Page 47 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 47

แนวคิดเก่ียวกับสื่อและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-37

            การประชุมทางไกลแบ่งออกได้ออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามประเภทของสื่อท่ีเราน�ำมา
ใช้ในระบบการประชุมทางไกล ได้แก่ 1) การประชุมทางไกลด้วยเสียง 2) การประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์
และ 3) การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์

                2.3.1 	การประชุมทางไกลด้วยเสยี ง (Audio teleconferencing) เป็นการประชุมทางไกล
ที่ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถสนทนาพูดคุยกันได้ โดยจะได้ยินแต่เสียง ไม่สามารถท่ีจะเห็นภาพของผู้เข้าร่วม
ประชมุ อีกฝ่ายหน่งึ ได้ การประชุมทางไกลดว้ ยเสียงก็เหมอื นกบั การตดิ ตอ่ พูดคุยกนั ทางโทรศพั ท์ ต่างกันตรง
ที่ว่าผู้พูดแต่ละฝ่ายอาจจะมีมากกว่าหน่ึงคนก็ได้ และในการประชุมสามารถประชุมระหว่างจุดต่อจุด
(point to point) หรือเป็นการประชุมระหว่างจุดต่อหลายจุด (point to multi point) ก็ได้

                การประชุมทางไกลด้วยเสียงน้ันในบางคร้ังจ�ำเป็นท่ีจะต้องใช้ภาพประกอบการประชุม
ท้ังนี้ เพ่ืออธิบายรายละเอียดในบางส่วนที่หากไม่มีภาพจะไม่สามารถเข้าใจได้ หรือจะต้องใช้เพื่อให้เกิดความ
เข้าใจท่ีตรงกัน การประชุมในลักษณะนี้เรียกว่าการประชุมทางไกลด้วยเสียงประกอบภาพ (Audiographics
teleconferencing) อุปกรณ์ท่ีใช้แสดงภาพ ได้แก่ จอภาพ โดยใช้เพื่อแสดงภาพนิ่งท่ีส่งมาจากผู้ท่ีเข้าร่วม
ประชุมอีกฝ่ายหนึ่ง โดยสามารถที่จะแสดงภาพสีที่มีรายละเอียดสูงให้ผู้เข้าประชุมดูได้ หรือใช้วิธีง่าย ๆ โดย
ส่งภาพที่ต้องใช้ในการประชุมไปให้ผู้เข้าร่วมประชุมไว้ล่วงหน้า หรือส่งผ่านทางโทรสารในขณะที่ด�ำเนินการ
ประชุมอยู่ก็ได้

                2.3.2 	การประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์ (Video teleconferencing) เป็นการประชุมท่ี
ประกอบด้วยเสียง ภาพน่ิง และภาพเคลื่อนไหว การประชุมประเภทน้ีจะเป็นการประชุมที่ให้ความรู้สึกในการ
ประชุมเหมือนกับการท่ีผู้ร่วมประชุมเข้ามาประชุมร่วมกันจริง ๆ (face-to-face meeting) มากที่สุด

                การประชุมประเภทนี้สามารถจัดได้สองรูปแบบ คือ สามารถจัดการประชุมในแบบท่ี
เป็นการสื่อสารสองทางด้วยเสียงแต่สื่อสารทางเดียวด้วยภาพ (two-way audio/one-way video) และการ
ประชุมในแบบท่ีเป็นการสื่อสารสองทางทั้งภาพและเสียง (two-way audio/two-way video)

                ข้อดีของการประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์ คือ ช่วยให้ผู้เข้าประชุมมีความรู้สึกเหมือนกับ
ได้เข้าประชุมร่วมในที่เดียวกันจริง ๆ สามารถได้ยินเสียงและเห็นอากัปกิริยาของผู้เข้าประชุมได้ แต่ข้อจ�ำกัด
ของการประชุมแบบน้ีก็คือต้องการระบบโทรคมนาคมท่ีมีประสิทธิภาพสูง เช่น เครือข่ายส่ือสัญญาณความ
เร็วสูง ISDN (Integrated Service Digital Network) หรือระบบการส่ือสารผ่านดาวเทียม ซ่ึงส่งผลให้
ค่าใช้จ่ายในการจัดการประชุมสูงตามไปด้วย นอกจากน้ัน เครือข่ายโทรคมนาคมประเภทความเร็วสูงนี้ก็ยัง
มีใช้ไม่แพร่หลายมากนัก ดังน้ัน การจัดการประชุมทางไกลในลักษณะน้ีจึงท�ำได้ไม่ง่าย

                2.3.3 	การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์ หมายถึง ระบบการประชุมทางไกลที่ใช้
คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการประชุม การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์จะ
มีหลายประเภทคือ ต้ังแต่การประชุมด้วยการส่งเป็นข้อความ การประชุมทางไกลด้วยเสียงและการประชุม
ทางไกลด้วยภาพและเสียง ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันการประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์สามารถท�ำได้ง่าย
เราสามารถท�ำการประชมุ ทางไกลไดอ้ ยา่ งสะดวกและรวดเรว็ ผา่ นทางเทคโนโลยที ่ีเรยี กวา่ VoIP (Voice over
Internet Protocal) โดยใช้แอปพลิเคชัน (Application) ต่าง ๆ ที่มีให้เลือกใช้อย่างมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52