Page 42 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 42
12-32 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู
ยังก�ำหนดวิธีการแต่งต้ัง อ�ำนาจ หน้าท่ี วิธีการพิจารณาของคณะอนุกรรมการอุทธรณ์ค�ำวินิจฉัยการ
ประพฤติผิดจรรยาบรรณ
5) ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2550 ตามข้อ
บังคับคุรุสภาฉบับน้ี “แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ” หมายความว่า ประมวลพฤติกรรม
ท่ีเป็นตัวอย่างของการประพฤติท่ีก�ำหนดขึ้นตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซ่ึงผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ต้องหรือพึงประพฤติปฏิบัติตาม
ประกอบด้วย พฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่ก�ำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องหรือพึงประพฤติตาม
และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ท่ีก�ำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องพึงละเว้น
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ แบ่งเป็น 4 หมวด ตามวิชาชีพครู ผู้บริหารสถาน-
ศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ในแต่ละหมวดแบ่งเป็นส่วนของจรรยาบรรณต่อตนเอง
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และจรรยาบรรณ
ต่อสังคม
ในทนี่ ี้ จะขอยกตวั อยา่ งแบบแผนจรรยาบรรณของวชิ าชพี ครู ในสว่ นของจรรยาบรรณตอ่ ผรู้ บั บรกิ าร
เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพครู ดังนี้
ข้อ 7 ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้ก�ำลังใจศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาท
หน้าที่โดยเสมอหน้า ครูต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธ์ิใจ ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ท้งั ทางกาย วาจา และจิตใจ ครูตอ้ งไมก่ ระทำ� ตนเป็นปฏปิ ักษต์ อ่ ความเจริญทางกาย สติปญั ญา จิตใจ อารมณ์
และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ และครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือ
ยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ต�ำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ โดยต้องประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม
ดังตัวอย่างต่อไปน้ี
1) พฤติกรรมท่ีพึงประสงค์
(1) ให้ค�ำปรึกษาหรือช่วยเหลือศิษย์และผู้รับบริการด้วยความเมตตากรุณาอย่างเต็มก�ำลัง
ความสามารถและเสมอภาค
(2) สนับสนุนการด�ำเนินงานเพ่ือปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส
(3) ตั้งใจ เสียสละ และอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการได้รับการ
พัฒนาตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล
(4) สง่ เสรมิ ใหศ้ ษิ ยแ์ ละผรู้ บั บรกิ ารสามารถแสวงหาความรไู้ ดด้ ว้ ยตนเองจากสอื่ อปุ กรณ์ และ
แหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
(5) ให้ศิษย์และผู้รับบริการมีส่วนร่วมวางแผนการเรียนรู้และเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม
กับตนเอง
(6) เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการด้วยการรับฟังความคิดเห็น ยกย่อง
ชมเชย และให้ก�ำลังใจอย่างกัลยาณมิตร