Page 36 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 36
4-26 ประวัติศาสตร์ไทย
2.1.1 กรมพระกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีต�ำแหน่ง “สมุหพระกลาโหม” เป็นผู้ควบคุม
ดูแล มีหน้าที่ตรวจตราว่าการฝ่ายทหาร ท้ังภายในเมืองราชธานีและหัวเมืองต่างๆ เท่ากับว่าเมืองหลวง
หรือส่วนกลางได้แผ่อ�ำนาจออกควบคุมงานฝ่ายทหารท่ัวท้ังราชอาณาจักรตามหลักการรวมอ�ำนาจเข้าสู่
ศูนย์กลาง นอกจากนั้น สมุหพระกลาโหมยังมีหน้าท่ีควบคุมไพร่พลที่สังกัดฝ่ายทหารในทุกหัวเมืองและ
ควบคุมดูแลกรมตา่ งๆ ทจี่ ดั เปน็ กรมฝ่ายทหาร กรมยอ่ ย16 เหล่านี้ มีอาทิ กรมอาสาซ้าย กรมอาสาขวา
กรมเขนทองขวา กรมเขนทองซ้าย กรมทวนทองขวา กรมทวนทองซ้าย และกรมช่างสิบหมู่ เป็นต้น
ผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ สมหุ พระกลาโหมมศี กั ดนิ า 10,000 ตราประจำ� ตำ� แหนง่ คอื ตราพระคชสหี ์ ถดั จากสมหุ พระ-
กลาโหมลงมาเปน็ ต�ำแหน่งแมท่ พั ใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 2 ตำ� แหน่ง คือ ต�ำแหน่ง “เดโช” และตำ� แหน่ง “ทา้ ยน้ํา”
2.1.2 กรมมหาดไทย มอี คั รมหาเสนาบดตี ำ� แหนง่ “สมหุ นายก” เปน็ ผบู้ งั คบั บญั ชารบั ผดิ ชอบ
ดแู ล กิจการพลเรือน ในหวั เมอื งตา่ งๆ ทุกเมอื ง ควบคุมไพร่พลทีส่ งั กดั ฝา่ ยพลเรือนทวั่ ทง้ั ราชอาณาจักร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลกรมต่างๆ ท่ีเป็น กรมฝ่ายพลเรือน ท้ังกรมขนาดใหญ่และกรมขนาดเล็ก
กรมใหญ่ทีส่ �ำคญั คอื กรมจตสุ ดมภ์ เวยี ง วัง คลงั นา นอกจากนัน้ มกี รมยอ่ ยอน่ื ๆ เชน่ กรมมหาดไทย
ฝา่ ยเหนอื กรมมหาดไทยฝา่ ยพะลำ� พงั กรมมหาดไทยตำ� รวจภธู ร และกรมมหาดไทยตำ� รวจภบู าล เปน็ ตน้
ตำ� แหนง่ สมหุ นายกมีศกั ดนิ า 10,000 ตราประจำ� ตำ� แหนง่ คือ ตราพระราชสหี ์
นอกจากควบคุมดูแลราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนแล้ว สมุหพระกลาโหมและ
สมหุ นายกยงั เป็นประธานในคณะลูกขนุ ฝา่ ยทหารและฝา่ ยพลเรือน มีหนา้ ทีป่ ระชมุ กนั เพ่อื ปรกึ ษาวินจิ ฉยั
ขอ้ ราชการตา่ งๆ ก่อนจะขึน้ กราบบังคมทูลพระเจา้ แผน่ ดินเพอ่ื ทรงวินจิ ฉยั และด�ำรสั ส่ัง17
2.1.3 กรมเวียง หรอื ทเ่ี รยี กกนั ในชอ่ื ใหมว่ า่ กรมนครบาล ดแู ลปกครองทอ้ งท่ี ปราบปราม
โจรผู้รา้ ย รักษาความสงบภายใน รบั ผดิ ชอบการดบั เพลิงในเขตเมืองหลวงและเขตเมอื งใกล้เคียงราชธานี
รวมทง้ั พจิ ารณาตัดสนิ คดคี วามทีเ่ ป็นมหนั ตโทษ และควบคมุ ดูแลกรมเลก็ ท่ีข้ึนกับกรมนครบาล เช่น กรม
กองตระเวนขวา และกรมกองตระเวนซา้ ย เปน็ ตน้ เสนาบดีผู้บังคับบัญชากรมนครบาลมศี ักดินา 10,000
ตราประจำ� ต�ำแหน่งคือ ตราพระยายมราชขสี่ งิ ห์
2.1.4 กรมวัง หรือท่ีเรียกกันชื่อใหม่ว่า ธรรมาธิกรณ์ ดูแลรับผิดชอบงานทั้งหมดใน
พระราชส�ำนัก ท้ังงานด้านธุรการและงานพระราชพิธีต่างๆ รวมท้ังมีหน้าท่ีดูแลงานด้านยุติธรรมด้วย
นอกจากนั้นกรมวังหรือธรรมาธิกรณ์ยังมีหน้าท่ีแต่งตั้งขุนนางต�ำแหน่งยุกระบัตร หรือ ยกกระบัตร ไป
ประจ�ำตามหัวเมืองต่างๆ ท่ัวราชอาณาจักร ยกกระบัตรจะปฏิบัติหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณพระเจ้า
แผน่ ดิน คอยสอดส่องดูแลการปฏบิ ตั ริ าชการของเจ้าเมือง รายงานเรอ่ื งตา่ งๆ มาให้ส่วนกลางทราบ สว่ น
กรมย่อยๆ ที่ข้นึ กบั กรมวังมีอยูห่ ลายกรม เช่น กรมชาวทพ่ี ระบรรทม กรมภษู ามาลา กรมฉางข้าวบาตร
กรมสวนหลวง กรมธรรมการ และกรมสังฆการี เป็นต้น เสนาบดีผู้บังคับบัญชากรมวังมีศักดินา 10,000
ตราประจำ� ต�ำแหนง่ คอื ตราเทพยดาทรงพระโค
16 ในสมัยอยธุ ยา หน่วยงานราชการไมว่ ่าจะเปน็ หนว่ ยงานขนาดเล็กหรอื หนว่ ยงานขนาดใหญ่ จะเรียกว่า “กรม” ทงั้ สน้ิ
เชน่ กรมพระกลาโหม กรมช่างสิบหมู่ เปน็ ตน้
17 สกุ ญั ญา บ�ำรงุ สุข. (2525). อำ� นาจหน้าทแี่ ละบทบาทของสมหุ พระกลาโหมในสมยั รัตนโกสินทร.์ วทิ ยานพิ นธ์ปริญญา
อกั ษรศาสตรมหาบณั ฑติ ภาควชิ าประวัติศาสตร์ บณั ฑติ วทิ ยาลัย จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั . น. 15.