College Dictionary, 1991: 936) ว่า หมายถึง กฎ
หรือวิถีแห่งการปฏิบัติ

       จะเห็นว่าการทำ�กิจกรรมที่สำ�คัญมีความซับซ้อน มีหลายขั้นตอน และเป็นหลักวิชามักจะมีการ
กำ�หนดแนวดำ�เนินการหรือวิถีแห่งการปฏิบัติไว้เสมอ เช่น แนวดำ�เนินการจัดทำ�งบประมาณ แนวดำ�เนินการ
จัดทำ�ร่างพระราชบัญญัติ แนวดำ�เนินการพัฒนาโครงการ แนวดำ�เนินการขอการสนับสนุนทุนทำ�วิจัย เป็นต้น

       ความสำ�คัญหรือความจำ�เป็นที่ต้องมีแนวดำ�เนินการหรือวิถีแห่งการปฏิบัติก็เพื่อให้เกิดผลดังนี้
            1) 	ทำ�งานได้ครบองค์ประกอบ ครบขั้นตอน ไม่ขาดตกบกพร่อง เช่น การพัฒนาโครงการถ้า

ทำ�ตามแนวดำ�เนินการ ย่อมสามารถพัฒนาโครงการให้มีสาระครอบคลุมทุกหัวข้อองค์ประกอบที่สำ�คัญ
            2) 	การทำ�งานเป็นไปตามลำ�ดับขั้นก่อนหลังตามที่ควรจะเป็น เช่น การพัฒนาโครงการ ถ้า

ปฏบิ ตั ติ ามแนวด�ำ เนนิ การกจ็ ะทราบวา่ ควรท�ำ กจิ กรรมใดกอ่ น-หลงั ตามล�ำ ดบั ตัง้ แตเ่ ริม่ ตน้ จนพฒั นาโครงการ
เสร็จ

            3) 	เกดิ ประสทิ ธภิ าพในการท�ำ งานเพราะการท�ำ ตามแนวด�ำ เนนิ การมคี วามรอบคอบ รดั กมุ เปน็
ไปตามขั้นตอนอย่างครบถ้วน จึงเกิดความถูกต้องได้มาก ผิดพลาดได้น้อย เกิดประหยัดได้มาก สิ้นเปลือง
น้อย และมีความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาโดยไม่จำ�เป็นทำ�ให้การดำ�เนินงานเกิดประสิทธิภาพสูง

       หลักการสำ�คัญของการแนะแนว เพื่อให้งานแนะแนวเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง การ
แนะแนวจึงมี “หลักการ” หรือ “แนวดำ�เนินการ” จากการศึกษาแนวคิดของนักแนะแนวทั้งในประเทศไทย
และในต่างประเทศจากประสบการณ์ของผู้เขียน

       อาจสรุปโดยรวมได้ว่า การแนะแนวไม่ว่าสำ�หรับกลุ่มเป้าหมายใด ควรมีหลักการสำ�คัญดังนี้
            1) 	เกี่ยวกับเป้าหมายและการวางแผน
                1.1) 	 มีการกำ�หนดเป้าหมาย วางแผน ก่อนดำ�เนินการ โดยการกำ�หนดให้มีความ

สอดคล้องต่อเนื่องกัน
                1.2) 	 เน้นกำ�หนดเป้าหมายให้ครอบคลุมเป้าหมายของการแนะแนว สอดคล้องกับ

ปรัชญาการศึกษา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
            2) 	เกี่ยวกับการจัดการบริการ
                2.1) 	 เป็นบริการที่จัดให้สำ�หรับบุคคลทุกคน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนเก่ง ไม่เก่ง เป็น

คนดี ไมด่ ี เป็นคนปกติ หรอื มีปัญหา ฯลฯ นัน่ คอื มใิ ชเ่ ฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเฉพาะผู้มีปญั หาเท่านั้น
                2.2) 	 เป็นบริการที่มุ่งพัฒนาบุคคลในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์

สังคม และสติปัญญา ทั้งนี้ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับพัฒนาการแต่ละด้านของบุคคลด้วย
                2.3) 	 การบริการมีทั้งส่งเสริมพัฒนา ป้องกัน และแก้ไข โดยพิจารณาให้เหมาะสมตาม

สภาพของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23