Page 16 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 16

11-6 ประวตั ศิ าสตร์ไทย
น่าจะเปน็ การ “ป้องกัน” ตัวเองจากผ้ปู กครอง เพราะบทความต่างๆ ท่หี ลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องการจะ
สอ่ื ไปสผู่ มู้ กี ารศกึ ษาทอี่ า่ นนติ สิ าสน์ มเี นอ้ื หาทอ่ี าจกระทบถงึ ระบบการปกครองและเศรษฐกจิ ของประเทศ3

       ภูมิหลังทางการศึกษาของเขาที่ศึกษาท้ังวิชากฎหมายและวิชาเศรษฐศาสตร์มีส่วนส�ำคัญในการ
หล่อหลอมแนวคิดทางเศรษฐกิจ ท�ำให้เขามองว่าเร่ืองเศรษฐกิจเป็นเร่ืองส�ำคัญและเกี่ยวข้องกับวิชา
กฎหมายอย่างมาก ความคดิ ดงั กล่าวยงั สะท้อนใหเ้ ห็นได้จากบทความเรอ่ื ง “เศรษฐวทิ ยา” ที่ได้เขยี นลง
ในนิตสิ าสน์ ฉบับแรก เนื้อหาในบทความเขาแบ่งวิธกี ารศกึ ษาเศรษฐวิทยาเป็น 2 ชนิด คือ การศกึ ษาใน
ทางกฎของเศรษฐกจิ กับการศึกษาในทางลทั ธิของเศรษฐกจิ ในเรอ่ื งลัทธิเศรษฐกจิ น้ันเปน็ เรอ่ื งท่ลี ่อแหลม
อาจนำ� มาซ่งึ ความกระดา้ งกระเดือ่ งต่อแผน่ ดนิ และเป็นการผิดกฎหมายลกั ษณะอาญา จงึ ไม่เหมาะต่อการ
เผยแพร่ ทำ� ใหง้ านเขยี นของเขาเนน้ ไปที่การศกึ ษากฎของเศรษฐวิทยาเพียงอยา่ งเดียวและไมไ่ ด้กลา่ วถงึ
บทบาทของรฐั ชัดเจนนัก

       เมอ่ื พจิ ารณาดูงานเขยี นช้ินอื่นๆ ในเวลาต่อมา หลวงประดิษฐ์มนธู รรมไดพ้ ยายามเสนอความคิด
ใหร้ ัฐมหี น้าที่ตอ่ พลเมือง ซึ่งปรากฏชัดเจนในการสอนวชิ ากฎหมายปกครองที่เริ่มสอนใน พ.ศ. 2474 ใน
ขอ้ ความเบอ้ื งตน้ เรื่องหนา้ ทีข่ องรัฐตอ่ เอกชน ดงั นี้

         “...รฐั มหี นา้ ทตี่ อ้ งรกั ษาอสิ สระภาพและความเสมอภาคของมนสุ ส์ ในการนร้ี ฐั ซงึ่ มหี นา้ ทใี่ น
  การรกั ษาความสงบเรยี บรอ้ ยทง้ั ภายในและภายนอกประเทศ และมหี นา้ ทต่ี อ้ งเผยแพรบ่ ำ� รงุ รา่ งกาย
  อนามัย ทรัพย์สิน ในการน้ีรัฐจึ่งมีหน้าที่อันเก่ียวกับการก่อให้เกิดทรัพย์การแลกเปลี่ยนทรัพย์
  การแบ่งปันทรัพย์ และการสงวนหรือการพยากรณ์ อันเป็นกิจการท่ีเกี่ยวในทางเศรษฐกิจอยู่บ้าง
  การช่วยเหลอื ต่างๆ ทีก่ ลา่ วน้ีอนั เนอื่ งจากหนา้ ที่โดยตรง...”4

       ถึงแมว้ า่ ประเทศไทยในขณะนนั้ แนวคิดเกยี่ วกับฝา่ ยปกครองจะต้องกระทำ� ในทางเศรษฐกจิ ยงั
ไม่แพร่หลายนักและรัฐยังมีความคิดว่าไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการค้าของราษฎร ดังนั้น การเสนอแนวคิดของ
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ถือได้ว่าเป็นความพยายามสร้างความคิดเรื่องหน้าที่หรือบทบาทของรัฐในทาง
เศรษฐกจิ ใหแ้ ก่คนรุ่นใหมโ่ ดยเฉพาะในกลมุ่ ของนักกฎหมายที่จะเป็นฝ่ายปกครองรนุ่ ใหมต่ อ่ ไป

       หลวงเดชสหกรณ์ (ม.ล.เดช สนิทวงศ์) เสนอแนวคิดทางเศรษฐกิจผ่านนิติสาส์นโดยเขียน
“ค�ำอธิบายเศรษฐวิทยา” ที่กล่าวถึง การเสนอแนวคิดเร่ืองรัฐเข้ามาประกอบการทางเศรษฐกิจหรือ
รฐั พาณิชย์ และประเดน็ ส�ำคญั ที่เสนอเร่ืองรฐั พาณชิ ย์ ได้อธิบายไว้ว่า “รัฐสามารถเปน็ ผปู้ ระกอบการทาง
เศรษฐกจิ ได้” และยังมกี ารจ�ำแนกแผนกตา่ งๆ ของรัฐพาณชิ ย์ 2 แผนกใหญๆ่ คือ รฐั พาณิชยซ์ ึ่งรฐั บาล
เปน็ ผดู้ ำ� เนนิ การ และรฐั พาณชิ ยซ์ งึ่ เทศาภบิ าลปกครองทอ้ งทห่ี รอื ประชาบาลเปน็ ผดู้ ำ� เนนิ การ ทงั้ น้ี หลวง-
เดชสหกรณไ์ ดช้ ใี้ หเ้ หน็ ถงึ กจิ การทร่ี ฐั ควรเขา้ มาเปน็ ผปู้ ระกอบการ คอื 1) กจิ การนนั้ ๆ กระทำ� เพอื่ ประโยชน์

         3 เรอื งวทิ ย์ ลมิ่ ปนาท. (2554). “สภาพเศรษฐกจิ ไทย พ.ศ. 2398-2475.” ใน เอกสารการสอนชดุ วชิ าประวตั ศิ าสตรไ์ ทย.
นนทบรุ :ี มหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช. น. 7-39-7-40.	

         4 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม. (2479). ค�ำอธิบายกฎหมายปกครอง (พิมพ์แจกในงานพระกฐินพระราชทานแก่สภาจังหวัด
พระนคร วัดสงั เวชวศิ ยาราม. น. 20. อ้างถึงใน เรอื งวทิ ย์ ลม่ิ ปนาท. เร่ืองเดยี วกัน. น. 7-41.
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21