Page 29 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 29

อาณาจักรอยธุ ยา 4-19
สัญลักษณ์ต่างๆ ของพระเป็นเจ้าแด่พระมหากษัตริย์ด้วย เช่น พระสังวาลธุร�ำ  พระแสงราชาวุธ และ
พระบรมนามาภไิ ธย ท่ีมีคำ� ว่า “ทพิ ยเทพาวตาร” แปลว่า “อวตารของพระเปน็ เจ้าบนสวรรค”์ ส่งิ ต่างๆ
เหล่าน้ีท่ีประกอบในพิธีบรมราชาภิเษกแสดงให้เห็นว่า องค์พระมหากษัตริย์ได้ทรงกลายเป็นพระเป็นเจ้า
แล้ว11

       เมอ่ื พระมหากษตั รยิ ท์ รงอยใู่ นฐานะเปน็ เทพเจา้ จงึ ตอ้ งมกี ารสรา้ งระเบยี บแบบแผนและกฎเกณฑ์
ต่างๆ เพ่ือใหส้ อดคลอ้ งกับฐานะและความยงิ่ ใหญ่ของพระองค์ เช่น พระมหากษัตริย์จะตอ้ งทรงอยู่ในทส่ี งู
เหนือผู้อืน่ ใดทง้ั สิ้น การตงั้ ทีป่ ระทบั จึงตอ้ งอยเู่ หนือคนอ่นื ๆ จะตอ้ งทรงแยกพระองค์ต่างหากออกจากคน
อ่ืนๆ เพราะเมื่อทรงเป็นเทพเจ้าแล้ว จะทรงคลุกคลีกับคนธรรมดาสามัญไม่ได้ จะท�ำให้ขาดความเคารพ
และท�ำให้เส่ือมในคติความเช่ือ อีกทั้งต้องมีการสร้างราชาศัพท์ข้ึนส�ำหรับใช้กับองค์พระมหากษัตริย์และ
พระราชวงศ์

       ส่วนท่ีประทับของพระมหากษัตริย์คือ พระบรมมหาราชวังนั้นถือว่า เป็นสถานศักด์ิสิทธิ์ เป็น
ศนู ยก์ ลางของอาณาจกั ร และไดร้ บั การสรา้ งขน้ึ โดยใหม้ กี ฎเกณฑแ์ ละพธิ กี ารตา่ งๆ เสมอื นดง่ั เปน็ เทวสถาน
ในศาสนาพราหมณ์ ปกติในเทวสถานจะมเี ทวทาสี คือ ทาสหญงิ ของพระเปน็ เจ้าอยจู่ �ำนวนมาก ท�ำหน้าท่ี
ปรนนิบัติรับใช้พระเป็นเจ้า ในพระบรมมหาราชวังก็เช่นกันจะมีนางสนมก�ำนัลจ�ำนวนมากเพ่ือปรนนิบัติ
รับใช้องค์พระมหากษัตริย์ และจะมีพราหมณ์ประจ�ำราชส�ำนักท�ำหน้าท่ีประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อบูชา
พระมหากษัตรยิ ์ซึง่ ทรงมีฐานะเป็นเทพเจา้

       นอกจากนนั้ ยงั มกี ารออกกฎขอ้ บงั คบั หรอื ขอ้ หา้ มตา่ งๆ มากมาย เชน่ หา้ มจบั ตอ้ งองคพ์ ระมหากษตั รยิ ์
อย่างเด็ดขาด ห้ามมองพระมหากษัตริย์ ห้ามถามอาการพระประชวร ห้ามเอ่ยพระนามจริงของพระองค์
และห้ามขุนนางววิ าทชกตีกนั ในเขตพระราชฐาน เป็นตน้ หากผูใ้ ดท�ำผดิ กฎขอ้ บงั คับเหล่านี้ จะได้รบั โทษ
ทางอาญา12

       กลา่ วโดยสรปุ ในขน้ั ปลายสดุ สถาบนั พระมหากษตั รยิ อ์ ยธุ ยาไดว้ วิ ฒั นม์ าอยใู่ นฐานะของ สมมตเิ ทพ
โดยมีแนวคิดเร่ืองการเป็นพระโพธิสัตว์และการเป็นพระจักรพรรดิราชผสมผสานอยู่ด้วย ใน ด้าน
พระราชอ�ำนาจ เนื่องจากพระมหากษัตริย์ตามคติเทวราชามีฐานะสูงส่ง เป็นอวตารของพระเป็นเจ้า
พระราชอำ� นาจของพระองคจ์ งึ ไมไ่ ดม้ าจาก “สญั ญาประชาคม” ตามแนวคดิ พทุ ธศาสนาเรอ่ื ง มหาสมมตริ าช
หากได้มาจากการท่ีพระองคท์ รงเป็นสมมตเิ ทพ ดว้ ยเหตุน้ี พระราชอำ� นาจของกษตั รยิ ์ตามแบบเทวราชา
จงึ ยงิ่ ใหญเ่ หนอื มนษุ ยธ์ รรมดาสามัญ และหาขอบเขตไม่ได้

       ในสว่ นของภาระหนา้ ที่ พระมหากษตั รยิ ท์ รงมหี นา้ ทท่ี ำ� สงครามป้องกนั ราชอาณาจกั รให้พน้ จาก
ภยั ของอริราชศัตรู รกั ษาความสงบเรยี บรอ้ ยในสังคม คมุ้ ครองชีวิตและทรัพยส์ นิ ของอาณาประชาราษฎร์
ท�ำนุบำ� รงุ พุทธศาสนา บ�ำรุงเศรษฐกิจ ส่งเสริมศิลปะ วฒั นธรรม และประกอบพิธีต่างๆ ส�ำหรบั พระนคร13

         11 พทิ ยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศเ์ ธอ กรมหมน่ื . (2517). ชมุ นุมพระนพิ นธ.์ กรุงเทพฯ: พระจันทร.์ น. 89.
         12 คกึ ฤทธ์ิ ปราโมช, ม.ร.ว. (2523). สถาบันพระมหากษัตรยิ ์. กรงุ เทพฯ: แสงรงุ้ การพมิ พ์. น. 11-29.	
         13 อาคม พัฒิยะ และนธิ ิ เอยี วศรวี งศ์. (2527). ศรรี ามเทพนคร. กรงุ เทพฯ: เจ้าพระยา. น. 20–28.
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34