Page 17 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 17

เศรษฐกจิ ไทยสมยั รัชกาลที่ 7–พ.ศ. 2519 11-7
แห่งความต้องการของรัฐ เช่น โรงช่างแสง อาวุธ 2) รัฐกระท�ำเพ่ือสภาพเก่ียวด้วยการเงินของรัฐบาล
3) รฐั บาลมีความประสงค์จะตดั ทอนการพาณชิ ยเ์ อกชน เพอ่ื ประโยชนท์ างเศรษฐกจิ ของประชาชนทว่ั ไป
และ 4) เทศบาล หรอื ประชาบาล ตอ้ งดำ� เนนิ การเพือ่ หารายได้เพ่มิ เติม และชว่ ยเหลอื ประชาชนในทอ้ งที่

       นอกจากจะอธิบายเหตุผลที่รัฐเข้าประกอบการทางเศรษฐกิจแล้ว ยังได้อธิบายผลเสียของ
รัฐพาณิชย์ พร้อมกับเสนอแนวทางในการแก้ไขผลเสียว่าควรจัดให้มีรัฐพาณิชย์ผสมและเปลี่ยนแปลง
รัฐพาณิชย์ให้ครองตนเองได้ ท้ังน้ีได้ยกตัวอย่างประเทศเยอรมนีว่าประสบความส�ำเร็จและเป็นแบบอย่าง
ท่ีดีในสมัยก่อนสงครามที่จัดการเศรษฐกิจเช่นน้ี และอธิบายต่อว่ารัฐพาณิชย์จะดีหรือไม่ดีนั้น ข้ึนอยู่กับ
ลกั ษณะการปกครองของรฐั บาลและรฐั ประศาสโนบายของประเทศนนั้ ๆ ซง่ึ ในขณะนนั้ เยอรมนั เปน็ ประเทศ
ท่มี ีอ�ำนาจมาก การปกครองเปน็ ระเบียบเรยี บรอ้ ยท่ัวประเทศไม่มกี ารแกง่ แย่งชงิ ดกี นั จงึ ท�ำให้รฐั พาณิชย์
ดำ� เนนิ ไปโดยเรียบร้อยกว่าประเทศทั้งหลาย5

       แนวคิดของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมและหลวงเดชสหกรณ์ สอดคล้องกันในประเด็นท่ีว่ารัฐควรจะ
เปน็ ผปู้ ระกอบการทางเศรษฐกจิ ทงั้ นใ้ี นคำ� อธบิ ายกฎหมายปกครองของหลวงประดษิ ฐม์ นธู รรม นอกจาก
จะเป็นการเผยแพร่ความรู้ใหม่ทางการปกครองท่ีต้องการเน้นว่าฝ่ายปกครองซ่ึงเป็นกลไกของรัฐต้องมี
หน้าท่ีโดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ ยังเป็นการเสนอแนะโดยอ้อมว่า รัฐควรจะเข้ามามีบทบาทในทาง
เศรษฐกจิ มากขน้ึ

แนวความคิดทางเศรษฐกิจหลัง พ.ศ. 2475

       หลังการเปล่ยี นแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เปน็ ช่วงเวลาแห่งการแสวงหาระบบเศรษฐกจิ ใหม่
คณะราษฎรผทู้ มี่ บี ทบาทสำ� คญั ในการเปลย่ี นแปลงการปกครองบรรลผุ ลในดา้ นการเมอื งเทา่ นน้ั คอื เปลยี่ น
ระบบการปกครองจากระบบสมบรู ณาญาสทิ ธริ าชยเ์ ปน็ ระบบกษตั รยิ ภ์ ายใตร้ ฐั ธรรมนญู แตใ่ นทางเศรษฐกจิ
ไม่บรรลุผลมากนัก6 ขณะที่ภาวะที่เศรษฐกิจซบเซาในทศวรรษท่ี 2470 รัฐบาลประเทศต่างๆ ท่ัวโลก
ต่างเข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต�่ำ  ประเทศไทยในระยะน้ันมีการร่างแผน
เศรษฐกิจถึง 7 ฉบับเสนอแก่รัฐบาลใหม่ ทั้งยังมีข้อเสนอด้านการวางแผนเศรษฐกิจแห่งชาติในหน้า
หนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ7 และจากการศึกษาวิเคราะห์โครงการเศรษฐกิจและบันทึกความคิดเห็นทาง
เศรษฐกจิ ในชว่ งหลงั 2475 สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ แนวความคดิ ทางเศรษฐกจิ 3 แนวทาง8 ไดแ้ ก่ แนวความคดิ
เศรษฐกิจแบบเสรีนยิ ม แบบสงั คมนยิ ม และแนวความคิดชาตนิ ิยมทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะสง่ ผลต่อนโยบาย
และการด�ำเนนิ นโยบายทางเศรษฐกจิ ต่อไป

         5 หลวงเดชสหกรณ์. (2472). “คำ�อธิบายเศรษฐวิทยา.” ใน นิตสิ าส์น ปีที่ 2 เล่ม 6. น. 282-286. อ้างถงึ ใน เรืองวทิ ย์
ลม่ิ ปนาท. เร่อื งเดียวกนั . น. 7-42-7-43.	

         6 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2527). “การแสวงหาระบบเศรษฐกิจใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย.” ใน
ฉัตรทพิ ย์ นาถสุภา และสมภพ มานะรังสรรค.์ ประวตั ิศาสตร์เศรษฐกจิ ไทย จนถึง พ.ศ. 2484. กรุงเทพฯ: โรงพิมพม์ หาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์. น. 551.	

         7 ครสิ เบเกอร์ และผาสุก พงษไ์ พจิตร. (2557). ประวัตศิ าสตรไ์ ทยร่วมสมัย. กรงุ เทพฯ: มตชิ น. น. 192.	
         8 ดูรายละเอียดเพมิ่ เตมิ ใน นครนิ ทร์ เมฆไตรรัตน์. เรอื่ งเดียวกัน. น. 77-79.
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22