Page 44 - การบริหารงานภาพยนตร์
P. 44
11-32 การบริหารงานภาพยนตร์
ฉบับละ 5,000 บาท หากเป็นสถานท่กี ลางแจ้งฉบบั ละ 2,500 บาท สว่ นการต่ออายุใบอนญุ าตราคาฉบบั
ละ 1,000 บาท
(5) ค่าใช้จ่ายด้านการประชาสัมพันธ์ หมายถึง การประชาสัมพันธ์โรงภาพยนตร์ เพ่ือให้
คนภายนอกได้รู้จัก ในกรณีนี้หากโรงภาพยนตร์เป็นเครือขนาดใหญ่การประชาสัมพันธ์ก็จะลงทุนไม่สูง
เพราะสามารถเฉล่ียต่อโรงภาพยนตร์ได้ ย่ิงกว่านั้นยังสามารถจัดจ้างบริษัทภายนอกวางแผนการด�ำเนิน
การ (ธนภทั ร สุโสภิต, 2542) แตห่ ากเป็นโรงขนาดเลก็ การประชาสัมพันธ์ก็อาจจะยากและงบในส่วนนี้ก็
อาจถูกตัดออกไป อย่างไรก็ตามหากประชาสัมพันธ์โดยเน้นตัวภาพยนตร์ งบประมาณส่วนน้ีเจ้าของ
ภาพยนตรจ์ ะเปน็ ผ้สู นบั สนุน (มนฤดี ธาดาอำ� นวยชัย, 2557)
นักวชิ าการกลมุ่ เศรษฐศาสตรก์ ารเมอื ง ยงั ตั้งขอ้ สังเกตถึงค่าใชจ้ า่ ยของโรงภาพยนตร์ทีเ่ ป็นค่าใช้
จ่ายหลักก็คือ ค่าสร้างโรงภาพยนตร์ เป็นการลงทุนสูง ท�ำให้การลงทุนดังกล่าวมักจะเป็นบริษัทเจ้าของ
โรงภาพยนตร์ที่มีมานานแล้ว ในอดีตการสร้างโรงภาพยนตร์มักจะใช้วิธีการซ้ือท่ีดินและแบ่งให้เช่าท่ีท�ำ
ตกึ แถวหรอื เซง้ ตกึ หลงั จากนนั้ กจ็ ะนำ� เงนิ รายไดม้ าสรา้ งเปน็ โรงภาพยนตรท์ ำ� ใหป้ ระหยดั คา่ ใชจ้ า่ ย (ทศพร
โขมพัตร, 2544) และในปัจจุบันการลงทุนดังกล่าวจึงไม่ค่อยมีผู้ค้ารายใหม่ก้าวเข้ามาเพราะต้องลงทุนใน
สว่ นนี้สงู
อย่างไรก็ดีเนื่องจากการพัฒนาการของระบบโรงภาพยนตร์ยุคใหม่ที่เน้นระบบแสง สี เสียง จึง
ทำ� ใหเ้ รมิ่ มคี า่ ใชจ้ า่ ยใหมเ่ กดิ ขน้ึ นนั่ กค็ อื คา่ ใชจ้ า่ ยในดา้ นการปรบั ปรงุ โรงภาพยนตร์ สว่ นนท้ี ำ� ใหโ้ รงภาพยนตร์
หลายแหง่ ทีไ่ ม่สามารถปรบั ปรุงไดก้ ็เร่มิ ล้มหายไป
2. การบริหารวัสดุอุปกรณ์
โดยปกตเิ จ้าของภาพยนตร์ ผูจ้ ัดจำ� หนา่ ยภาพยนตร์ สายหนงั จะเปน็ ผจู้ ดั ส่งและรบั ผดิ ชอบด้าน
ตวั ภาพยนตร์ ไมว่ า่ จะเปน็ ตวั ฟลิ ม์ ภาพยนตรห์ รอื ระบบดจิ ทิ ลั และจะจดั เกบ็ ภายหลงั ในสว่ นระหวา่ งการฉาย
จะเป็นบทบาทของโรงภาพยนตร์ ซ่ึงจะต้องท�ำหน้าที่ดูแลตัวฟิล์มภาพยนตร์และระบบดิจิทัลให้ดี รวมถึง
การดูแลอปุ กรณ์การฉายภาพยนตร์ ทงั้ ระบบฟลิ ม์ และดจิ ิทัล อุปกรณ์ป้องกับอคั คภี ัยท่ไี ดม้ าตรฐาน
ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2557) เน่ืองจากระบบโรงภาพยนตร์เร่ิมพัฒนาการฉายภาพยนตร์ด้วยระบบ
ดจิ ทิ ลั ทำ� ใหเ้ จา้ ของหนงั จะสง่ ไฟลภ์ าพยนตรผ์ า่ น เอชดดี ี (HDD, Hybrid Hard Drive) ซงึ่ เปน็ ฮารด์ ดสิ ก์
ประเภทหน่ึงท่ีมีหน่วยความจ�ำขนาดใหญ่ ในส่วนนี้ ชญานนิ ธนสุขถาวร (2556: 169-170) เรียกอุปกรณ์
ว่า ดิจิทัล มูฟวี่ สโตรเรจ (Digital Movie Storage) ไฟล์ดังกล่าวจะมีการสร้างรหัสป้องกันให้กับ
โรงแต่ละโรงท่ีจะฉายเท่าน้ัน เพ่ือป้องกันการละเมิดลิขสิทธ์ิหรือการป้องกันมิให้หนังร่ัว หากมีการ
เปล่ียนแปลงโรงฉายก็จะตอ้ งขอรหัสการฉายใหม่ ดงั น้ัน โรงภาพยนตรจ์ ึงมีหนา้ ทีด่ แู ล เอชดีดี (HDD)
เมอื่ ทำ� การโหลดข้อมลู สูเ่ ซิร์ฟเวอร์ (server) ของโรงหนังจะใช้เวลาประมาณ 4-8 ชัว่ โมง กจ็ ะให้
ทางเจา้ ของหนงั ส่งคนมารบั กลบั (มนฤดี ธาดาอ�ำนวยชยั , 2557) จากน้นั กจ็ ะฉายใหก้ ับผชู้ มไดร้ ับชมซง่ึ
จะท�ำให้ภาพเสียงคมชัดกว่าระบบฟิลม์
นอกจากการบริหารตัวภาพยนตรแ์ ล้ว โรงภาพยนตรย์ งั คงต้องทำ� หนา้ ทบ่ี ริหารวสั ดุอปุ กรณ์อ่นื ๆ
ในโรงภาพยนตร์ ทั้งที่น่งั เสยี ง แสง ระบบการจองตัว๋ ระบบโทรศพั ท์ลกู ค้า ทัง้ นี้ การบริหารงานดงั กล่าว