Page 31 - นโยบาย การวางแผน และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 31

10-21

เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติเร่ืองการประกันคุณภาพ เช่น การให้ความส�ำคัญเร่ืองเอกสาร การจัดให้ครูเพียงบาง
สว่ นจากจำ� นวนครทู ั้งหมดทำ� หนา้ ทใี่ นเรือ่ งการประกนั คณุ ภาพ การประกันคณุ ภาพทำ� เพอื่ ตอบโจทยห์ รือหวงั
ผลเพียงแต่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนปัญหากลุ่มที่ 3 เก่ียวเน่ืองกับการใช้ผลจากการประเมินและตรวจ
สอบ เช่น ผู้ถูกประเมินไม่กล้ารับความจริงจึงไม่สามารถน�ำไปเป็นข้อมูลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้ตรงกับ
สภาพจริง การใช้ผลการประเมินไม่คุ้ม ผลการประเมินส่วนใหญ่มิได้ถูกน�ำมาใช้วางแผนในการพัฒนาทันที
หลังการประเมิน

       ในด้านปัจจัยความส�ำเร็จในการประกันคุณภาพ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านคน เกี่ยวกับภาวะผู้น�ำ
(leadership) ของผู้บริหารที่จะสามารถสร้างพลังจูงใจในการด�ำเนินการประกันคุณภาพให้กับบุคลากรใน
สถานศึกษา ความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของกรรมการสถานศึกษา ครูที่ได้รับ
การพัฒนาและส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจท่ีดีและมีทักษะในการด�ำเนินประกันคุณภาพ ปัจจัยด้านระบบ
มีการจัดท�ำคู่มือระบบ (manual) ในการด�ำเนินการประกันคุณภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระบบคุณภาพ (qual-
ity system) ขอบข่ายความรับผิดชอบ (responsibility) ซ่ึงมีโครงสร้างความรับผิดชอบของบุคลากรระดับ
ต่าง ๆ ที่ชัดเจน ปัจจัยด้านการจัดการ การสื่อสาร (communication) เพื่อสร้างความเข้าให้ตรงกัน เป็นการ
สื่อสารทั่วทั้งองค์การ การก�ำกับติดตาม (controlling) เพื่อให้เห็นความก้าวหน้าในการด�ำเนินการตามแผน
น�ำไปสู่การแก้ไขข้อผิดพลาด และจะช่วยสร้างขวัญก�ำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ความร่วมมือ
(cooperative) ท�ำให้เกิดการประสานงานท่ีดี และพัฒนาการท�ำงานเป็นทีม (teamwork) วัฒนธรรมองค์การ
(organizational culture) ซึ่งเป็นระเบียบแบบแผนส�ำหรับสมาชิกในองค์การ การมีวัฒนธรรมท่ีดีและเอื้อ
ต่อการพัฒนาคุณภาพจะเป็นการส่งเสริมการประกันคุณภาพที่ย่ังยืน

       ส�ำหรับการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ (quality culture) ซ่ึงเป็นแบบแผนของพฤติกรรมของสมาชิก
ในองค์การที่น�ำสู่การมีมาตรฐานความเป็นเลิศที่ได้มีการก�ำหนดไว้หรือตรงตามวัตถุประสงค์ท่ีต้ังไว้ รวมท้ัง
เป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลและสนองตอบต่อความคาดหวังของผู้รับบริการหรือ
ลกู ค้า และจะเปน็ แบบแผนพฤติกรรมท่สี มาชิกทกุ คนในองคก์ ารยอมรับและประพฤตปิ ฏบิ ัตจิ นเป็นนิสยั หรือ
เป็นกิจวัตรและมีการถ่ายทอดไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไป การสร้างวัฒนธรรมองค์การให้เป็นวัฒนธรรมคุณภาพ
เป็นส่ิงที่ชักน�ำให้คนในองค์การพร้อมที่จะด�ำเนินการตลอดจนประพฤติปฏิบัติเพ่ือน�ำองค์การไปสู่คุณภาพได้
ในท่ีสุด

       แบบแผนพฤติกรรมท่ีถือว่าเป็นวัฒนธรรมคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การท�ำให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น
และตลอดไป 2) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การยึดม่ันในระบบคุณภาพ PDCA 3) การเพ่ิมมาตรฐานในการ
ท�ำงาน ผลสืบเน่ืองมาจากการประเมินและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ 4) การท�ำงานเป็นทีมและการร่วมคิด
ร่วมท�ำ ร่วมรับผิดชอบ โดยยอมรับว่าคุณภาพขององค์การมิใช่อยู่ท่ีจุดใดจุดหนึ่งหรืองานใดงานหน่ึง
5) การท�ำงานเป็นระบบ โดยเน้นความสมดุลระหว่างปัจจัยน�ำเข้า กระบวนการและผลผลิตและผลลัพธ์ท่ี
เกิดขึ้น 6) มุ่งความพอใจของผู้รับบริการ สมาชิกมีความเข้าใจอย่างชัดเจนว่าใคร คือ ผู้รับบริการ และมีการ
ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างสม่�ำเสมอ 7) การมีวิสัยทัศน์ การปฏิบัติงานโดยมีเป้าหมายและ
วิสัยทัศน์เพ่ือเป็นจุดช้ีน�ำการด�ำเนินการที่ชัดเจน 8) มุ่งม่ันและศรัทธาในการท�ำงาน สมาชิกมุ่งมั่นและทุ่มเท
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36