Page 22 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 22
4-12 ประวัตศิ าสตร์ไทย
พ.ศ. 1943 มีข้อได้เปรียบกว่ากรุงศรีอยุธยามาก เมืองมะละกาต้ังอยู่บนเส้นทางการเดินเรือนานาชาติท่ี
เลียบผ่านช่องแคบมะละกา ท�ำให้เมืองมะละกาเป็นศูนย์รวมของการซ้ือขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่าง
ตะวนั ออก (จีน) และตะวันตก (ชายฝ่งั มหาสมทุ รอนิ เดีย) ในขณะทีท่ �ำเลทตี่ ั้งของกรุงศรีอยุธยาน้ันแมจ้ ะ
มลี กั ษณะเปน็ เมอื งทา่ คา้ ขาย แตก่ เ็ ปน็ เมอื งทา่ ทห่ี ลบเขา้ มาทางตอนบนของอา่ วไทย มะละกาจงึ เปน็ เมอื งทา่
ท่สี ำ� คญั ยิ่งของการค้านานาชาตใิ นภูมภิ าคเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใตส้ มัยจารตี
ด้วยเหตนุ ้ี อยุธยาจงึ มคี วามปรารถนาอย่างมากทจ่ี ะเขา้ ควบคมุ เมืองท่ามะละกา ดังจะเหน็ ได้ว่า
ตลอดช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 20 อยุธยาได้ส่งก�ำลังทหารไปคุกคามมะละกาถึง 4 คร้ังใน พ.ศ.
1951 พ.ศ. 1962 พ.ศ. 1974 และ พ.ศ. 1998 แม้ว่าอยุธยาจะได้เมืองมะละกาเป็นประเทศราช แต่ก็ไม่
สามารถมีอ�ำนาจเหนอื มะละกาอย่างมัน่ คงได้ ท้ังนีเ้ พราะระยะทางระหว่างอยุธยาและมะละกาห่างไกลกัน
มาก6
ต่อมาเม่ือโปรตุเกสเดินทางเข้ามาค้าขายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะละกาได้ถูก
โปรตเุ กสยดึ ไปเป็นเมอื งข้นึ ใน พ.ศ. 2054 อยุธยาจึงหมดอ�ำนาจจากเมอื งมะละกาตงั้ แต่น้ันเป็นตน้ มา
ทางด้านตะวันตก อยุธยาได้แผ่อ�ำนาจเข้าไปในอาณาจักรมอญ ซ่ึงมีเมืองส�ำคัญ เช่น เมือง
หงสาวดี เมอื งเมาะตะมะ เมอื งทวาย เมอื งมะรดิ และเมอื งตะนาวศรี ตงั้ แตแ่ รกกอ่ ตงั้ อาณาจกั ร ผนู้ ำ� อยธุ ยา
ได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนของอาณาจักรมอญ ในเวลาต่อมาเมื่ออยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้ากับ
ตา่ งประเทศ ผนู้ ำ� อยธุ ยากพ็ ยายามทจี่ ะขยายอ�ำนาจเขา้ ครอบครองเมอื งทา่ ของอาณาจกั รมอญทางชายฝง่ั
ทะเลอันดามันให้ได้ เพ่ือผลประโยชน์ในการส่งสินค้าต่างๆ ผ่านเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี ไปยัง
ชายฝงั่ มหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยง่ิ การคา้ ของป่า
อยา่ งไรกต็ าม นบั แตป่ ลายพทุ ธศตวรรษท่ี 21 เปน็ ตน้ มา อาณาจกั รพมา่ ซง่ึ มคี วามเขม้ แขง็ ขน้ึ มาก
ภายใต้ราชวงศ์ตองอูได้พยายามแผ่อ�ำนาจเข้าครอบครองเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี เช่นกัน ทง้ั นี้
เพอ่ื เปน็ ประตรู ะบายสนิ คา้ จากทางพมา่ ตอนบนไปสมู่ หาสมทุ รอนิ เดยี ใน พ.ศ. 2082 พระเจา้ ตะเบง็ ชเวต้ี
แหง่ ราชวงศต์ องอู สามารถยดึ อาณาจกั รมอญไปเปน็ ประเทศราชได้ อาณาจกั รมอญของราชวงศพ์ ระเจา้ -
ฟา้ ร่วั จึงสิ้นสุดอ�ำนาจในปนี นั้ (ราชวงศ์พระเจา้ ฟา้ รว่ั พ.ศ. 1830–2082)
การแผอ่ ำ� นาจไปทางตะวนั ตกเขา้ ไปในดนิ แดนมอญ ทำ� ใหอ้ ยธุ ยาตอ้ งเผชญิ หนา้ ทางทหารกบั พมา่
ซง่ึ ในชว่ งปลายพทุ ธศตวรรษท่ี 21 มคี วามเขม้ แขง็ ทดั เทยี มกบั อยธุ ยา และกำ� ลงั แผอ่ ำ� นาจเขา้ มาในดนิ แดน
มอญเชน่ กนั การแย่งชงิ อำ� นาจระหวา่ งอยุธยาและพม่าในดนิ แดนมอญกอ่ ให้เกดิ สงครามเมืองเชียงกราน
เมือ่ พ.ศ. 2081 ตรงกบั สมยั สมเด็จพระไชยราชาธริ าช สันนษิ ฐานวา่ เมอื งเชียงกรานหรือเมืองเชยี งไกรนี้
คงอยู่ใกล้ๆ เมืองเมาะตะมะ สงครามเมืองเชียงกรานเป็นสงครามระหว่างอยุธยาและพม่าท่ีอุบัติขึ้นเป็น
คร้ังแรก จาก พ.ศ. 2081 เป็นต้นมาจนสิ้นสมัยอยุธยาใน พ.ศ. 2310 อยุธยาและพม่าได้ท�ำสงครามกัน
24 ครั้ง เพอ่ื แขง่ อ�ำนาจกันในดนิ แดนมอญและแคว้นลา้ นนา
6 ปารชิ าติ วลิ าวรรณ. (2528). การคา้ ของปา่ ในประวตั ศิ าสตรอ์ ยธุ ยา พ.ศ. 1893–2310. วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญาอกั ษรศาสตร-
มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ บณั ฑิตวทิ ยาลัย จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย. น. 50–51.