Page 19 - แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 1
P. 19

แนวคิดเกี่ยวกับการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 1-9

                2.4) 	 การบรกิ ารเนน้ ใหบ้ คุ คลไดเ้ ปน็ ผตู้ ดั สนิ ใจเลอื กวธิ กี ารพฒั นา หรอื วธิ กี ารแกป้ ญั หา
ด้วยตนเอง โดยผู้ให้บริการเป็นแต่เพียงผู้กระตุ้นหรือโน้มนำ�ให้บุคคลได้พบกับทางเลือก และวิธีการเลือกที่
มีประสิทธิภาพ

            3) 	เกี่ยวกับผู้ดำ�เนินการหรือผู้ให้บริการ
                3.1)	ควรดำ�เนินการโดยผู้มีความรู้ความสามารถ หรือได้รับการฝึกฝนมาทางด้านการ

แนะแนว ทั้งนี้เพราะการแนะแนวเป็นวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งไม่อาจปฏิบัติได้โดยคนทั่วไปที่มิได้รับการฝึกฝนมา
โดยเฉพาะ

                3.2)	การดำ�เนินการแนะแนวควรได้รับความช่วยเหลือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบุคคล
เป้าหมาย เช่น บุคคลในครอบครัว เพื่อนสนิท ผู้ร่วมงาน ครู อาจารย์ หรือบุคคลอื่นที่ผู้รับการแนะแนว
เกี่ยวข้องด้วย

            ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการแนะแนวกับปรัชญาของการแนะแนว อาจกล่าวได้ว่าหลักการ
แนะแนวกับปรัชญาของการแนะแนวมีลักษณะที่สัมพันธ์กันดังนี้

                1) 	หลกั การแนะแนวยดึ ปรชั ญาของการแนะแนว นัน่ คอื การด�ำ เนนิ การทางการแนะแนว
(หลักการแนะแนว) นั้นต้องอยู่บนความรู้ความเชื่อที่เป็นพื้นฐานของการแนะแนวดังเช่น การดำ�เนินการ
แนะแนวที่เน้นการจัดสำ�หรับคนทุกคน มุ่งพัฒนาบุคคลในทุกด้านนั้นก็เพราะยึดความรู้ความเชื่อพื้นฐานที่
ว่า บุคคลทุกคนมีคุณค่า และบุคคลมีความแตกต่างกัน การดำ�เนินการแนะแนวที่เน้นให้บุคคลได้ตัดสินใจ
เลือกวิธีการพัฒนาแก้ปัญหาด้วยตนเอง ก็เพราะยึดความรู้ความเชื่อพื้นฐานที่ว่า ทุกคนมีศักดิ์ศรีแห่งความ
เป็นคน และคนควรมีสิทธิ์ได้ตัดสินใจในเรื่องของตนด้วยตนเอง เป็นต้น

                2) 	หลักการแนะแนวทำ�ให้ปรัชญาการแนะแนวมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ดังเช่น
ปรัชญาที่ว่าคนทุกคนมีคุณค่า คนมีความแตกต่างกัน คนควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาในทุกด้าน ฯลฯ จะ
สำ�เร็จได้ก็ต้องอาศัยการดำ�เนินการ (หลักการ) เกี่ยวกับการกำ�หนดเป้าหมายและการวางแผน การมีผู้ดำ�เนิน
การที่มีความรู้ความสามารถ โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

                3) 	บุคลากรแนะแนวที่เข้าใจ ยอมรับในปรัชญาของการแนะแนว ย่อมเข้าใจหลักการ
ของการแนะแนวและยอมรับที่จะดำ�เนินการตามหลักการแนะแนว เพราะทั้งสองสิ่งดังกล่าวสอดคล้องและ
ส่งเสริมซึ่งกันและกัน

                4) 	ปรัชญาการแนะแนวกับหลักการแนะแนวสอดคล้องกัน ปรัชญาแนะแนวอยู่ใน
ฐานะความรู้ความเชื่อพื้นฐาน หลักการแนะแนวเป็นวิธีการปฏิบัติที่จะทำ�ให้งานแนะแนวดำ�เนินไปได้สำ�เร็จ
อย่างสอดคล้องและสนองความเชื่อพื้นฐานดังกล่าว

3. 	วัตถปุ ระสงค์และเปา้ หมายของการแนะแนว

       ในทางการแนะแนว การระบุวัตถุประสงค์กับเป้าหมายค่อนข้างมีความแตกต่างกันอย่างสังเกตได้
       3.1 	วัตถุประสงค์ของการแนะแนว วชิรญา บัวศรี (2533: 18-19) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการ
แนะแนวในระดับประถมศึกษา โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24