Page 69 - วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต
P. 69
สารเคมใี นชวี ิตประจ�ำวันและส่งิ แวดล้อม 5-59
เร่ืองที่ 5.2.2
แหล่งของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม
ในการด�ำรงชีวิตของมนุษย์มีการใช้สารเคมีหลายชนิดอย่างต่อเนื่องเป็นกิจวัตร และมีการปล่อย
สารเคมอี อกสสู่ ง่ิ แวดลอ้ มอยา่ งตอ่ เนอ่ื งเชน่ กนั ทำ� ใหเ้ กดิ ปญั หาดา้ นคณุ ภาพของสง่ิ แวดลอ้ ม และยอ้ นกลบั
มาส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในที่สุด ผลกระทบที่เป็นปัญหาเหล่าน้ีสามารถขจัดหรือท�ำให้
บรรเทาลงได้ถ้ามีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาข้อมูลเก่ียวกับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม
เพอ่ื ประโยชน์ในการปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หาพิษภยั ของสารเคมีทจี่ ะเกิดขน้ึ กับมนษุ ยแ์ ละส่ิงแวดล้อม
สารเคมีท่ีเป็นปัญหาและมีผลกระทบมาถึงคุณภาพในการด�ำรงชีวิตของมนุษย์มีแหล่งที่มาจาก
4 แหล่งใหญ่ ได้แก่ 1) สารเคมีจากแหล่งที่อยู่อาศัยของชุมชน 2) สารเคมีจากแหล่งอุตสาหกรรม
3) สารเคมจี ากแหลง่ เกษตรกรรม และ 4) สารเคมจี ากการใช้ยานพาหนะและการจราจร ดังจะได้กล่าวถงึ
ในรายละเอียดต่อไปนี้
1. สารเคมีจากแหล่งท่ีอยู่อาศัยของชุมชน
ในแหล่งท่ีอยู่อาศัยของชุมชน ที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ จ�ำเป็นต้องใช้สิ่งของในการอุปโภคและ
บริโภคและดำ� เนนิ กิจกรรมต่างๆ ในการใชช้ ีวติ ประจ�ำวัน ท�ำให้เกิดสารเคมีทเี่ ปน็ ขยะและนาํ้ ท้ิงปล่อยลงสู่
สิ่งแวดล้อม ดังจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไปนี้
1.1 สารเคมีจากขยะในแหล่งท่ีอยู่อาศัยของชุมชน เนอ่ื งจากขยะมีหลายประเภทแตล่ ะประเภท
เปน็ สารเคมที มี่ ีความแตกต่างกันจึงจะไดก้ ล่าวถงึ สารเคมีจากขยะประเภทตา่ งๆ ดงั น้ี
1.1.1 ขยะจากของใช้ท่ีท�ำจากพลาสติกและโฟม ขยะพลาสติกมีทั้งเทอร์โมพลาสติกท่ี
สามารถนำ� กลบั ไปหลอมแลว้ นำ� กลบั มาใชใ้ หมไ่ ดแ้ ละเทอรโ์ มเซตตงิ พลาสตกิ ทไ่ี มส่ ามารถนำ� ไปหลอมกลบั
มาใช้ใหม่ได้ รวมถึงโฟมที่นิยมน�ำมาบรรจุอาหารแบบใช้คร้ังเดียวทิ้ง เป็นขยะท่ีมีปริมาณเพิ่มขึ้นเร่ือยๆ
และสลายตวั ได้ยากในกระบวนการทางธรรมชาติ
1.1.2 ขยะทเ่ี ปน็ สารอนิ ทรยี ์ ขยะเหลา่ นเ้ี ปน็ สารจากสง่ิ มชี วี ติ เชน่ เศษอาหาร และซากพชื
ซากสัตว์ มีการบูดเน่าได้ท�ำให้เกิดเป็นแหล่งเช้ือโรคที่ท�ำให้มนุษย์เกิดการเจ็บป่วย นอกจากน้ันยังมีสาร
ไดออกซนิ เป็นสารอันตราย ดงั ท่ี แกว้ กงั สดาลอำ� ไพ (2557) ไดก้ ล่าวถึงวา่
ไดออกซนิ เปน็ ชอื่ สามญั ของกลมุ่ สารอนิ ทรยี ท์ มี่ ชี อ่ื ทางเคมวี า่ คลอรเิ นตเตด็ ไดเบน็ โซพารา
ไดออกซนิ (Chlorinated dibenzo-p-dioxins) ซ่ึงมีมากกวา่ 70 ชนดิ โดยชนดิ ท่ีร้ายแรงท่ีสดุ มชี ื่อวา่
ทีซดี ดี ี (TCDD) สารไดออกซนิ จะเกดิ ข้นึ เองระหวา่ งการผลิตสารอนิ ทรยี ห์ ลายชนดิ ท่มี ีธาตุคลอรีนเข้าไป
เกีย่ วข้องดว้ ย ตวั อยา่ งเช่น สาร พีซบี ี มีสมบัตทิ นความร้อนไม่ตดิ ไฟและไมน่ ำ� ไฟฟา้ จงึ ถกู น�ำมาใช้เป็น
ส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด ดังน้ันการน�ำชิ้นส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้าท่ีไม่ใช้แล้วไปทิ้งในท่ี
สาธารณะจงึ เป็นการทำ� ใหเ้ กิดการปนเป้ือนของสารพีซีบีพร้อมกบั ไดออกซินสู่สงิ่ แวดลอ้ มและเข้าสู่ห่วงโซ่