Page 19 - ไทยในเศรษฐกิจโลก
P. 19

ประเทศไทยกบั เศรษฐกจิ การเมอื งระหวา่ งประเทศ 3-9
ในการวเิ คราะหเ์ ทา่ นนั้ แตย่ งั รวมถงึ การยอมรบั และใหค้ วามสำ� คญั กบั บทบาทของตลาดและระบบเศรษฐกจิ
แบบทุนนยิ มอกี ดว้ ย (Gilpin, Robert, 2001)

       แนวคดิ ทฤษฎีกระแสหลักของเศรษฐกจิ การเมอื งระหว่างประเทศ มดี งั ตอ่ ไปน้ี

1.	 แนวคิดสัจนิยม

       แนวคิดสัจนิยมเป็นแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศท่ีเก่าแก่ท่ีสุด มีต้นก�ำเนิดมา
จากการก่อตัวและขยายตัวของรัฐชาติ (Nation-state) ในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 แนวคิดนี้จึงให้
ความส�ำคัญกับรัฐชาติและมีรัฐชาติเป็นศูนย์กลางในการวิเคราะห์ โดยให้ความส�ำคัญกับการสร้างอ�ำนาจ
ของรัฐชาตทิ ั้งทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ แนวคดิ สัจนยิ มมีแนวคิดพาณิชย์นยิ มเปน็ แนวคดิ ที่
ส�ำคัญในการก�ำหนดนโยบายเพ่ือสร้างอ�ำนาจทางเศรษฐกิจให้กับรัฐชาติต่างๆ เรื่อยมาจนกระทั่งแนวคิด
เสรนี ยิ มเขา้ มามบี ทบาทแทนทีใ่ นชว่ งคริสต์ศตวรรษท่ี 18

       โดยทว่ั ไปแลว้ แนวคดิ สจั นยิ ม และแนวคดิ พาณชิ ยน์ ยิ มมสี มมตฐิ านบางอยา่ งรว่ มกนั และมบี างอยา่ ง
แตกต่างกัน สมมติฐานท่ีท้ัง 2 แนวคิดมีร่วมกันก็คือ รัฐ เป็นผู้มีบทบาทหลักในระบบระหว่างประเทศ
เนื่องจากรัฐเป็นหน่วยทางการเมืองท่ีมีอ�ำนาจอธิปไตยสูงสุด แต่ระบบระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วย
รฐั ชาตติ า่ งๆ มลี กั ษณะ อนาธปิ ตั ย์ (Anarchy) เพราะแตล่ ะรฐั ตา่ งกม็ แี นวโนม้ ทจ่ี ะมแี ขง่ ขนั และขดั แยง้ กนั
เพอ่ื บรรลถุ งึ ผลประโยชนข์ องตนภายใตข้ อ้ จำ� กดั ทางทรพั ยากรทมี่ อี ยู่ โดยสงิ่ ทเี่ ปน็ ปจั จยั ทา้ ยสดุ ในการตดั สนิ
ประเด็นความขัดแย้งตา่ งๆ ระหวา่ งรัฐก็คือ อำ� นาจ3

       อยา่ งไรกต็ าม อำ� นาจของรฐั หนง่ึ ๆ เกดิ ขน้ึ จากปจั จยั ตา่ งๆ เชน่ ภมู ศิ าสตร์ แหลง่ ทต่ี งั้ ทรพั ยากร
คณุ ลกั ษณะประจำ� ชาติ ความมงั่ คง่ั ทางเศรษฐกจิ ความเขม้ แขง็ ทางการทหาร รวมถงึ ศกั ยภาพอน่ื ๆ ของรฐั
ดว้ ยเหตนุ ้ี อำ� นาจของรฐั จงึ เปน็ ตวั ก�ำหนดสถานภาพของรฐั นนั้ ๆ ซง่ึ แนน่ อนวา่ เปน็ ไปในลกั ษณะทข่ี ดั แยง้
แข่งขันกับรัฐอ่ืนๆ ในลักษณะของเกมที่มีผลรวมเป็นศูนย์ (Zero-sum game) น่ันคือผลประโยชน์ท่ี
รัฐใดรัฐหน่ึงไดไ้ ปกห็ มายถงึ สว่ นของผลประโยชน์ทอี่ กี รัฐหน่ึงต้องเสียไป

       ส�ำหรับข้อแตกต่างระหว่างแนวคิดสัจนิยมกับพาณิชย์นิยมก็คือ ในขณะที่พวกสัจนิยมเชื่อว่า
ความขัดแย้งส่วนใหญ่ของรัฐต่างๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือความขัดแย้งทางการเมืองจึงให้
ความสำ� คญั กบั อำ� นาจและศกั ยภาพทางการทหาร พวกพาณชิ ยน์ ยิ มกลบั เนน้ วา่ ความขดั แยง้ ของรฐั ตา่ งๆ
ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ จึงให้ความส�ำคัญกับอ�ำนาจและ
ศักยภาพทางเศรษฐกิจ เนื่องจากอ�ำนาจทางเศรษฐกิจของรัฐน�ำไปสู่อ�ำนาจและศักยภาพทางการทหาร
ในทนี่ จ้ี ะมงุ่ เนน้ ศกึ ษาแนวคดิ แบบพาณชิ ยน์ ยิ มซงึ่ เปน็ แนวคดิ ทเี่ ปน็ แนวทางในการดำ� เนนิ นโยบายเศรษฐกจิ
ของรัฐชาตเิ ปน็ หลกั

         3 อำ� นาจ หมายถงึ ความสามารถท่ีจะทำ� ให้คนอนื่ ทำ� บางอย่างทีเ่ ขาหรือเธอไม่ต้องการจะท�ำ (power is the ability to
get someone to do something he or she does not want to do) ดเู พ่ิมเติมใน Balaam, David and Veseth, Michael.
(2005). Introduction to International Political Economy.
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24