Page 15 - ไทยในเศรษฐกิจโลก
P. 15
ประเทศไทยกบั เศรษฐกจิ การเมอื งระหว่างประเทศ 3-5
เร่ืองที่ 3.1.1
ท่ีมาและพัฒนาการของการศึกษาเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ
เศรษฐกจิ การเมอื งระหวา่ งประเทศมาจากคำ� ภาษาองั กฤษวา่ International Political Economy
และรู้จักกันภายใต้ค�ำย่อว่า IPE การศึกษาเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศมีท่ีมาจากการที่ประเด็น
ปัญหาต่างๆ ทางเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศนั้นไม่สามารถแยกขาดจากกันเป็นการศึกษาเฉพาะ
เศรษฐกจิ ระหวา่ งประเทศแตเ่ พยี งอยา่ งเดยี วหรอื ศกึ ษาเฉพาะการเมอื งระหวา่ งประเทศแตเ่ พยี งอยา่ งเดยี ว
เนื่องจากการศึกษาท้ัง 2 มิติน้ีมีความเช่ือมโยงกันทั้งยังครอบคลุมเอามิติอื่นๆ เช่น มิติทางสังคมและ
วฒั นธรรม เขา้ ไว้ด้วย
ตัวอยา่ งของความเชอื่ มโยงของมติ ิต่างๆ เชน่ การก่อวนิ าศกรรมโดยกลุ่มกอ่ การรา้ ยท่ีเกิดขน้ึ ใน
ประเทศสหรฐั อเมริกาใน ค.ศ. 2001 ซง่ึ รู้จกั กนั ว่าเหตุการณ์ 9/11 แสดงใหเ้ ห็นความเชอ่ื มโยงระหวา่ งมติ ิ
ความขัดแย้งทางศาสนาและวัฒนธรรมกับมิติด้านความม่ันคงทางการเมืองการทหารจนก่อให้เกิดการก่อ
วินาศกรรม ซึ่งส่งผลกระทบไม่เพียงต่อความม่ันคงของสหรัฐอเมริกาและความมั่นคงระหว่างประเทศใน
ระดบั โลก แตย่ ังส่งผลกระทบต่อมติ ิทางด้านเศรษฐกจิ สังคม และวัฒนธรรม ของสหรัฐอเมริกาและโลก
อีกตัวอย่างหนึ่งของความเชื่อมโยงระหว่างมิติต่างๆ ได้แก่ วิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาใน
ค.ศ. 2008 ทเ่ี รยี กวา่ วกิ ฤตซบั ไพรม์ (Subprime Crisis) ซงึ่ เรม่ิ ตน้ จากสาเหตทุ างเศรษฐกจิ จากการลม้ ละลาย
ของธนาคาร บรษิ ทั การเงนิ และบรรษทั ขนาดใหญ่ กอ่ ใหป้ ญั หาสนิ เชอ่ื ทไ่ี มก่ อ่ ใหเ้ กดิ รายได้ และการวา่ งงาน
สง่ ผลกระทบไปส่ปู ญั หาทางสงั คม การเมือง และความมนั่ คงของประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะเดยี วกนั ผล
กระทบตา่ งๆ ดงั กล่าวกส็ ง่ ผลเป็นลกู โซต่ ่อไปยังเศรษฐกิจ สงั คม การเมอื ง และความมั่นคงของประเทศ
อนื่ ๆ ทมี่ คี วามเชอ่ื มโยงกบั เศรษฐกจิ ของสหรฐั อเมรกิ าอยา่ งเชน่ ประเทศตา่ งๆ ในยโุ รปจนในทสี่ ดุ ไดล้ กุ ลาม
กลายเป็นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจท่ีเรียกว่าวิกฤตยูโรที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นเวลาต่อเน่ือง
มาจนถึงปจั จุบัน (ค.ศ. 2015) เปน็ ต้น
การศึกษาความเช่ือมโยงทางเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศดังกล่าวมีการเปล่ียนแปลงอยู่
ตลอดเวลา เร่ิมต้นจากการศึกษาประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองการทหารท่ีเน้นบทบาทของรัฐใน
ช่วงหลังสงครามโลกคร้ังที่หนึ่งในรูปแบบของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International
Relations) แต่ในระหว่างทศวรรษที่ 1960 จนถึง 1970 ประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองได้ลด
ความสำ� คญั ลง ประเดน็ การศกึ ษาจงึ ไดเ้ ปลยี่ นแปลงไปสมู่ ติ ทิ างเศรษฐกจิ โดยเฉพาะบทบาทบรรษทั ขา้ มชาติ
จึงทำ� ใหก้ ารศกึ ษาเศรษฐกิจการเมอื งระหวา่ งประเทศกำ� เนดิ ข้ึน ซง่ึ ตอ่ มาได้ปรบั เปล่ียนไปเปน็ เศรษฐกจิ
การเมืองโลก (Global Political Economy)
นักวิชาการด้านเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศหลายคนพยายามนิยามการศึกษาเศรษฐกิจ
การเมืองระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ซูซาน สเตรนจ์ (Susan Strange) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ
ผเู้ ชย่ี วชาญดา้ นความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งประเทศซง่ึ เปน็ ผรู้ เิ รม่ิ ศกึ ษาเศรษฐกจิ การเมอื งระหวา่ งประเทศ เสนอวา่