Page 84 - ประสบการณ์วิชาชีพภาษาอังกฤษ
P. 84

15-72 ประสบการณ์วิชาชีพภาษาอังกฤษ

เรือ่ งท​ ่ี 15.4.1
ความ​ส�ำ คญั แ​ ละป​ ระเภทข​ อง​รายงาน

1.	 ความ​ส�ำ คัญข​ อง​รายงาน

       คำ�​ว่า “ราย​งา​น” ที่​เป็น​คำ�​นาม หมาย​ถึง คำ�​กล่าว​บอก​เรื่อง​ราว​ที่​ไป​ทำ�  ไป​รู้ หรือ​ไป​เห็น​มา29 ซึ่ง​อาจ​เป็น
การ​รายงาน​ด้วย​วาจา​หรือ​ข้อ​เขียน อย่าง​เป็น​ทางการ​หรือ​ไม่​เป็น​ทางการ​ก็ได้ ใน​ที่​นี้​จะ​กล่าว​ถึง​เฉพาะ​การ​เขียน​
รายงาน​อย่างเ​ป็นท​ างการ ซึ่ง​เป็น​ความ​จำ�เป็นป​ ระการห​ นึ่ง​ในก​ ารพ​ ัฒนา​ภาวะผ​ ู้นำ�

       ใน​การ​ปฏิบัติ​งาน ไม่​ว่า​ใน​สาขา​ใด ท่าน​อาจ​จำ�เป็น​ต้อง​เขียน​รายงาน​ใน​โอกาส​ต่างๆ กัน ยก​ตัวอย่าง​เช่น
ท่าน​วางแผน​ที่​จะ​ปฏิบัติ​งาน​เรื่อง​ใด​เรื่อง​หนึ่ง ซึ่ง​จะ​ต้อง​ขอ​อนุมัติ​จาก​ผู้​เกี่ยวข้อง​ก็​จะ​ต้อง​ทำ�​แผน​ปฏิบัติ​งาน​หรือ
โครงการ ครั้น​ได้​รับ​อนุมัติ​และ​ดำ�เนิน​การ​แล้ว ก็​จะ​ต้อง​เขียน​รายงาน​ผล​การ​ดำ�เนิน​งาน​ดัง​กล่าว หรือ​ท่าน​ได้​รับ​ทุน
​ให้​เดิน​ทาง​ไป​ดู​งาน ฝึก​อบรม หรือ​ไป​ประชุม​นอก​สถาน​ที่ ซึ่ง​จะ​เป็น​ภายใน​หรือ​ภายนอก​ประเทศ​ก็ตาม กลับ​มา​แล้ว​
ก็​ต้อง​เสนอ​รายงาน​การ​ไป​ปฏิบัติ​ภารกิจ​ดัง​กล่าว​ให้​ผู้​บังคับ​บัญชา​ทราบ และ​เผย​แพร่​แก่​ผู้​ร่วม​งาน​ด้วย หรือ​ท่าน​
สนใจ​ใคร่​ศึกษา​วิเคราะห์ วิจัย​เรื่อง​ใด​เรื่อง​หนึ่ง เมื่อ​ได้​ผลอ​ย่าง​ไร​ก็​เขียน​รายงาน​ใน​รูป​ของ​บทความ​หรือ​รายงาน
​วิชาการ​หรือ​ใน​กรณี​ที่​ท่าน​เข้า​ศึกษา​ต่อ​ใน​ระดับ​สูง​กว่า​ปริญญา​ตรี​ก็​จำ�เป็น​ต้อง​ศึกษา​ค้นคว้า​เพื่อ​ทำ�​รายงาน​ประกอบ
​การศ​ ึกษา​แต่ละว​ ิชาต​ ลอด​จนร​ ายงานก​ ารว​ ิจัย​ในร​ ูปแ​ บบข​ องว​ ิทยานิพนธ์​และป​ ริญญาน​ ิพนธ์ด​ ้วย ดังนี้​เป็นต้น

       จาก​ตัวอย่าง​ดัง​กล่าว​จะ​เห็น​ได้​ว่า การ​เขียน​รายงาน​เป็น​เรื่อง​สำ�คัญ​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​ปฏิบัติ​งาน​ในวิชาชีพ​
ทุก​แขนง ไม่ว​ ่าท​ ่าน​จะอ​ ยู่​ในร​ ะดับ​ใด​ในห​ น่วยง​ าน​หรือศ​ ึกษาต​ ่อ​ก็ตาม โดย​เฉพาะอ​ ย่างย​ ิ่ง​เมื่อ​เป็นผ​ ู้นำ� เป็นห​ ัวหน้าง​ าน​
ความ​จำ�เป็น​ที่​จะ​ต้อง​เขียน​รายงาน​ยิ่ง​จะ​มี​มาก​ขึ้น อาทิ การ​กล่าว​รายงาน​ต่อ​ประธาน​ใน​พิธี ซึ่ง​ก่อน​ที่​จะ​กล่าว​ก็​ต้อง​
เขียน​เรียบ​เรียง​เป็น​ลาย​ลักษณ์​อักษร​เสีย​ก่อน แต่​การ​เขียน​รายงาน​มิใช่​เรื่อง​ง่าย เพราะ​จะ​ต้อง​คำ�นึง​ถึง​รูป​แบบ
​เนื้อหา​สาระ​ตลอด​จน​การ​ใช้​ภาษา​ที่​จะ​ต้อง​ชัดเจน รัดกุม​และ​สละ​สลวย​ด้วย ซึ่ง​ต้อง​อาศัย​การ​ฝึกฝน​จน​เกิด​ทักษะ
ฉะนั้น​นักศึกษาค​ วร​ลงมือ​ฝึก​เขียน​ด้วยต​ นเอง และศ​ ึกษา​ตัวอย่างร​ ายงานป​ ระเภท​ต่างๆ เพื่อ​สร้าง​เสริมป​ ระสบการณ​์
วิชาชีพใ​ ห้​สมบูรณ์

2.	 ประเภท​ของ​รายงาน

       การ​จำ�แนก​ประเภท​ของ​รายงาน​ทำ�ได้​หลาย​วิธี โดย​คำ�นึง​ถึง​วัตถุประสงค์ วิธี​นำ�​เสนอ และ​ลักษณะ​เนื้อหา
กล่าว​คือ

       2.1 จำ�แนกต​ ามว​ ัตถุประสงค์ ได้แก่ รายงานท​ ี่ม​ ี​วัตถุประสงค์​เพื่อ​ประกอบก​ าร​ศึกษา​ตาม​หลักสูตร รายงาน​
ที่ใ​ช้​ใน​หน่วย​งาน และร​ ายงาน​เรื่องท​ ี่ส​ นใจ​ศึกษาด​ ้วย​ตนเอง โดยไ​ม่​เกี่ยว​กับ​การเ​รียน​หรือ​การป​ ฏิบัติ​งานใ​นห​ น่วยง​ าน

       2.2 จำ�แนก​ตาม​วิธี​การนำ�​เสนอ ได้แก่ รายงาน​เดี่ยว รายงาน​กลุ่ม รายงาน​ด้วย​วาจา และ/หรือรายงาน​
ด้วย​ข้อ​เขียน รายงาน​อย่าง​เป็น​ทางการ หรือ​ไม่​เป็น​ทางการ​และ​รายงาน​ที่​เขียน​เป็น​รูป​แบบ​ต่างๆ เช่น บทความ​
สารคดี เป็นต้น

       2.3 จำ�แนก​ตาม​ลักษณะ​เนื้อหา ได้แก่ รายงาน​วิชาการ ซึ่ง​ยัง​แยก​ตาม​เนื้อหา​เป็น​วิชาการ​สาขา​ต่างๆ เช่น
ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อักษรศ​ าสตร์ เป็นต้น รายงาน​อืน่ ๆ ที่​ไม่ใช่​วิชาการ​โดยตรง เช่น รายงานก​ ารเดิน​ทาง​ไป​
ประชุมห​ รือ​ดูง​ าน รายงานด​ ำ�เนิน​งาน เป็นต้น และโ​ครงการ​หรือแ​ ผน​ปฏิบัติก​ าร
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89