Page 39 - การบริหารงานภาพยนตร์
P. 39

การวเิ คราะห์และประเมนิ ปจั จยั ในการบรหิ ารงานภาพยนตร์ 2-27

เร่ืองท่ี 2.2.2
การวิเคราะห์และประเมินปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม

       ปัจจัยด้านสังคมในที่น้ีมีความหมายรวมถึงแง่มุมต่างๆ ด้านประชากรและวัฒนธรรมในระดับ
มหภาค ซึ่งมผี ลกระทบตอ่ ความตอ้ งการและตัดสนิ ใจของประชาชนโดยรวม รูปแบบของปจั จัยดา้ นสงั คม
และวฒั นธรรม ท่ีปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม มมี ากมายหลายดา้ น ดงั นี้

       1. 	สภาวะด้านประชากร (demographics) หมายถึง สดั ส่วนของประชากร เชน่ ประเทศไทยมี
แนวโน้มจะจ�ำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เพราะวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพเจริญก้าวหน้าข้ึน ในขณะท่ีจะมี
จำ� นวนเดก็ ลดนอ้ ยลงเพราะคนรนุ่ ใหมไ่ มค่ อ่ ยแตง่ งานหรอื มคี รอบครวั สว่ นทมี่ คี รอบครวั กน็ ยิ มมบี ตุ รเพยี ง
1-2 คน สง่ ผลใหส้ ภาวะทางประชากรเปลยี่ นไป ทำ� ใหส้ ดั สว่ นของตลาดของสนิ คา้ หรอื บรกิ ารบางประเภท
รวมถงึ ภาพยนตร์มขี นาดเล็กลง เชน่ การมีอตั ราเดก็ เกดิ นอ้ ยลง ท�ำให้ตลาดของเลน่ เด็กในประเทศหดตวั
ลง เป็นตน้

       2. 	การแบ่งชั้นทางสังคม (class structure) การแบง่ ชนั้ ทางสงั คมหมายถงึ การแบง่ ลำ� ดบั ชนั้ ทาง
สงั คมทีแ่ ตกต่างกนั โดยอาศัยตัวแปรต่างๆ อาทิ รายได้ อาชพี การศกึ ษา แหล่งทพี่ กั อาศัย เป็นต้น ซงึ่
โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนช้ันทางสังคมออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ชนช้ันระดับสูง (upper class) ชนช้ัน
ระดบั กลาง (middle class) และชนชั้นระดับล่าง (lower class) สมาชกิ ทีอ่ ยู่ในชนชน้ั ทางสังคมเดยี วกัน
กจ็ ะมีคา่ นยิ ม ความสนใจ และพฤติกรรมทคี่ ล้ายๆ กัน

       3. 	ระดับการศึกษา (education) ระดบั การศกึ ษาในทน่ี ห้ี มายถงึ ระดบั การรหู้ นงั สอื ของประชาชน
หรือระดบั การศกึ ษาโดยเฉล่ยี ของประชากร

       4. 	การกระจายของช่วงอายุ (age distribution) หมายถึง ความสมดลุ ของชว่ งอายตุ า่ งๆ หาก
มจี ำ� นวนผสู้ งู อายมุ ากเกนิ ไป กจ็ ะเปน็ ภาระตอ่ ผอู้ ยใู่ นวยั ทำ� งาน (และรฐั บาล) ทต่ี อ้ งเลยี้ งดู ในขณะเดยี วกนั
ก็จะมกี ารริเรมิ่ ธุรกจิ ตา่ งๆ เพื่อผูส้ ูงอายุ เช่น นมผงผสมแคลเซยี มเพอ่ื ผู้สูงอายุ หรือการประกันชีวิตและ
สุขภาพของผ้สู งู อายุ เปน็ ตน้

       5. 	ทัศนคติในด้านต่าง ๆ (attitudes) เช่น ทศั นคติต่อการประกอบอาชีพ ตอ่ สุขภาพ และการใช้
ชวี ิต เป็นตน้

       6. 	การตระหนักถึงความปลอดภัย (emphasis on safety) ท้ังต่อตนเองและทรัพย์สิน หากใน
สงั คมตระหนกั ถงึ การประกนั ความเสย่ี งของความปลอดภยั ในชวี ติ และทรพั ยส์ นิ กจ็ ะทำ� ประกนั ตา่ งๆ ทำ� ให้
ธรุ กิจประกันเฟื่องฟู

       7. 	การใช้เวลาว่าง (leisure interest) มีความเก่ียวพันอย่างใกล้ชิดกับพฤติกรรมของประชากร
ตัวอย่างเช่น ประชากรในสังคมไทยนิยมใช้เวลาว่างเพื่อการบันเทิง ได้แก่ การชมภาพยนตร์ ซื้อของ
ดื่มสรุ า ฯลฯ จึงน�ำไปสธู่ ุรกจิ บันเทงิ จำ� นวนมาก รวมถึงปญั หาสังคมอื่นๆ ตามมา
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44