Page 15 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 15

เศรษฐกจิ ไทยสมยั รชั กาลที่ 7–พ.ศ. 2519 11-5

เร่ืองที่ 11.1.1
แนวความคิดทางเศรษฐกิจก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. 2475

       ช่วงก่อน พ.ศ. 2475 แนวความคิดทางเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องต้องห้าม ดังเช่น ข้อวิจารณ์ของ
พระบาทสมเด็จพระมงกฏุ เกล้าเจ้าอยู่หวั (รัชกาลที่ 6) กล่าวถึง หนังสอื ทรพั ยศาสตร์ของพระยาสุริยา-
นวุ ตั ร1 วา่ “ในเมอื งไทยไมม่ กี ารแบง่ คนเปน็ ชนั้ เวน้ แตพ่ ระเจา้ แผน่ ดนิ องคเ์ ดยี วแลว้ ใครๆ กเ็ สมอกนั หมด
อกี ทง้ั ในเมอื งไทยยงั ไมม่ ปี าลเิ มนต์ จะตอ้ งการทรพั ยศาสตรไ์ ปทำ� อะไรกนั ในตา่ งประเทศวชิ าดงั กลา่ วเปน็
วชิ าซง่ึ นกั การเมอื งทต่ี อ้ งการไดค้ ะแนนเสยี งตอ้ งเรยี นรไู้ วใ้ หค้ นนยิ ม” จากขอ้ วจิ ารณข์ า้ งตน้ สง่ ผลใหห้ นงั สอื
และวิชาดงั กล่าวทีไ่ ดบ้ รรจุไว้ในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธกิ ารใน พ.ศ. 2454 ต้องถูกยกเลกิ และเมอ่ื
เข้าสู่สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลท่ี 7) มีผลเป็นการออกกฎหมายในปี 2470
หา้ มสอนวชิ าลทั ธเิ ศรษฐกจิ โดยถอื วา่ การกระทำ� ดงั กลา่ วมคี วามผดิ ทางอาญา2 อยา่ งไรกต็ าม เมอื่ ไทยตอ้ ง
ประสบกับสภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำมานับต้ังแต่ทศวรรษท่ี 2460 จนถึงทศวรรษที่ 2470 น้ัน ปรากฏว่า
ยังคงมีผู้น�ำเสนอแนวคิดทางเศรษฐกิจเพ่ือจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ตลอดจนเพ่ือให้
เกิดความเจรญิ รุ่งเรอื งทางเศรษฐกจิ อนั เปน็ เครอื่ งหมายทีส่ ะท้อนใหเ้ หน็ ถึงความเจรญิ ของชาติ

ความคิดทางเศรษฐกิจก่อน พ.ศ. 2475

       แนวความคดิ ทางเศรษฐกิจในสมัยรชั กาลที่ 7 ชว่ งก่อนการเปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
น้ัน ผู้น�ำเสนอความคิดมีท้ังบุคคลที่ด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีและผู้ท่ีมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2475 โดยบุคคลเหล่าน้ีเสนอว่ารัฐควรเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจมากกว่าที่เป็นอยู่ ในที่น่ีจะกล่าวถึง
2 ทา่ น ได้แก่ หลวงประดษิ ฐ์มนธู รรม และหลวงเดชสหกรณ์

       หลวงประดษิ ฐม์ นธู รรม (ปรดี ี พนมยงค)์ ไดจ้ ดั ตง้ั โรงพมิ พข์ องตนเองขน้ึ ชอื่ “โรงพมิ พน์ ติ สิ าสน์ ”
และจัดพิมพ์หนังสือนิติสาส์นเป็นหนังสือรายเดือน รวมท้ังหนังสือกฎหมายอื่นๆ ออกเผยแพร่ เพ่ือให้
นกั ศกึ ษาและผสู้ นใจศกึ ษาเรอ่ื งกฎหมาย หนงั สอื นติ สิ าสน์ เปน็ หนงั สอื ทเี่ กยี่ วกบั บทความวชิ าการโดยเฉพาะ
ด้านกฎหมายเร่ิมเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. 2471 ความน่าสนใจของหนังสือเล่มน้ีอยู่ท่ีจุดมุ่งหมายแฝงของ
หลวงประดิษฐ์มนูธรรมในการออกหนังสือและท�ำโรงพิมพ์นิติสาส์น ถึงแม้ว่าหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้
กล่าวถึงจุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการออกหนังสือ “นิติสาส์น” ไว้ใน “ค�ำน�ำ” ของนิติสาส์นฉบับแรกว่า
“ไม่ใช่หนังสือท่ีจะสอนลัทธิการเปล่ียนแปลงการปกครองหรือเศรษฐกิจของประเทศ” นั้น สันนิษฐานว่า

         1 หนงั สอื ทรพั ยศาสตร์ หรอื ทรพั ยสาตร์ ของ พระยาสรุ ยิ านวุ ตั ร (เกดิ บนุ นาค) ตพี มิ พค์ รง้ั แรกปี 2454 กระทรวงธรรมการ
(ศึกษาธกิ าร) ในสมยั นั้นให้ใชเ้ ปน็ ตำ�ราเรียน.	

         2 นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2532). การแสวงหาระบบเศรษฐกิจใหม่ในช่วงหนึ่งทศวรรษภายหลังการเปลี่ยนแปลงเดือน
มิถุนายน 2475. ใน จดหมายขา่ วสังคมศาสตร.์ 11(4) พฤษภาคม-กรกฎาคม 2532. น. 79.
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20