Page 39 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 39

กฎหมาย หลักธรรมาภิบาล คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู 12-29

       2) 	ผู้ซ่ึงได้รับใบอนุญาตต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจ�ำกัดและเง่ือนไขตามข้อบังคับ
ของคุรุสภา (มาตรา 47)

       3) 	ผู้ซ่ึงได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพตามที่ก�ำหนด
ในข้อบังคับของคุรุสภา (มาตรา 48)

       4) 	บคุ คลซงึ่ ไดร้ บั ความเสยี หายจากการประพฤตผิ ดิ จรรยาบรรณของวชิ าชพี ของผไู้ ดร้ บั ใบอนญุ าต
มีสิทธิกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตผู้น้ันโดยท�ำเรื่องย่ืนต่อคุรุสภา (มาตรา 51)

       5) 	ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งอยู่ในระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมหรือ
แสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพควบคุม นับแต่วันท่ีทราบค�ำส่ังพัก
ใช้ใบอนุญาตนั้น (มาตรา 56)

       6) 	ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนจะยื่นขออีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นห้าปี นับแต่วันที่ถูกส่ัง
เพิกถอน (มาตรา 57)

       เพื่อให้การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มีการปฏิบัติที่
ชัดเจน คุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรกลางในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ได้ออกข้อบังคับและประกาศ
ต่าง ๆ ออกมาจ�ำนวนหลายฉบับ ได้แก่

       1) 	ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2547 ข้อบังคับฉบับน้ีมีจุดมุ่งหมาย
เพ่ือก�ำหนดหลักเกณฑ์เก่ียวกับการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา โดยก�ำหนดให้ผู้ที่ประสงค์
จะเข้ามาประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามท่ีก�ำหนด วิธีการ
ขอข้ึนทะเบียนใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การก�ำหนดอายุและการต่อใบอนุญาต รวมท้ังการอุทธรณ์
ในกรณีที่คุรุสภาไม่ออกใบอนุญาต เป็นต้น และได้มีการออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การก�ำหนด
ค่าธรรมเนียมการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ฉบับท่ี 1 (พ.ศ. 2547) และฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2548)

       2) 	ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 ข้อบังคับ
ฉบบั น้ี มจี ดุ มงุ่ หมายเพอื่ กำ� หนดใหผ้ ปู้ ระกอบวชิ าชพี ทางการศกึ ษามคี วามรคู้ วามเขา้ ใจในการประกอบวชิ าชพี
ทางการศึกษาซ่ึงเป็นวิชาชีพควบคุมให้มีมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อเป็นหลักประกัน
ว่าผู้รับบริการทางการศึกษาจะได้รับการบริการท่ีมีคุณภาพและมาตรฐานเช่นเดียวกับวิชาชีพช้ันสูงอื่น ๆ
แพทย์ วิศวกรหรือนักกฎหมาย ดังนั้น การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพ
ทางการศึกษาจะต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพตามท่ีก�ำหนด ท้ังมาตรฐานใน
การปฏบิ ตั ติ นและมาตรฐานการปฏบิ ตั งิ าน นอกจากนน้ั ผปู้ ระกอบวชิ าชพี ทางการศกึ ษาจะตอ้ งมจี รรยาบรรณ
แห่งวิชาชีพท้ังในด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ จรรยา-
บรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพและจรรยาบรรณต่อสังคม

       ต่อมาใน พ.ศ. 2556 ได้ประกาศข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 และข้อบังคับ
คุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 ซึ่งข้อบังคับทั้งสองฉบับก�ำหนดให้ยกเลิกข้อบังคับเดิม

       ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องมีมาตรฐาน
ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพดังน้ี
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44