Page 28 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 28

4-18 ประวัตศิ าสตร์ไทย
มาเปน็ หวั หนา้ หรอื ผนู้ ำ�  เพอ่ื ทำ� หนา้ ทปี่ กครอง ปอ้ งกนั และรกั ษาความสงบความปลอดภยั ในสงั คม โดยที่
ประชาชนจะแบ่งปันทรพั ยส์ ินใหเ้ ปน็ การตอบแทน9

       หัวหน้าหรือผู้ปกครองคนแรกนี้มีชื่อเรียกว่า มหาสมมติราช เพราะเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก
คนท้ังปวงให้เป็นผู้ปกครองสมาชิกในสังคม และเนื่องจากว่ามหาสมมติราชได้ดูแลปกป้องไร่นาของมวล
สมาชกิ ในสงั คมใหพ้ น้ จากอนั ตรายดว้ ย จงึ ไดอ้ กี นามหนง่ึ วา่ ขัตติโย หรอื กษัตริย์ ตอ่ มาในภายหลงั ไดอ้ กี
ช่ือหนึ่งว่า ราชา เพราะปกครองดี มีความชอบธรรม จนเป็นท่ีรักและพึงพอใจของคนท้ังปวง หลังสมัย
มหาสมมติราชแล้ว เชอ้ื สายของพระองคก์ ็ไดป้ กครองสังคมมนุษยส์ บื ตอ่ ๆ กนั มา10

       เม่ือพิจารณาจากหลักฐานต่างๆ เท่าที่มีอยู่ กล่าวได้ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์อยุธยาในระยะ
แรกกอ่ ตง้ั อาณาจกั รคงจะยดึ แนวคดิ พทุ ธศาสนาเปน็ หลกั ในการกำ� หนดเนอ้ื หาสาระ แมใ้ นประกาศแชง่ นา้ํ
โคลงห้า ซึ่งใช้ในพระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา และเป็นพิธีกรรมท่ีอยุธยาได้รับมาจากรัฐท่ีต้ังอยู่ใน
ลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาตอนล่างมาก่อน ก็ดูเหมือนจะอ้างความเป็นกษัตริย์ตามแนวพุทธศาสนา คือ เป็น
มหาสมมติราชและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ท่ีถือว่าส�ำคัญย่ิง จนต้องบันทึกไว้ในพระราช-
พงศาวดารก็คือ การสร้างวัด

       นอกจากเป็นมหาสมมติราชแล้ว กษัตริย์อยุธยาในระยะแรกก่อตั้งอาณาจักรมีฐานะเป็น
พระโพธิสัตว์ผมู้ บี ญุ บารมี และพระจักรพรรดิราช หรอื พระราชาธริ าชผยู้ ง่ิ ใหญเ่ หนอื กวา่ พระราชาทง้ั ปวง
ต�ำนานมูลศาสนาและกฎหมายตราสามดวงต่างได้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นพระโพธิสัตว์
ส่วนในประกาศแช่งน้ําโคลงห้าได้กล่าวอ้างถึงการเป็นพระจักรพรรดิราชไว้ตอนหน่ึงว่า “...ผู้ผ่านเกล้า
อยธุ ยา สมเด็จพระรามาธิบดี ศรสี นิ ทรมหาจกั รพรรดศิ ร ราชาธิราช...”

       แนวคิดเร่ืองพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์และพระจักรพรรดิราชจะยังคงแฝงอยู่ในสถาบัน
พระมหากษัตริย์อยุธยา แม้เม่ือมีการเปล่ียนแนวคิดเก่ียวกับพระมหากษัตริย์ในเวลาต่อมาจากการเป็น
มหาสมมติราช ตามคตพิ ทุ ธศาสนามาเปน็ เทวราชา ตามคตศิ าสนาพราหมณแ์ ล้วกต็ าม

       หลงั จากทอี่ าณาจกั รอยธุ ยาแผข่ ยายอำ� นาจไปยงั ดนิ แดนของเพอ่ื นบา้ นจนมอี าณาเขตกวา้ งขวาง
ข้ึนแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์อยุธยาได้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงมาผูกพันอยู่กับคติศาสนาพราหมณ์
กลา่ วคอื พระมหากษตั รยิ ท์ รงอยใู่ นฐานะสมมตเิ ทพ เปน็ ผทู้ รงบญุ ญาธกิ ารเสมอดว้ ยองคเ์ ทวะ หรอื ทเี่ รยี กวา่
เทวราชา คติเรือ่ งเทวราชานอี้ ยธุ ยาได้รับจากเขมร ซึง่ ไดร้ ับจากอนิ เดยี อีกตอ่ หน่ึง

       ตามแนวคิดเร่ืองเทวราชา พระมหากษัตริย์ทรงมิใช่มนุษย์ธรรมดา หากทรงเป็นองค์อวตารของ
พระเปน็ เจา้ ในศาสนาพราหมณ์ อาจจะเปน็ พระศวิ ะหรอื พระวษิ ณอุ งคใ์ ดองคห์ นง่ึ ความเชอ่ื นจี้ ะปรากฏใน
พธิ บี รมราชาภเิ ษก ในพธิ นี พ้ี ราหมณซ์ ง่ึ ถอื กนั วา่ เปน็ ชนกลมุ่ เดยี วทส่ี ามารถตดิ ตอ่ กบั พระเปน็ เจา้ ไดโ้ ดยตรง
จะเปน็ สาธยายมนตอ์ ญั เชญิ พระเปน็ เจา้ ใหเ้ สดจ็ ลงมาสถติ ในองคพ์ ระมหากษตั รยิ ์ นอกจากนน้ั ระหวา่ งการ
ประกอบพธิ ี พราหมณจ์ ะใชค้ ำ� พดู กบั พระมหากษตั รยิ เ์ สมอื นดงั่ พดู กบั พระศวิ ะหรอื พระวษิ ณุ และจะถวาย

         9 สาขาวิชารัฐศาสตร์. (2528). เอกสารการสอนชุดวิชาพ้ืนฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของการเมืองไทย. นนทบุรี:
มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช. น. 61–62. 	

         10 กรมศิลปากร. (2518). ต�ำนานมูลศาสนา. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ 17 ธันวาคม
2518. น. 40–41.
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33