Page 28 - นโยบาย การวางแผน และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 28
10-18
ตอนท่ี 10.3
การดำ� เนินการประกนั คณุ ภาพภายในสถานศึกษา
โปรดอ่านแผนการสอนประจ�ำตอนท่ี 10.3 แลว้ จงึ ศกึ ษาสาระสงั เขป พรอ้ มปฏบิ ัติกิจกรรมในแต่ละตอน
หัวเรอื่ ง
เร่ืองท่ี 10.3.1 ข้ันตอนการด�ำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
เรื่องที่ 10.3.2 บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
เรื่องที่ 10.3.3 ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยความส�ำเร็จในการด�ำเนินการประกันคุณภาพ
ภายในสถานศึกษา
เรื่องท่ี 10.3.4 การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ
แนวคิด
1. ข้ันตอนการด�ำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประกอบด้วย 1) การก�ำหนด
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2) การจัดท�ำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของ
สถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 3) การจัดระบบบริหาร
และสารสนเทศ 4) การด�ำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
5) การจดั ใหม้ กี ารตดิ ตามตรวจสอบคณุ ภาพการศกึ ษา 6) การจดั ใหม้ กี ารประเมนิ คณุ ภาพ
ภายในตามมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา 7) การจดั ทำ� รายงานประจำ� ปที เี่ ปน็ รายงาน
ประเมินคุณภาพภายใน และ 8) การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2. การด�ำเนินการประกันคุณภาพในสถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและ
หน่วยงานทเี่ กยี่ วข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนและการกำ� กับดูแลของหนว่ ยงานตน้ สงั กดั
การประกันคุณภาพจึงจ�ำเป็นที่จะต้องจัดโดยการมีส่วนร่วมจากผู้เก่ียวข้องทุกภาคส่วน
ซงึ่ บทบาทผรู้ บั ผิดชอบของผ้เู ก่ียวข้อง ไดแ้ ก่ สำ� นกั งานเขตพืน้ ที่การศึกษา ผบู้ รหิ ารสถาน
ศึกษา ครูและบุคลากรในสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน
สื่อมวลชนและผู้เรียน
3. ปัญหาและอุปสรรคในการด�ำเนินการประกันคุณภาพที่ส�ำคัญ ได้แก่ ความเข้าใจ การ
ปฏิบัติเก่ียวกับประกันคุณภาพ และการใช้ผลจากการประเมินและการตรวจสอบเพื่อ
การพัฒนา ส่วนปัจจัยแห่งความส�ำเร็จในการประกันคุณภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านคนเกี่ยว
กับภาวะผู้น�ำและความร่วมมือ ปัจจัยด้านระบบทั้งความชัดเจนในการจัดระบบและ
โครงสร้างความรับผิดชอบ และปัจจัยด้านการจัดการท่ีเก่ียวกับการส่ือสาร การก�ำกับ
ติดตามความร่วมมือและการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ