Page 51 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 51
ความเป็นผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 15-41
ตัวอย่าง webinars ท่ีเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ได้แก่
(1) Teaching English webinars ของ British Council ซ่ึงสามารถเข้าไปตรวจ
สอบหัวข้อสัมมนาพร้อมลงทะเบียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ www.teachingenglish.org.uk/webinars
(2) webinars ท่ีจัดโดย Cambridge English ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลหัวข้อ
สัมมนา วัน เวลาและผู้บรรยายได้ท่ี www.cambridgeenglish.org/webinars
(3) webinars ที่จัดโดยส�ำนักพิมพ์ Oxford (Oxford University Press) ซ่ึงมักจะ
จัดในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหนังสือของส�ำนักพิมพ์ ดังรายละเอียดด้านล่าง ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ท่ี
www.elt.oup.com/feature/global/webinars
Help with academic writing: a learner’s dictionary of academic English
Webinar
Date : 29th April 2014
Time : 11:00-12:00 (BST)
Speaker : Diana Lea
This webinar draws on content from the Oxford Learner’s Dictionary of Academic
English.In this webinar Diana Lea will show how the new Oxford Learner’s Dictionary
of Academic English can help learners use core academic vocabulary accurately and
appropriately in their writing.
5. การทำ� วิจยั
ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ตอนท่ี 15.1 ผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษต้องสามารถสร้าง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมได้เอง และต้องสามารถน�ำองค์ความรู้และนวัตกรรมท่ีสร้างมาใช้ในการพัฒนาการ
เรียนการสอนภาษาอังกฤษได้ ซ่ึงการจะมีคุณลักษณะเช่นน้ันได้ ก็ด้วยการท�ำวิจัย เพราะ การวิจัย คือ
กระบวนการแสวงหาความรู้ ข้อเท็จจริง อย่างมีระบบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ค�ำตอบท่ี
น�ำไปสู่การสร้างองค์ความรู้และวิธีแก้ปัญหา
ประโยชน์อ่ืน ๆ ของการท�ำวิจัย นอกเหนือจากการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบแล้ว คือ
การท�ำวิจัยท�ำให้ผู้สอนมีผลงานวิชาการที่น�ำไปพัฒนาวิชาชีพได้ มีวิธีการท�ำงานอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นครูมือ
อาชีพ (professional teacher) และเม่ือผู้สอนมีทักษะการท�ำวิจัยก็สามารถพัฒนาไปสู่ครูนักวิจัยต่อไปได้
(สุวิทย์ มูลค�ำ, 2553, 479) ซึ่งสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 24(5) ท่ี
ให้ผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหน่ึงของกระบวนการเรียนรู้ และมาตรา 30 ท่ีระบุให้ สถานศึกษา
ส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา กล่าวโดย
สรุปคือ ผู้สอนสามารถใช้งานวิจัยเพ่ือส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน และให้การวิจัยเป็นส่วนหน่ึงของ
กระบวนการเรียนรู้ของตนด้วย