Page 32 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 32
4-22 ประวัติศาสตร์ไทย
เร่ืองท่ี 4.2.2
การจัดรูปแบบการปกครอง
รูปแบบการปกครองของอาณาจักรอยุธยาได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมทาง
การเมอื งและสงั คมในแตล่ ะสมยั ความเปลยี่ นแปลงทเ่ี กดิ ขนึ้ นมี้ จี ดุ มงุ่ หมายเพอ่ื ใหก้ ารปกครองมปี ระสทิ ธภิ าพ
สูงสุด สามารถธ�ำรงอ�ำนาจของราชธานีหรือศูนย์กลางไว้ได้ เม่ือพิจารณาจากหลักฐานต่างๆ เท่าที่มีอยู่
อาจจัดแบ่งรูปแบบการปกครองของอาณาจักรอยุธยาตามสาระส�ำคัญได้เป็น 3 ช่วงระยะ คือ การจัดรูป
แบบการปกครองช่วง พ.ศ. 1893–1998 การปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(พ.ศ. 1991–2031) และการปรบั ปรงุ การปกครองในชว่ งหลงั เสยี กรงุ ศรอี ยธุ ยาครง้ั ท่ี 1 และสมยั อยธุ ยาตอน
ปลาย ดังสาระขอ้ มูลที่จะไดน้ �ำเสนอต่อไป
1. การจัดรูปแบบการปกครองช่วง พ.ศ. 1893-1998
ได้กล่าวมาแล้วต้ังแต่ต้นว่า อาณาจักรอยุธยาเกิดจากการรวมตัวกันของแคว้นสุพรรณภูมิและ
แควน้ ละโวใ้ น พ.ศ. 1893 ดว้ ยเหตผุ ลแหง่ ความเปน็ เครอื ญาติ การมอี ดุ มคตริ ว่ มกนั ทางการเมอื ง และการ
ร่วมในผลประโยชนท์ างเศรษฐกจิ บางประการ โดยเมืองต่างๆ เหล่านยี้ อมรับว่าผูท้ ไ่ี ด้ครองกรุงศรอี ยธุ ยา
เท่าน้ันจึงจะมีสิทธิธรรมโดยสมบูรณ์ที่จะเป็นพระราชาธิราชของอาณาจักร มีอ�ำนาจแต่ในนามเหนือ
พระราชาแห่งแคว้นสุพรรณภูมิและแคว้นละโว้ ด้วยเหตุน้ี รูปแบบการปกครองของอาณาจักรอยุธยาใน
ระยะแรกก่อต้งั จึงเป็นการกระจายอ�ำนาจ และไดจ้ ดั แบ่งเขตการปกครองออกเปน็ 4 เขตดังน้ี
1.1 ราชธานี ไดแ้ ก่ กรงุ ศรอี ยธุ ยาและบรเิ วณโดยรอบ พระมหากษตั รยิ เ์ ปน็ ผปู้ กครองโดยตรง มี
กรมส�ำคญั 4 กรม คอื เวยี ง วงั คลงั นา เปน็ ตวั จกั รกลในการบริหาร กรมทงั้ 4 น้ี เรยี กวา่ “จตุสดมภ์”
แปลวา่ “หลักทั้ง 4”
1.2 เมืองเล็ก ๆ ท่ีอยู่ใกล้กรุงศรีอยุธยา เช่น นครนายก ปราจีนบุรี ฯลฯ ส่วนกลางหรือราชธานี
จะส่งขุนนางไปปกครอง และใหข้ ้ึนตรงตอ่ เมอื งหลวง
1.3 เมืองต่าง ๆ ในดินแดนแกนกลางของอาณาจักร ได้แก่ เมอื งต่างๆ ทอี่ ย่ใู นแควน้ สพุ รรณภมู ิ
และแควน้ ละโว้ มเี มอื งสำ� คญั สพุ รรณบรุ ี และลพบรุ ี ผปู้ กครองคอื เจา้ นายเชอ้ื พระวงศใ์ นราชวงศส์ พุ รรณภมู ิ
และราชวงศ์อู่ทอง ปกครองสุพรรณบุรีและลพบุรีในฐานะกษัตริย์เสวยราชสมบัติ มีอ�ำนาจสิทธิ์ขาด
ในการควบคุมไพร่พลของตน มีหน้าท่ีต่อพระราชาธิราชของอาณาจักรเพียงการส่งก�ำลังพลไปให้ในยาม
ท่ีต้องการ อย่างไรก็ตาม ฐานะการเป็นกษัตริย์เสวยราชสมบัติได้ค่อยๆ ถูกลดลง จนในสมัยสมเด็จ-
พระนครินทราธิราช (พ.ศ. 1952–1967) เมืองสุพรรณบุรีและเมืองลพบุรีได้ถูกลดระดับลงมาเป็นเมือง
ลูกหลวง เพราะในสมยั น้ี ราชวงศ์สุพรรณภมู ิได้ครองอำ� นาจการเมอื งในอยุธยาอยา่ งเด็ดขาด และสมเดจ็
พระนครินทราธิราชทรงไม่ยอมให้สมเด็จพระรามราชาเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์อู่ทองเสวยราชสมบัติใน
ลพบุรีอีกตอ่ ไป