Page 23 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 23
อาณาจักรอยุธยา 4-13
หลงั สงครามเมอื งเชียงกราน อยธุ ยาและพมา่ ได้ทำ� สงครามท่สี ำ� คัญคือ สงคราม พ.ศ. 2091 ใน
สมยั สมเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิ (พ.ศ. 2091–2111) สงครามครง้ั นอ้ี ยธุ ยาสญู เสยี วรี สตรสี มเดจ็ พระศรสี รุ โิ ยทยั
สงคราม พ.ศ. 2106 หรือ สงครามช้างเผือก ซึ่งเกิดในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเช่นกัน สงคราม
อยุธยา–พม่า ที่ส�ำคัญท่ีสุดในช่วงน้ีคือ สงคราม พ.ศ. 2111–2112 ในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช
(พ.ศ. 2111–2112) ผลของสงครามทำ� ให้อยุธยาต้องตกเปน็ ประเทศราชของพม่า
อยธุ ยาเปน็ ประเทศราชของพมา่ อยนู่ าน 15 ปี (พ.ศ. 2112–2127) ในรชั กาลสมเดจ็ พระมหาธรรมราชา
(พ.ศ. 2112–2133) พระนเรศวร เมอ่ื คร้ังยังเป็นอุปราชได้ทรงประกาศอิสรภาพใน พ.ศ. 2127 หลงั จากน้ัน
พระองค์ได้ทรงรวบรวมไพร่พลจากหัวเมืองเหนือและหัวเมืองแถบลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาตอนล่าง เพ่ือเป็น
กองกำ� ลงั ในการทำ� สงคราม ดว้ ยเหตนุ ใ้ี นระหวา่ ง พ.ศ. 2127–2129 อยธุ ยาจงึ สามารถโจมตที พั พมา่ ทย่ี กมา
รุกรานให้แตกพ่ายไปหลายคร้ัง ต่อมาใน พ.ศ. 2135 อยุธยาและพม่าได้ท�ำสงครามใหญ่ครั้งส�ำคัญ คือ
สงครามยุทธหัตถี ซึ่งอยุธยาเป็นฝ่ายได้ชัยชนะ สงครามครั้งน้ีเป็นสงครามเด็ดขาดที่ท�ำให้พม่าไม่ได้ยก
ทัพมารุกรานอยุธยาอีกเป็นเวลานานถึง 168 ปี จนถึง พ.ศ. 2303 พระเจา้ อลองพญาจึงไดย้ กกองทพั มาตี
อยธุ ยา7
หลงั สงครามยทุ ธหตั ถี สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราชไดเ้ สดจ็ กรธี าทพั ไปโจมตดี นิ แดนของเพอื่ นบา้ น
ทั้งด้านเหนือ ตะวันออก และตะวันตก ท้ังน้ีเพื่อสร้างความม่ันคงแก่อาณาจักรและเพื่อกอบกู้ความเป็น
ศูนยก์ ลางแห่งอำ� นาจของอยุธยากลับคนื มา
ผลของการแผแ่ สนยานภุ าพทางทหาร ทำ� ใหอ้ าณาเขตและอำ� นาจของอยธุ ยาแผข่ ยายออกไปอยา่ ง
กว้างขวาง เอกสารของจนี ได้กลา่ วไว้อย่างชดั เจนว่า หลงั สงครามยทุ ธหตั ถี อาณาจกั รอยุธยา “มอี ำ� นาจ
มาแต่ครง้ั นน้ั ...ตั้งแต่น้ันตอ่ ไป...ยกกองทพั ไปเทย่ี วท�ำสงครามทุกๆ ปี จนมีอำ� นาจแผไ่ พศาลไปตลอดถึง
ประเทศใกล้เคียง...”8
หลังสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148–2153) และกษัตริย์
องค์ตอ่ ๆ มาได้ฟืน้ ฟูเศรษฐกจิ ของอาณาจกั รอยุธยา มีการตดิ ต่อคา้ ขายกับต่างประเทศท้งั ชาตเิ พ่อื นบา้ น
และชาติตะวันตก ส่วนการเกษตรก็เร่ิมฟื้นตัว ด้วยเหตุนี้เศรษฐกิจของอยุธยาจึงเจริญรุ่งเรืองเหมือนเดิม
อีกครงั้ หนึ่ง
อยุธยาได้ธ�ำรงความเป็นศูนย์อ�ำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจของคนไทยนาน 417 ปี (พ.ศ.
1893–2310) ก็ลม่ สลายไปเนื่องจากเสยี กรงุ แกพ่ มา่ คร้ังที่ 2
7 ขจร สุขพานิช. (2521). ประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 1600–2310. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรนี ครินทรวโิ รฒ ประสานมติ ร. น. 219–220.
8 สาขาวชิ ารฐั ศาสตร.์ (2527). เอกสารการสอนชดุ วชิ าประวตั ศิ าสตรส์ งั คมและการเมอื งไทย. นนทบรุ :ี มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั -
ธรรมาธิราช. น. 191.