Page 46 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 46

1-36 ส่ือ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

            1.2		เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต้ังแต่สองเครื่องเข้าด้วยกัน
เพ่ือส่ือสารและแลกเปล่ียนข้อมูลระหว่างกัน โดยใช้สายทองแดงและเส้นใยน�ำแสง เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เป็นเครือข่ายการส่ือสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เนื่องจากเป็นเครือข่ายท่ีเชื่อมโยงผู้ใช้งานทั่วโลกเข้าด้วยกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์นอกจากจะเช่ือมโยงกันด้วยสายน�ำสัญญาณแล้ว ยังมีการเช่ือมโยงด้วยคล่ืนวิทยุเป็น
เครือข่ายแบบไร้สาย (Wi-Fi) เพ่ือความสะดวกในการใช้งานอีกด้วย และเน่ืองจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จัดเป็นเครือข่ายการสื่อสาร ดังน้ัน สื่อโทรคมนาคมท่ีใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อีเมล เว็บบอร์ด หรือ
แอปพลิเคชันพวกส่ือสังคมออนไลน์ต่าง ๆ จึงช่วยให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน หรือกับผู้เรียน
ด้วยกันเองได้อย่างสะดวก ง่ายดาย และมีประสิทธิภาพ

       2. 	 ส่อื โทรคมนาคมประเภทไร้สาย
       ส่ือโทรคมนาคมประเภทนี้ไม่ใช้สายน�ำสัญญาณในการส่ือสาร แต่จะเปลี่ยนสัญญาณให้เป็น
คล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้าแล้วส่งไปในอากาศ เช่น วิทยุโทรเลข วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น

            2.1 	วทิ ยกุ ระจายเสยี ง เป็นส่ือโทรคมนาคมท่ีอาศัยคล่ืนวิทยุ (Electromagnetic wave) เป็น
ตัวท่ีเหน่ียวน�ำให้เกิดไฟฟ้าข้ึนในตัวน�ำ หรือสายอากาศของเครื่องรับวิทยุที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ คล่ืนวิทยุ
สามารถเดินทางไปได้เป็นระยะทางไกล ๆ และแผ่กระจายออกได้เป็นวงกว้าง จึงสามารถเข้าถึงผู้ฟังจ�ำนวน
มาก ๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว วิทยุกระจายเสียงออกอากาศอยู่ 2 ระบบคือ วิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม
(Amplitude Modulation: AM) และวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม (Frequency Modulation: FM)

            2.2 	วทิ ยโุ ทรทศั น์ เปน็ สอื่ โทรคมนาคมทถี่ า่ ยทอดเสยี งและภาพจากทหี่ นงึ่ ไปยงั อกี ทห่ี นง่ึ โดย
วธิ เี ปลยี่ นคลนื่ เสยี งและภาพใหเ้ ปน็ คลน่ื แมเ่ หลก็ ไฟฟา้ กระจายออกสอู่ ากาศ เทคโนโลยที ใ่ี ชใ้ นการออกอากาศ
รายการวิทยุโทรทัศน์มีอยู่หลายวิธี เช่น การแพร่ภาพด้วยสัญญาณวิทยุ การแพร่ภาพออกอากาศผ่านคล่ืน
สัญญาณไมโครเวฟ หรือผ่านดาวเทียม เป็นต้น

            สื่อโทรคมนาคมประเภทไร้สายดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นส่ือท่ีเป็นการส่ือสาร
ทางเดียว เมื่อน�ำมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น รายการวิทยุกระจายเสียงหรือรายการวิทยุโทรทัศน์เพ่ือ
การศึกษา ท่ีผู้สอนเผยแพร่ความรู้ออกอากาศไปยังผู้เรียน จึงเป็นการแพร่ภาพและเสียงจากผู้สอนเพียง
ทางเดียว ผู้เรียนไม่สามารถโต้ตอบ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้ ดังน้ัน หากต้องการจะจัดให้มีกิจกรรม
การเรียนการสอนท่ีมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหรือกับผู้เรียนด้วยกันเอง เช่น การอภิปราย หรือ
สัมมนาก็จ�ำเป็นต้องน�ำเอาเทคโนโลยีของการประชุมทางไกลเข้ามาใช้

            2.3 	การประชุมทางไกล (Teleconferencing) หมายถึง การเชื่อมโยงบุคคล หรือกลุ่มบุคคล
ท่ีอยู่ห่างกันคนละท่ีให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบโทรคมนาคม
ในลักษณะที่เป็นเสียง ภาพหรือตัวอักษร หรืออาจกล่าวได้ว่าการประชุมทางไกลก็คือการที่ผู้ประชุมหรือกลุ่ม
ผู้ประชุมมากกว่าสองกลุ่มขึ้นไปที่อยู่ในท่ีต่าง ๆ กัน ด�ำเนินการประชุมร่วมกันโดยผ่านระบบการสื่อสาร
โทรคมนาคมในรูปแบบต่าง ๆ
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51